ฮุปแต้มอีสาน, สิมอีสาน (Isan Mural Painting and Isan Temple Architectures)
 สิม หอไตร ฮูปแต้ม

(วางเมาส์บนรูปภาพ เพื่อดูส่วนขยายภาพ)

+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร      

วัดใต้ ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
     ตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ 160 บ้านใหญ่ หมู่ 4 ตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เป็นชุมชนเผ่าเยอได้เดินทางมาจากประเทศลาว ได้มาตั้งบ้านใหญ่และได้ก่อตั้งวัดใต้ขึ้น ในปีพ.ศ ไม่ปรากฏ ทราบแต่ว่าเป็นวัดที่ 2 ของอำเภอราษีไศล รองจากวัดบ้านไผ่ ก่อสร้างมาหลายปีจนได้รับการแต่งตั้งให้ป็นวัดเมื่อปี พ.ศ 2380 ซึ่งในสมัยนั้นมี ยาเจ้าหลักคำ (คำว่า “ยาเจ้า’’เป็นภาษาท้องถิ่นซึ่งใช้เรียกคนที่เป็นใหญ่ในหมู่บ้าน)เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก (เป็นเจ้าคณะอำเภอคง) ปัจจุบันอำเภอราษีไศล ยาเจ้าคูคำเป็นเจ้าอาวาส เป็นองค์ที่ 2 ยาเจ้าคูคำได้สร้างอุโบสถขึ้นอยู่ทางทิศใต้ของพระธาตุ เพื่อใช้เป็นที่ทำสังฆกรรมในเขตอำเภอราษีไศลและได้สร้างอุโบสถเสร็จแล้วจึงได้สร้างวิหารเป็นศาลาขนาดใหญ่เป็นยอด 3 ชั้นทำด้วยไม้กะสลักลวดลายอย่างสวยงามหลังจากที่ยาเจ้าคูคำ มรณภาพแล้วก็มี หลวงพ่อนัน เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 3 เจ้าอาวาสองค์ที่ 4 คือ ปลัดศรี ถาวโร
      ในช่วงที่พระอาจารย์ปลัดศรีเป็นเจ้าอาวาสนั้นยอดพระธาตุได้หักลงมาเนื่องจากวัสดุต่างๆทุดโทรมเสื่อมคุณภาพ พระอาจารย์ปลัดศรีจึงจึงได้รวมกลุ่มชาวบ้านเก็บพระเครื่องต่างๆ ที่ตกออกมาจากยอดพระธาตุ มารวมกันไว้ได้ 2 ถาดใหญ่ และอีกจำนวนหนึ่งชาวบ้านเก็บไปบูชาที่บ้าน ส่วนยอดพระธาตุที่เป็นเศวตฉัตรทำจากเหล็กเก็บกองไว้ที่ฐานหระธาตุ ต่อจากนั้นได้มีพระสา รักษาการเจ้าอาวาสองค์ที่ 5 และเจ้าอิการบุญมา (เจ้าคณะตำบลเมืองคงที่มรณะภาพไปแล้ว) เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 6 พระอธิการนารี กตปุญฺโญ เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 7 จำพรรษาจนถึงปี 2535 – 2543 ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 8 ต่อมาท่านก็ออกจากเจ้าอาวาส กลับไปอยู่ที่วัดบ้านยางซึ่งเป็นบ้านเกิด เพราะชรา ลูกหลานอยากให้กลับไปอยู่บ้านจะได้ดูแลอย่างใกล้ชิด จากนั้นจึงได้นิมนตืพระสุมิน อานันโท หรือพระครูพิบูลธรรมาภิรัต มารักษาการเจ้าอาวาส ในปี 2543 และในปี 2544 จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 9 สืบต่อมา จนถึงพ.ศ 2551 ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูเจ้าอาวาสชั้นโท ที่พระครูพิบูลธรรมาภิรัติ ปัจจุบัน (2554)วัดใต้มีพระจำพรรษาอยู่ 10 รูป สามเณร 4 รูป

ปัจจุบัน
      วัดใต้มีเนื้อที่ 19 ไร่ 3 งาน 21 ตารางวา มีอุโบสถ 2 หลัง ซึ่งป็นหลังเก่าหนึ่งหลังไม่ได้รื้อลงเก็บไว้เป็นของเก่า หลังใหม่กว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ 2534 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาวันที่ 17 มิถุนายน 2540 ผูกพัทธสีมาวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ 2541 มีกุฎิ 9 หลัง เมรุ 1 หลัง ศาลาบำเพ็ญกุศล 1 หลัง และศาลาการเปรียญ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงหลังคาเหล็ก หลังคามุงสังกะสี สะแกนรูป ติดฝ้าเพดาน ปูพื้นด้วยกระเบื้องแกรนิตโต้ แบบ 2 ชั้นมีขนาดกว้าง 24 เมตร ยาว 46 เมตร เริ่มวางศิลาฤกษ์วันที่ 21 เมษายน พ.ศ 2545 สามารถบรรจุผู้มาใช้บริการได้ประมาณ 1500 คน งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 12,000,000 ล้านบาท (สิบสองล้านบาท) งบประมาณจากผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป จากงานกฐิน ผ้าป่า ร่วมกันจองเป็นเจ้าภาพ

      มีพื้นที่ใช้ประโยชน์อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งติดแม่น้ำมูลเป็นป่าช้าเก่าเรียกชื่อว่า ดอนแก้ว (เกาะแก้ว) ใช้ในการปฎิบัติธรรมในเดือนมกราคมวันที่ 20-30 ของทุกปีจะมีพระภิกษุสามเณร ญาติโยม มาร่วมปฎิบัติธรรมเป็นจำนวนหลายร้อยรูป / คน




สิ่งที่น่าสนใจ
1. สิมไม้โบราณ รูปแบบเป็นสิมโถงหรือสิมโปร่ง พระประธานปางมารวิชัยนั่งขัดสมาธิราบ บนฐานเอวขัน ก่อด้วยปูน ศิลปะอีสานพื้นบ้าน มีสัดส่วนที่ลงตัวสวยงามมาก เรือนสิม เป็นสิมโถงแบ่งเป็น 3 ส่วน 1-2 เป็นส่วนยื่นออกมา เพื่อให้พระสงฆ์นั่งทำพิธีกรรมทางศาสนา ส่วน 3 เป็นส่วนที่ประดิษฐานพระประฐาน จึงมีการก่อผนังด้วยไม้ มีหน้าต่างฝั่งละช่อง ด้านหลังพระประธาน 1 ช่อง เพื่อให้แสงลอดผ่าน วงกบมีการประดับลายแกะไม้ด้วย

2. สิมครึ่งไม้ครึ่งปูนโบราณ รูปแบบเป็นสิมโถงหรือสิมโปร่ง ยกพื้นสูง โครงไม้ ก่ออิฐฉาบปูนก่อผนังโดยรอบสูงประมาณ 60 เซนติเมตร ผนังมีช่องประดับด้วยลูกมะหวด ด้านหน้าก่อบันไดปูน 5 ขั้น มีการก่อปูน เทปูนใหม่ พระประธานปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ สร้างด้วยปูนบนฐานชุกชี คานหน้าบัน รวงผึ้งแกะไม้สวยงาม

3. กู่หรือธาตุก่อด้วยอิฐ รูปแบบทางสถาปัตยกรรม การเข้าเหลี่ยมย่อมุม รูปแบบคล้ายศิลปะอยุธยา คล้ายปราสาทเมืองจันทร์และปราสาทบ้านปราสาท อาจจะร่วมสมัยเดียวกัน แม้ว่าวัดใต้จะอยู่ใกล้กู่แก้วสี่ทิศ แต่ธาตุองค์นี้ ดูแตกต่าง อาจจะไม่ได้ร่วมสมัยกันก็ได้


ชาวกุย เป็นไปได้ว่ากู่หรือธาตุหรือทั้งหมดเป็นฝีมือการก่อสร้างของ " ชาวกูย " ซึ่งมีการสร้างมากมายทั่วอีสานใต้
      ชนชาติพันธุ์นี้มักเรียกตัวเองว่า กูย หรือ กวย แปลว่า "คน" ใช้ภาษา "กูย" หรือ "กวย" เป็นเอกลักษณ์ในการสื่อสาร ชาวกูย หรือ กวย นับถือศาสนาพุทธผสมและเชื่อเรืองภูตผีปีศาจ เจ้าที่ ในชุมชุนจะมีศาลผี,เจ้าที่ประจำหมู่บ้าน ทุกหมู่บ้านเรียกว่า"ผละโจ๊ะ" จะมีการบวงสรวงเจ้าที่เรียกว่า "แซนผละโจ๊ะ" (เซ่นผีหรือเจ้าที่)
      ชาวกูย นิยมเลี้ยงช้างซึ่งสืบทอดจากบรรพบุรุษ ชาวกูยจะออกไปจับช้างป่าด้วยการคล้องช้าง ด้วยเชือกปะกำ ซึ่งทำจากหนังควาย ถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สิงสถิตของดวงวิญญาณ เมื่อได้ช้างมาก็จะฝึกเอาไว้ใช้งาน พงศาวดารเมืองละแวกก็มีบันทึกไว้ว่าในพุทธศตวรรษที่ 20 กษัตริย์แห่งเมืองพระนคร ได้ขอร้องให้แจ้งกุยแห่ง ตะบองขะมุม (ชุมชนกุยทางด้านใต้ของนครจำปาศักดิ์) ส่งกำลังไปช่วยปราบกบฏที่เมืองพระนคร ชาวกุยได้ร่วมขับไล่ ศัตรูจนบ้านเมืองขอมเข้าสู่ภาวะปกติสุข หลักฐานนี้แสดงว่า ขณะที่ชนชาติไทยหรือสยามกำลังทำสงครามขับเคี่ยวกับขอมเพื่อสถาปนานครรัฐสุโขทัยขึ้นมานั้นชาวกุยได้เข้ามาตั้งถิ่นฐาน ณ บริเวณลุ่มน้ำโขงตอนล่าง และแถบอีสานใต้อย่างเป็นปึกแผ่นแล้ว



      

ถ่ายภาพเมื่อ : 22 พฤศจิกายน 2560
วัดใต้ ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
วัดใต้ ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
วัดใต้ ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
วัดใต้ ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
วัดใต้ ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
วัดใต้ ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
วัดใต้ ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
วัดใต้ ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
วัดใต้ ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
วัดใต้ ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
วัดใต้ ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
วัดใต้ ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
วัดใต้ ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
วัดใต้ ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
วัดใต้ ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
วัดใต้ ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
วัดใต้ ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
วัดใต้ ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
วัดใต้ ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
วัดใต้ ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
วัดใต้ ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
วัดใต้ ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
วัดใต้ ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
 Isan Upload
ถ่ายภาพเมื่อ : 28 กรกฏาคม 2561


การเดินทาง
รถยนต์ ถนนสายราษีไศลยางชุมน้อย กิโลเมตรที่ 2 เลี้ยวขวาเข้าวัด
รถไฟ ลงที่อำเภออุทุมพรพิสัย หรือ ศรีสะเกษ ต่อรถมาราษีไศล
วัดห่างจากตัวจังหวัดศรีสะเกษ 38 กิโลเมตร
ห่างจากอำเภออุทุมพรพิสัย 27 กิโลเมตร



สถานที่ตั้ง : วัดใต้ ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
พิกัด : 15.332669, 104.165254
ถ่ายภาพเมื่อ : 22 พย. 2560, 28 กค. 2561
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 23 พฤศจิกายน 2560
วันปรับปรุงล่าสุด : 7 สิงหาคม 2561
จำนวนผู้เข้าชม : 2811 ครั้ง
แหล่งที่มาข้อมูล : เรียบเรียงขึ้นเอง, wattai2555.blogspot.com, วิกิพีเดีย
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง


23-11-2017 Views : 2812
      ร่วมกันสนับสนุนเว็บไซต์นี้ ทำได้ง่ายๆ ด้วยการคลิกลิงค์ด้านล่าง... ขอบคุณครับ


ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphoe Muang, Kalasin Province 46000 Thailand
www.artnana.com

3.139.237.130 =    Friday 26th April 2024
 IP : 3.139.237.130   คนที่กำลังอ่าน   Bookmark and Share   
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย