ฮุปแต้มอีสาน, สิมอีสาน (Isan Mural Painting and Isan Temple Architectures)
 สิม หอไตร ฮูปแต้ม

(วางเมาส์บนรูปภาพ เพื่อดูส่วนขยายภาพ)

+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร      

วัดศรีคุนเมือง อ.เชียงคาน จ.เลย
      วัดศรีคุนเมือง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2199 ได้รับพระราชทานวิคุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2220 เดมมีชื่อว่า วัดใหญ่ จากหลักฐานศิลาจารึกมีอยู่ว่า พระยาอนุพินาถและภรรยาพร้อมทั้งบุตรธิดาวงศาคณาญาติ มีท้าวพระยาแม่น เป็นต้น ได้สร้างสิม กับพระพุทธรูปบูชาที่วัดศรีคุนเมือง เมื่อปีัพ.ศ. 2380 (จ.ศ. 1199)
      สิมวัดคุณเมือง มีการตกแต่งที่สวยงามและวิจิตร มีประติมากรรมยักษ์สองตนและมอมเป็นสิงห์เฝ้าบันไดทางขึ้น สิมที่สร้างขึ้นรูปพรรณสันฐานทางศิลปะ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะล้านนา หน้าบันเป็นไม้แกะลายกนกเครือเถาประดับกระจกสี
      เหนือประตูเข้าสิม มีภาพวิจิตรสายงาม พรรณาถึงทศชาติชาดก อธิบายภาพด้วยอักษรภาษาลาว เริ่มแรกสิมหลังนี้มุงด้วยไม้แผ่น (เลื่อยเป็นกระดานหนา 1 นิ้ว กว้าง 8 นิ้ว ตัดสั้น 50 เซนติเมตร) และเป็นที่ประกอบสังฆกรรมสงฆ์
      ส่วนเสาสิม เดิมเป็นเสาไม้ประดู่ ถากกลม มีลวดลายสวยงามมาก กาลเวลาผ่านไป หลังคาก็ชำรุด จึงได้มีการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2503 โดยเปลี่ยนหลังคาจากไม้แผ่นกระดานมาเป็นกระเบื้องซีเมนต์ เสาเป็นดินอิฐถือปูน ส่วนใดที่ชำรุดมาก ก็มีการเปลี่ยนทำใหม่ทั้งหมด การปฏิสังขรณ์ครั้งนี้ มีท่านเจ้าคุณพระวิชิตธรรมาจารย์ เจ้าอาวาสเป็นประธานฝ่ายสงฆ์
      วัดศรีคุณเมือง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดศรีคุณเมือง
      จารึกฐานพระพุทธรูปวัดศรีคุณเมือง 1
      เป็นจารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยชนิดทองเหลือง พุทธศตวรรษที่ 24 – 25 ไม่ระบุศักราชที่สร้าง จารึกด้วยอักษรฝักขาม มีบรรทัดเดียวรอบฐานพระ ปัจจุบันอยู่ในวัดศรีคุณเมืองอำเภอเชียงคาน
      คำจารึก พระพุทธเจ้าตนนีพระมหาเถรเจ้า ตนนึงซึสะระภังคะเจ้าหลในปี (กดสัป) เดิอนทรกแรมสิบคำเมงวันพุทใทเปลิญี ญามกองงายปะริบวนใวญังวัดปาญะผัง พัง (ชยง) ของแลสินนำทองทังมวนหรกหมีน
      คำอ่าน พระพุทธเจ้า ตนนี้ พระมหาเถรเจ้า ตนหนึ่งชื่อสรภังคเจ้า หล่อในปี (กดสัน) เดือนหกแรมสิบค่ำเม็งวันพุธ ไทเปลิกยี่ ยามกองงาย บริบวรณ์ ไว้ยังวัดปาญะ ผัง พัง (เชียง) ของ แลสินน้ำทอง ทั้งมวลหกหมื่น หนึ่งแล
      เนื้อเรื่อง จารึกฐานทางพระพุทธรูปนี้ กล่าวถึงประวัติพระพุทธรูปว่ามีพระมหาเถรเจ้ารูปหนึ่งชื่อ “สรภังคเจ้า” (ซึ่งแปลว่า ผู้หักลูกศร) ได้หล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัยทองเหลืองขึ้น ในปีกดสัน (ปีวอก) เดือนหก แรมสิบค่ำ วันพุธ ไทว่าวันเปลิกยี่ (วันไทยโบราณ) ยามกองงาย (ประมาณ 07.30 – 09.00 น.) เป็นอันเสร็จพิธี และสร้างไว้ยังวัดป่าญะผังพัง (เชียง) ของ ตอนท้ายจารึกบอกโลหะที่นำมาใช้สร้างพระพุทธรูปสิ้นน้ำทอง (ใช้ทองเหลือง) ทั้งสิ้นหกหมื่นหนึ่งแล ซึ่งหมายถึง พระพุทธรูปมีน้ำหนัก 72 กิโลกรัม

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดศรีคุณเมือง 2
      เป็นจารึกฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัย ชนิดสำริด พุทธศตวรรษที่ 24 ระบุจารึกเมื่อ จ.ศ.1196 (จารึกเป็น 2196) ราวปี พ.ศ.2377 จารึกด้วยอักษรธรรมอีสานที่ฐานองค์พระ 2 บรรทัด ปัจจุบันอยู่ที่วัดศรีคุณเมือง อ.เชียงคาน จ.เลย
      คำจารึก สูพะมะสดัตุจุนล สงักาดได 2 พันรย 96 ตัวปีกา บชะงาเดิน 4 แรม 15 คำวัน 7 มีกัดมดยามแถไกทยง หัวคูบุดดีเปันผูลีดจะนากับทัง ซีดโยมแล ลงตาเป็นผู(เ)ดีนปัน (อูบ) (พะพุคทลูบ) ไวกับสาด เทา 5 พันวะสานีพาน ฯฯ อินทลบูปันยา แล
      คำอ่าน ศุภมัสดุ จุลศักราชได้ 2 พันร้อย 96 ตัว ปีกาบสะง้า เดือน 4 แรม 15 ค่ำ วัน 7 มื้อกัดมด ยามแถใกล้เที่ยง หัวครูบุษดี เป็นผู้รจนา กับทัง ศิษย์โยม ลงตา เป็นผู้เอาดินปั้น (อูบ) พระพุทธรูป ไว้กับศาส(นา) เท่า 5 พันวัสสา นิพพาน ฯฯอินทรูปปัญญา แล
      เนื้อเรื่อง จารึกกล่าวว่า ศุภมัสดุ จุลศักราช ได้ 2 พันร้อย 69 (จ.ศ.1196) ปีกาบสะง้า (ปีมะเมีย) เดือน4 แรม 15 ค่ำ วัน 7 (วันเสาร์) มื้อกัดมด (วันโบราณ) ยามแถใกล้เที่ยง (เวลาโหราศาสตร์ ระหว่าง 09.00–10.30 น.) และผู้นำฝ่ายสงฆ์ชื่อ หัวครูบุดดี เป็นผู้รจนา (บันทึก,จารึก) อักษรฐานพระพุทธรูป กับทั้งศิษย์โยม และหลวงตาเป็นผู้เอาดินปั้นอูบ (ซุ้ม) พระพุทธรูปไว้กับพระศาสนา ตราบเท่า 5,000 วัสสา และจารึกคำว่า นิพพานไว้ตอนท้าย เพื่อมุ่งหวังสู่การดับหรือการล่วงทุกข์เอาไว้ด้วย



      
      วัดศรีคุณเมือง หรือ วัดใหญ่ เป็นวัดเก่าแก่ที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองเชียงคานมาอย่างยาวนาน ภายในวัดมีพระประธานในพระอุโบสถวัดศรีคุณเมืองเป็นพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบนาคปรกอายุกว่า 300 ปี ในวัดเป็นกำแพงแก้วล้อมรอบตัวพระอุโบสถ วัดนี้ถูกขนานนามว่าเป็นแหล่งรวมงานศิลปะทั้งแบบล้านนาและล้านช้างซึ่งเห็นได้จากโบสถ์ ที่มีหลังคาลดหลั่นอย่างศิลปะล้านนา
      ศิลปวัถตุที่สำคัญมีหลายชิ้นเช่นพระพุทธรูปไม้จำหลักลงรักปิดทองปางประทานอภัยแบบล้านช้าง พระพุทธรูปดังกล่าวจะมีพระเกศาเป็นปุ่มแหลมเล็ก พระกรรณค่อนข้างแหลมและยาว สันนิษฐานว่ามีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 24-25
      นอกจากนี้ในวัดยังมีธรรมาสน์ไม้แกะสลักลงรักปิดทองทุกด้านที่พนักหลังมียอดคล้ายปราสาท ด้านหน้าโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังอยู่เต็มหน้าบัน ภาพทั้งหมดเป็นภาพนิทานชาดกชุดพระเจ้าสิบชาติซึ่งวาดขึ้นใหม่แทนของเดิม
      และทุกวันพระรวมถึงวันสำคัญทางพุทธศาสนา วัดแห่งนี้จะคลาคล่ำไปด้วยผู้คนซึ่งมีทั้งชาวเชียงคานเองรวมถึงนักท่องเที่ยวผู้มาเยือน ที่ต่างก็พร้อมใจกันมาร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมกันอย่างถ้วนหน้า


      “ Wat Sri Khun Muang ” or “ Wat Yai ” is one of the important religious places of local people. It is situated on Chai Khong Road between Alley Sri Chiang Khan 6 and Sri Chiang Khan 7. It was built in 1942. It has been the ancient temple of Chiang Khan for a long time. On every Buddhist holy days and important Buddhist days, this temple is crowded with a lot of people including local people and tourists. They came to give food offerings to monks and listen to sermons.
      When you pass the wall and enter the temple’s area, you will see the ancient monastery with descending roof in Lanna art style. There are wall paintings in the monastery, telling the story about the ten existences of Buddha. There are also the paintings of Tuk Tuk vin the lower part of the paintings. Therefore, it is assumed that it was repainted or added in later period.
      In the monastery, you will see the wooden Buddha statue in the position of forgiveness covered with gold. It was made in Lan Chang or Laotian art style. It is assumed to be built in the 24th – 25th Buddhist century. For women, the pray to this Buddha statue, they can only do on the floor before the monk’s seats.
      Before leaving, take a look at the side of the statue. There is a “Hang Hod” or “Rang Rod”, a gutter in Suphannahong Boat shape. The front side of the gutter is the head of Naka. There will be a hole for floating waater. Hang Hod is used in the bathing ceremony of senior monks or governors which is very rare nowadays.

ถ่ายภาพเมื่อ : 25 ธันวาคม 2559
วัดศรีคุนเมือง
วัดศรีคุนเมือง
วัดศรีคุนเมือง
วัดศรีคุนเมือง
วัดศรีคุนเมือง
วัดศรีคุนเมือง
วัดศรีคุนเมือง
วัดศรีคุนเมือง
วัดศรีคุนเมือง
วัดศรีคุนเมือง
วัดศรีคุนเมือง
วัดศรีคุนเมือง
วัดศรีคุนเมือง
วัดศรีคุนเมือง
วัดศรีคุนเมือง
 Isan Upload
ภาพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



สถานที่ตั้ง : วัดศรีคุนเมือง หมู่ 1 ต.เชียงคาน อ.เชียงคาน จ.เลย 42110
ถ่ายภาพเมื่อ : 25 ธันวาคม 2559
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 28 ธันวาคม 2559
จำนวนผู้เข้าชม : 1995 ครั้ง
แหล่งที่มาข้อมูล : ป้ายประชาสัมพันธ์ภายในวัด, maloei.com, edtguide.com, tourismthailand.org
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง


28-12-2016 Views : 1996
      ร่วมกันสนับสนุนเว็บไซต์นี้ ทำได้ง่ายๆ ด้วยการคลิกลิงค์ด้านล่าง... ขอบคุณครับ


ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphoe Muang, Kalasin Province 46000 Thailand
www.artnana.com

18.220.59.69 =    Saturday 20th April 2024
 IP : 18.220.59.69   คนที่กำลังอ่าน   Bookmark and Share   
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย