ฮูปแต้ม, สิม, สิมอีสาน, หอไตร (Isan Mural Painting and Isan Temple Architectures)

 สิม หอไตร ฮูปแต้ม
           สิม เป็นภาษาอีสาน หมายถึง โบสถ์, พระอุโบสถ ในภาษากลาง สร้างขึ้นเพื่อให้คณะสงฆ์ให้ประกอบพิธีการทางศาสนา เช่น การอุปสมบท, การสวดพระปาฎิโมกข์ เป็นต้น ภาคอีสานตั้งแต่โบราณกาลมา จะมีวัดเป็นที่พึ่งทางจิตใจ เป็นสถานที่ๆ ต้องให้ความเคารพศรัทธา มีพระสงฆ์เป็นเป็นครูบาอาจารย์ คอยอบรมสั่งสอน แนะนำตักเตือน และเป็นผู้นำในการทำงานเพื่อพระศาสนา เพื่อชุมชน เพื่อหมู่บ้าน เพราะพระสงฆ์เป็นที่เคารพศรัทธาของทุกๆ คน การทะเลาะเบาะแว้งจึงไม่ค่อยมีให้เห็น หากมีอะไรเป็นที่ขุ่นหมองเคืองใจกัน พระสงฆ์ก็จะหาทางชี้แนะให้สามัคคีกันได้ด้วยดีเสมอมา
            วัด จึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชนอีสานมาทุกยุคทุกสมัย การสร้างสิมหรือพระอุโบสถ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในวัด จึงต้องมีการพิถีพิถันในการก่อสร้าง ชาวบ้านจึงให้ความสำคัญมาเป็นอันดับต้นๆ การได้สร้างสิมให้พระนั้นถือว่าได้บุญมาก จึงเป็นที่ชอบใจของผู้สร้าง ผู้ร่วมสร้าง ผู้ร่วมออกปัจจัยเล็กๆ น้อยตามกำลังศรัทธา กำลังทรัพย์ของตน
            สิมอีสานจะมี 2 ลักษณะ คือ สิมที่สร้างบนบก เรียกว่า สิมบก ส่วนสิมที่สร้างในน้ำ เรียกว่า สิมน้ำ การก่อสร้างสิมก็จะแตกต่างกันออกไป เช่น สิมโปร่ง สิมทึบ เป็นต้น ส่วนการวาดฮูปแต้มนั้น ถือว่าเป็นการเพิ่มสเน่ห์อีกแบบหนึ่งของสิม ซึ่งส่วนใหญ่หรือโดยทั่วไป จะวาดด้านนอก หรือวาดทั้งด้านนอกด้านใน เมื่อชาวบ้านเข้ามาในวัด ก็สามารถเดินชมได้เลย ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่ก็จะเป็นพุทธประวัติ พระเจ้า 10 ชาติ สังข์ศิลป์ชัย เป็นต้น องค์ประกอบอื่นๆ ก็แล้วแต่การสร้างสรรของช่างวาดนั้นๆ


3 วิดีโอ ล่าสุด


อย่าลืมเข้าชม ข้อมูลพุทธศิลป์อีสานในรูปแบบวิดีโอยูทูบ ชมวิดีโอทั้งหมดคลิกเลย !!!




      ข้อมูลทางวิชาการ มุมอีสานสนเทศ
      ผลงานวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
      - งานวิจัย - บทความวิชาการ



      แกเลอรี่ ฮูปแต้ม
      รวมภาพฮูปแต้ม สิมวัดโพธาราม จ.มหาสารคาม
      รวมภาพฮูปแต้ม สิมวัดป่าเลไลย์ จ.มหาสารคาม
      รวมภาพฮูปแต้ม สิมวัดทุ่งศรีเมือง จ.อุบลฯ
      รวมภาพฮูปแต้ม สิมวัดพระศรีมหาโพธิ์ จ.มุกดาหาร


ตัวอย่าง : รูปแบบสถาปัตยกรรม สิมอีสาน หอไตรอีสาน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กรมศิลปากร
      กรมศิลปากร เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีภารกิจคุ้มครอง ป้องกัน อนุรักษ์ บำรุงรักษา ฟื้นฟู ส่งเสริม สร้างสรรค์ เผยแพร่ จัดการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา สืบทอดศิลปะและทรัพย์สินมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ เพื่อธำรงคุณค่าและเอกลักษณ์ของความเป็นชาติ อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทยและความมั่นคงของชาติ
สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
     เป็นสมาคมของบุคคลในวิชาชีพสถาปนิกและผู้ที่สนใจในงานสถาปัตยกรรมของประเทศไทย โดยเป็นหนึ่งในสี่สมาคมวิชาชีพออกแบบสถาปัตยกรรมสมาคมสถาปนิกสยาม เป็นสมาคมที่มีลักษณะเป็นนิติบุคคล
     สมาคมสถาปนิกสยามฯ มีบทบาทในการอนุรักษ์สิมอีสาน เป็นอย่างมาก
อาคารอนุรักษ์
      คืออาคารเก่าที่มีคุณค่าทางทางสถาปัตยกรรม สมควรได้รับการบูรณะและอนุรักษ์ โดยหน่วยงานที่เป็นกำลังหลักในการส่งเสริมคือ คณะกรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีกิจกรรมมอบรางวัลด้านการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานการมอบรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น อย่างต่อเนื่องทุกปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2525
สกุลช่างญวน
      สิม หรือหอแจก ด้วยรูปแบบและเทคนิคด้านวัสดุรวมถึงคติสัญลักษณ์ในเชิงช่างของภาพรวมที่มีลักษณะแบบอย่างศิลปะจีนผสมตะวันตก ซึ่งในแง่ประวัติศาสตร์ กลุ่มช่างชาวญวนเข้ามาในอีสานตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๖๐-๒๕๐๐โดยเฉพาะในปี พ.ศ.๒๔๘๘-๘๙ ที่เป็นการอพยพครั้งใหญ่ของกลุ่มชาวญวนที่ได้อพยพมาอยู่ในภาคอีสานบริเวณแถบจังหวัดหนองคาย นครพนม มุกดาหาร...
ตัวอย่างสิม ฝีมือช่างญวน (แกว, เวียตนาม)
สิม
      สิมอีสาน หรือ โบสถ์อีสาน มาจากการที่ทางอีสานเรียกโบสถ์ว่า “สิม” ลักษณะโดยทั่วไปของสิม แบ่งเป็น 2 ประเภทหลักตามสภาพของแหล่งที่ตั้ง คือ สิมน้ำและสิมบก สิมน้ำ เป็นสิมที่ตั้งอยู่กลางน้ำ เช่น สระ หนอง บึง ส่วนใหญ่เป็นอาคารที่สร้างอย่างชั่วคราวสำหรับวัดที่ยังไม่มีวิสุงคามสีมา ส่วนใหญ่สิมบกเป็นสิมที่ตั้งอยู่บนแผ่นดิน มีลักษณะเป็นอาคารถาวร นอกจากนี้ สิมยังแบ่งตามลำดับอายุก่อนหลังและลักษณะร่วมในรูปแบบได้เป็น 4 ประเภท คือ สิมก่อผนังแบบดั้งเดิม สิมโถง สิมก่อผนังรุ่นหลัง และสิมแบบผสม
      สิม มาจากคำว่า สีมา สิมมา หรือพัทธสีมา ที่ปรากฏในคำจารึกบนแผ่นหินที่ประกาศเจตนาอุทิศของผู้สร้างปักไว้ด้านหลังสิมมีปรากฏอยู่ทั่วไป ความหมายของคำเหล่านี้ หมายถึง เขตแดนที่กำหนดในการประชุมทำสังฆกรรมอันเป็นกิจของสงฆ์โดยมีแผ่นสีมาหินเป็นเครื่องหมายแสดงขอบเขตรอบบริเวณตัวสิม
ตัวอย่างสิมอีสาน
หอไตร
      หอไตร หมายถึงอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะเป็นหอสูงสำหรับเก็บคัมภีร์พระไตรปิฎกหรือหนังสือธรรมทางพุทธศาสนา เรียกว่าหอพระไตร ก็มี หอพระธรรม ก็มี หอไตรใช้เป็นที่เก็บคัมภีร์ใบลานที่จารึกคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่เรียกว่าพระไตรปิฎก หรือจารึกความรู้เรื่องอื่นๆ เช่นเรื่องตำรายาโบราณ วรรณคดีโบราณ เป้นต้น ซึ่งถือว่าเป็นของสูง เป็นของศักดิ์สิทธิ์ และหาได้ยาก และนิยมสร้างไว้กลางสระน้ำในวัด ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้มดปลวกและแมลงสาบขึ้นไปกัดแทะทำลายคัมภีร์เหล่านั้น ส่วนใหญ่นิยมสร้างเพื่อมุ่งบุญกุศลเป็นสำคัญ ด้วยถือคติว่าสร้างไว้เก็บรักษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญ จึงนิยมสร้างอย่างวิจิตรงดงาม มีรูปทรงพิเศษแปลกตาด้วยฝีมือที่สุดยอดในยุคสมัยนั้นๆ
ตัวอย่างหอไตรอีสาน

สิ่งที่มีในงานสถาปัตยกรรมสิมอีสาน
ฮูปแต้ม คือ ภาพจิตรกรรมฝาผนังในภาคอีสาน ซึ่งปรากฏบนผนังทั้งภายนอกและภายในของสิม (โบสถ์) วิหารหอไตร และหอแจก (ศาลาการเปรียญ) แสดงเรื่องราวพุทธประวัติหรือวรรณกรรมพื้นบ้าน
ช่อฟ้า (ฉัตรหลังคา) เป็นชื่อเรียกส่วนตกแต่งบริเวณกลางสันหลังคาสิมหรือโบสถ์ ในอีสานนิยมเรียกว่า ช่อฟ้า หรือภาษาเก่าเรียกว่า ผาสาดหรือปราสาท โดยมีหนึ่งช่อฟ้าต่อหนึ่งสิม
โหง่ (ช่อฟ้า) เป็นส่วนที่ประดับตกแต่งอยู่ยอดปลายสุดของส่วนไม้แป้นลม ทั้งส่วนด้านสกัดด้านหน้าและด้านหลัง ทำหน้าที่ประสานส่วนยอดปลายสุดส่วนที่เป็นรวบจอมไม้แป้นลม วัสดุที่ใช้ทำโหง่มีทั้งที่เป็นไม้และปูน
สีหน้า หรือ หน้าบัน คือ พื้นที่สามเหลี่ยมอุดโพรงจั่วหลังคาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หรือที่นิยมเรียกว่า ด้านหุ้มกลอง เพราะอาคารแบบไทยมีหลังคาเป็นทางแหลม เหตุนี้จึงต้องมีจั่วหรือหน้าบันปิด เพื่อป้องกันแดดฝนและความร้อนอบอ้าว
ฮังผึ้ง คำว่าฮังผึ้ง ฮวงผึ้ง เป็นชื่อเรียกทางช่าง มีหน้าที่สำคัญคือการช่วยรับน้ำหนักในเชิงโครงสร้างอาคารบริเวณสีหน้าหรือหน้าบันและช่วยยึดปลายหัวเสา
คันทวย เป็นส่วนค้ำยันของสถาปัตยกรรมแถบเอเชียอาคเนย์ เนื่องจากสภาพแวดล้อมและภูมิศาสตร์ที่ตั้ง ทำให้คนในแถบนี้สร้างอาคารที่มีชายคา เพื่อป้องกันแดดฝนไม่ให้สาดส่องเข้ามาภายในอาคาร
ช่องเปิด เป็นส่วนที่ควบคุมทางเข้าออก ระบายอากาศ และเปิดรับแสงสว่าง เพื่อสุขอนามัยและสภาวะน่าสบายแห่งการอยู่อาศัย เป็นสื่อกลางในการเชื่อมพื้นที่ภายในและภายนอกอาคาร อีกทั้งเชื่อมคนกับธรรมชาติ
ฐานแอวขัน คือส่วนฐานของตัวเรือน และใช้เรียกส่วนฐานในงานพุทธหัตถศิลป์อื่นๆ ด้วย โดยฐานแอวขันถือเป็นการสืบทอดคติและตีความมาจากดอกบัว อันเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา
มุขบันได คือส่วนฐานของสถาปัตยกรรมทางศาสนาคาร ในบริบทสังคมวัฒนธรรมหนึ่งๆ จะต้องมีพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่สถิตแห่งพลังอำนาจเหนือธรรมชาติที่จักคุ้มครองป้องกันภัย ก่อเกิดเป็นงานช่างที่สร้างรูปอารักษ์เป็นผู้ทำหน้าที่คุ้มครองป้องกันภัยอันตราย หรือที่เรียกว่า ทวารบาล วัฒนธรรมหลวงเรียกงานช่างส่วนนี้ว่า พลสิงห์หรือบันไดพลสิงห์





หมายเหตุ : บางวัด ภาพจากอินเตอร์เน็ต เพราะยังไม่ได้เดินทางไปชม
ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphoe Muang, Kalasin Province 46000 Thailand
www.artnana.com

3.144.42.196 =    Tuesday 16th April 2024
 IP : 3.144.42.196   คนที่กำลังอ่าน   Bookmark and Share   
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย