หอไตร วัดทุ่งศรีเมือง จ.อุบลฯ
วัดนี้สร้างขึ้นราวปี 2385 ตรงกับสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยเจ้าคุณพระอริยะวงศาจารย์ ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกฏ์ (สุ้ย หลักคำ) เป็นผู้อำนวยการสร้าง
หอไตรหรือหอพระไตรปิฏก สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างวัดและหอพระพุทธบาทหรือพระอุโบสถ มีญาคูช่าง ซึ่งเป็นพระสงฆ์ชาวเวียงจันทร์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง ลักษณะเป็นเรือนฝาไม้ปะกนแบบเรือนไทยภาคกลาง เป็นเรือนขนาด 4 ห้อง หันหน้าไปทางืิศตะวันออก คันทวยแกะสลักเป็นรุปเทพนม และนาค ไม้ฝาด้านล่างของฝาปะกนแกะสลักเป็นรุปสัตว์ต่างๆ ภายในกรอบสี่เหลี่ยม บานประตูหน้าต่างเขียนลายรดน้ำ ภายในทำเป็นห้องสำหรับเก็บพระไตรปิฏกและใบลาน ผนังห้องเขียนรายลดน้ำเช่นเดียวกัน
หอไตรกลางน้ำ วัดทุ่งศรีเมือง สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าพรหมราชวงศา (กุทองสุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานี คนที่ 3 ตามเอกสารระบุว่า ท่านเจ้าคุณอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย หลักคำ) เจ้าคณะเมืองอุบลราชธานี ซึ่งพำนักอยู่ที่วัดมหาวนาราม(วัดป่าใหญ่) เป็นผู้อำนวยการสร้าง โดยวัตถุประสงค์ในการสร้างคือ เพื่อเก็บรักษาพระไตรปิฏก ป้องกันไม่ให้ มดปลวกไปทำลาย ซึ่งช่างที่มีชื่อเป็นช่างควบคุมการก่อสร้าง เท่าที่มีชื่อระบุไว้ ได้แก่ ญาครูช่าง ซึ่งเป็นช่างหลวงจากราชสำนักร่วมก่อสร้างด้วย
ลักษณะของหอไตรวัดทุ่งศรีเมือง เป็นหอน้ำ สร้างอยู่กลางสระน้ำ เป็นอาคารเรือนไม้ขนาดกว้าง 8.20 เมตร ยาว 9.85 เมตร สูงจากระดับพื้นน้ำถึงถึงยอดหลังคาประมาณ 10 เมตร แปลน รูป สี่เหลี่ยมจตุรัส ยกพื้นสูงใต้ถุนโปร่ง ผนังเป็นแป้นฝาไม้แบบเรียบ เครื่องสับฝาแบบฝาประกนอย่างเรือนไทยภาคกลาง ลูกฝักรองตีนช้างแกะสลักลายประตูเข้าหอไตร อยู่ทางทิศตะวันออกประตูเดียว มีหน้าต่างโดยรอบทั้งหมด 14 ช่อง หลังคาทรงจั่วมีปั้นกรอบ ปีกนอกกว้าง 2 ชั้น (คล้ายสถาปัตยกรรมเชียงรุ้ง) ส่วนบนหลังคาทรงแบบโบสถ์ไทยมีชั้นลด 2 ชั้น ช่อฟ้ารวยลำยอง ใบระกา นาคสะดุ้งและหางหงส์แบบภาคกลาง หน้าบันไม้จำหลักลายแบบไทย(ลายดอก) พุดตาน,ลายกระจังรวน,ลายประจำยามก้ามปู ฯลฯ
เดิมมุงแป้นไม้มีทวยสลักด้วยไม้ค้ำยันชายคาปีกนอกโดยรอบจำนวน 19 ตัว 2 ตัว ด้านด้านหน้าข้างประตูเข้า สลักหัวทวยเป็นเทพพนมอีก 17 ตัวเป็นรูปพญานาค
สถานที่ตั้ง : วัดทุ่งศรีเมือง ตั้งอยู่บริเวณถนนหลวง ในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
|
|
|
28-11-2013 Views : 9616