ฮุปแต้มอีสาน, สิมอีสาน (Isan Mural Painting and Isan Temple Architectures)
 สิม หอไตร ฮูปแต้ม

(วางเมาส์บนรูปภาพ เพื่อดูส่วนขยายภาพ)


วัดศรีมงคลใต้ จ.มุกดาหาร
     วัดศรีมงคลใต้ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงในตัวเมืองมุกดาหาร ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระเจ้าองค์หลวง พระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง สร้างขึ้นก่อนตั้งเมืองมุกดาหาร แต่ไม่ปรากฏว่าสร้างในสมัยใด

พระเจ้าองค์หลวง
     พระเจ้าองค์หลวงเป็นพระประธานปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง ๒ เมตร ๒๐ เซนติเมตร ความสูงจากฐาน ๓ เมตร วัสดุก่ออิฐถือปูน ศิลปะล้านช้าง นับเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดมุกดาหาร ส่วนพระพุทธรูปองค์เล็กนั้นกลับปาฏิหาริย์ไปอยู่ใต้ต้นโพธิ์ดังเดิม เป็นเช่นนี้อยู่หลายครั้งทางวัดจึงได้สร้างแท่นบูชาไว้ ต่อมาตลิ่งริมแม่น้ำทรุดตัวลงพระเหล็กก็ทรุดจมลงจนเห็นพระเมาลี ชาวบ้านจึงสร้างแท่นหินครอบพระเกศนั้นไว้ เรียกกันว่า พระหลุดเหล็ก ภายหลังได้ถูกน้ำเซาะหายไปเหลือแต่แท่นหินเท่านั้น บานแท่นหินตั้งอยู่ตรงทางขึ้นพระวิหาร

     พระเจ้าองค์หลวง เป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของชาวมุกดาหารและชาวพุทธศาสนิกชนทั่วไป เป็นที่เลื่องลือทั้งในด้านความศักดิ์สิทธิ์และพุทธานุภาพ คุ้มครองให้ผู้สักการบูชาอยู่เย็นเป็นสุข แคล้วคลาดจากภัยอันตรายทั้งปวง ตลอดจนช่วยดลบันดาลให้ได้รับ ความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนาในทางที่ดีงาม

วิหารวัดศรีมงคลใต้
     วิหารวัดมงคลใต้ เป็นวิหารขนาดใหญ่ ก่ออิฐ ถือปูนตั้งอยู่บนฐานนี้ไม่สูงนัก หลังคาเป็นหลังคาจั่วลดชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๓ ภายในวิหารประดิษฐานพระเจ้าองค์หลวง หันหน้าลงสู่แม่น้ำโขง ด้านหน้าจั่วของวิหารตกแต่งด้วยลาย ปูนปั้นสลัก ลายต่างๆ ที่เสาและผนังด้านข้างมีคันทวยไม้แกะสลักเป็นลายดอกไม้สวยงามมาก มีบันได ทางขึ้นวิหาร ๓ ทาง คือ ด้านหน้า ๑ ทาง เป็นประตูสำคัญ บานประตูเป็นไม้แกะสลัก เหนือประตูเป็นรูปสัตว์ในเทพนิยายข้างบันไดหน้าวิหารมีรูปราสีห์ สิงห์ ยักษ์ ส่วนหน้าต่างเจาะเป็นช่องสี่เหลี่ยมมีเฉพาะที่ผนังด้านข้างเท่านั้น

      วัดศรีมงคลใต้ ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๒๘๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๑ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย


      วัดศรีมงคลใต้ มีประวัติเล่าว่า เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ผู้คนได้พากันทิ้งถิ่นฐานอพยพครอบครัวลงมาหาที่สร้างบ้านเมืองใหม่ เจ้าจันทสุริวงศ์ได้พาผู้คนไปตั้งถิ่นฐานที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงที่บ้านโพนศรี บริเวณพระธาตุอินฮังปัจจุบันอยู่ในแขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาว ต่อมาโอรสคือท้าวกินนรีพาชาวบ้านมาสร้างเมืองที่ปากห้วยมุกฝั่งตรงข้ามได้พบพระพุทธรูป ๒ องค์ อยู่ใต้ต้นโพธิ์ริมฝั่งโขง บริเวณวัดร้างใกล้ตาลเจ็ดยอด พระพุทธรูป ๒ องค์ที่พบนั้นองค์ใหญ่สร้างด้วยสัมฤทธิ์ศิลปะตระกูลพระไชยเชษฐาธิราชแห่งล้านช้าง ส่วนองค์เล็กเป็นเหล็กผสม ท้าวกินนรีได้อัญเชิญพระพุทธรูปทั้ง ๒ องค์ ขึ้นประดิษฐานในพระวิหารองค์ใหญ่เรียกกันว่าพระเจ้าองค์หลวง

      ตามตำนานเล่าว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ ขณะที่เจ้ากินรีคุมบ่าวไพร่ถากถางอยู่ใกล้ต้นตาลเจ็ดยอด เมื่อครั้งสร้างเมืองใหม่นั้นได้พบพระพุทธรูปสององค์ องค์ใหญ่เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน องค์เล็กเป็นพระพุทธรูปเหล็กอยู่ใต้ต้นโพธิ์ เจ้ากินรีจึงสร้างวัดขึ้นบริเวณนั้น เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งสององค์ วันหนึ่งเมื่อพระภิกษุประจำวัดเข้าไปสักการะ ปรากฏว่าไม่พบพระพุทธรูปเหล็ก เมื่อค้นดูรอบๆ บริเวณวัด พบว่าพระพุทธรูปเหล็กไปประดิษฐานอยู่ใต้ต้นโพธิ์ตามเดิม และจมลงในดินเหลือแต่ยอดพระเมาลีเป็นที่น่าอัศจรรย์ เจ้ากินรีจึงสร้างแท่นสักการะบูชาไว้ ณ ที่นั้น และถวายนามว่า "พระหลุบเหล็ก" ส่วนพระพุทธรูปองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่ ในวิหาร เรียกนามว่า "พระเจ้าองค์หลวง" เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองมุกดาหารนับแต่นั้นมา

      ครั้นถึง พ.ศ. ๒๓๒๑ เมื่อกรุงธนบุรีได้รวบรวมหัวเมืองในสองฝั่งโขงให้รวมอยู่ในข้าขอบขัณฑสีมา จึงโปรดเกล้าฯให้ เจ้าจันทกินรี เป็นพระยาจันทรศรีสุราชอุปราชามันธาตุราช เจ้าเมืองมุกดาหารคนแรก วัดศรีมงคลเป็นสถานที่กระทำพิธีดื่มน้ำพิพัฒนสัตยาประจำปีของเมืองมุกดาหาร ต่อมาเมื่อมีวัดฝ่ายธรรมยุตตั้งขึ้นอีกวัดหนึ่งในเขตตำบลศรีมงคล จึงเรียกวัดที่ตั้งขึ้นใหม่ว่า วัดศรีมงคล(เหนือ) และเรียกวัดศรีมงคลเดิมว่า วัดศรีมงคล(ใต้) ซึ่งเป็นอารามหลวงชั้นตรีชั้นวรวิหาร

สถานที่ตั้ง : หมู่ ๑ ต.มุกดาหาร อ.เมือง จ.มุกดาหาร

       ภาพถ่ายเมื่อ : ๒๕ มกราคม ๒๕๕๘

29-01-2015 Views : 5434

ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphoe Muang, Kalasin Province 46000 Thailand
www.artnana.com

3.138.113.188 =    Wednesday 24th April 2024
 IP : 3.138.113.188   คนที่กำลังอ่าน   Bookmark and Share   
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย