+ เพิ่ม |
- ลด ขนาดตัวอักษร
ประวัติศาสตร์ศิลปะเขมร
ศิลปะกรรมเขมรโบราณเป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับศาสนาที่ได้รับอิทธิพลของอารยธรรมอินเดีย และได้มี พัฒนาการรูปแบบทางศิลปะของตนเอง นักประวัติศาสตร์ศิลปะได้ศึกษาศิลปะเขมรจากการจัดลำดับ วิวัฒนาการของรูปแบบและลวดลาย ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ข้อความและศักราชจากศิลาจารึกที่ค้นพบ การกำหนดรูปแบบและอายุสมัยของศิลปะเขมร ซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 สมัย และ 16 รูปแบบดังนี้คือ (ม.ร.ว.สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, 2537 : 46-58)
สมัยก่อนเมืองพระนคร
ช่วงระยะเวลาตั้งแต่อาณาจักรฟูนัน จนถึงอาณาจักรเจนละก่อนที่พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 สถาปนา เมืองยโศธรปุระ หรือเมืองพระนครเป็นราชธานี
1. ศิลปะแบบ
พนมดา พ.ศ. 1090-1150 เรียกชื่อจากเนินเขาทางตอนใต้ของประเทศกัมพูชาซึ่งเป็นที่ตั้งของ เทวาลัย ในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกาย ค้นพบประติมากรรมของอาณาจักรฟูนัน แต่ไม่พบร่องรอย สถาปัตยกรรม
2. ศิลปะแบบ
ถาลาบริวัต พ.ศ.1150 เรียกตามชื่อสถานที่ค้นพบทับหลังกลุ่มหนึ่งบริเวณริมแม่น้ำโขงทางภาค ใต้ของประเทศลาว จากบริเวณที่มีแม่น้ำไหลวน (ตรงกับคำภาษาไทยว่า ธาราบริวัต) เนื่องจากลักษณะทับหลัง แบบถาลาบริวัตมีลักษณะคล้ายศิลปะอินเดียแบบคุปตะและหลังคุปตะนักวิชาการจึงกำหนดอายุประมาณ พุทธศตวรรษที่ 12
3. ศิลปะแบบ
สมโบร์ไพรกุก พ.ศ.1150-1200 เรียกชื่อตามกลุ่มโบราณสถานสมโบร์ไพรกุก หรือเมืองอีศานปุระ ราชธานีสมัยพระเจ้าอีศานวรมันที่ 1
4. ศิลปะแบบ
ไพรกเมง พ.ศ.1185-1250 เรียกตามชื่อปราสาทไพรกเมง สมัยพระเจ้าภววรมันที่ 2
5. ศิลปะแบบ
กำพงพระ พ.ศ.1256-1350 นักวิชาการเรียกชื่อตามปราสาทกำพงพระ ศิลปกรรมสมัยนี้ปรากฏ จากโบราณสถานกลุ่มร่อลั่วเป็นสำคัญ ช่วงเวลาดังกล่าวนี้เป็นระยะที่เจนละแตกออกเป็น 2 ส่วนคือ เจนละบก และเจนละน้ำ
สมัยเมืองพระนคร
นับช่วงตั้งแต่เมืองยโศธรปุระหรือเมืองพระนครเป็นราชธานีหลัก ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 15 ไปจนถึง สิ้นสุดเมืองพระนครหลวง หรือนครธรม (Angkor Thom) สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แต่อย่างไรก็ตามนักโบราณ คดีฝรั่งเศสได้จัดให้ช่วงเริ่มต้นสมัยเมืองพระนครในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ก่อนการสถาปนาเมืองพระ นครเนื่องจากศิลปะเขมรมีวิวัฒนาการอย่างสืบเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
1. ศิลปะแบบ
กุเลน พ.ศ.1370-1420 ชื่อแบบศิลปะเรียกตามชื่อของภูเขาพนมกุเลนที่ตั้งของเทวาลัยสันนิษฐาน ว่า ศิลปะสมัยนี้คงสร้างตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 จนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 3 ศาสนสถานที่สำคัญ เช่น ปราสาทไพร ปราสาทคำไรกาบและอื่น ๆ
2. ศิลปะแบบ
พะโค พ.ศ.1420-1436 เรียกตามชื่อปราสาทพะโค ซึ่งพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 สร้างขึ้นที่เมือง หริ หราลัยหรือหมู่บ้านร่อลั่วในปัจจุบัน ปราสาทที่สำคัญ เช่น ปราสาทกอกโป ปราสาทพะโค ปราสาทบากอง ปราสาทโลเลย
3. ศิลปะแบบ
บาแค็ง ครึ่งหลัง พ.ศ.1436-พ.ศ.1470 นักวิชาการฝรั่งเศสเรียกตามชื่อปราสาทพนมบาแค็ง ตรง กับสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ซึ่งพระองค์ได้ประดิษฐานเทวราชในรูปศิวลึงค์ บริเวณกลางเมืองยโศธรปุระ ปราสาทสำคัญสมัยนี้มี ปราสาทพนมบาแค็ง ปราสาทพนมกรม ปราสาทกระวัน
4. ศิลปะแบบ
เกาะแกร์ พ.ศ.1464-1490 นักวิชาการเรียกตามชื่อปราสาทที่โฉกครรยาร์ ซึ่งสร้างโดยพระเจ้า ชัยวรมันที่ 4 จากการย้ายราชธานีจากเมืองยโศธรปุระชั่วคราว ปัจจุบันคือ บริเวณหมู่บ้านเกาะแกร์ ปราสาทที่ สำคัญได้แก่ ปราสาทธมที่เกาะแกร์ ปราสาทปักษีจำกรง โบราณสถานกลุ่มเกาะแกร์ คือ ปราสาทคำไร ปรา สาาทจรัป ปราสาทเจน
5. ศิลปะแบบ
แปรรูป พ.ศ.1490-1510 กำหนดชื่อจากชื่อปราสาทแปรรูปสมัยพระเจ้าราเชนทรวรมัน ปราสาทที่ สำคัญได้แก่ปราสาทแม่บุญตะวันออก ปราสาทแปรรูป ปราสาทเบงเวียน ปราสาทบัทชุม
6. ศิลปะแบบ
บันทายศรี (บัน-ทาย-สรี) พ.ศ.1510-1545 กำหนดชื่อตามปราสาทบันพายศรี ซึ่งได้ค้นพบจารึกที่ สร้างขึ้นพร้อมกับปราสาท กำหนดปีศักราชในการสร้าง ศิลปกรรมสมัยนี้ตรงกับสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 มี ปราสาทที่สำคัญ คือ ปราสาทบันพายศรี ปราสาทเสลา
7. ศิลปะแบบ
ประตูพระราชวังหลวง พ.ศ.1550-1600 แต่เดิมเรียกศิลปะแบบเกลียง (คลัง) ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเรียก ตามประตูพระราชวังหลวง ซึ่งมีเอกลักษณ์ของทับหลังที่อยู่ชั้นในและมีจำนวนมากกว่าปราสาทเกลียงและ สามารถกำหนดรูปแบบของการศึกษาได้มากกว่าเดิม ศิลปะแบบประตูพระราชวังหลวงตรงกับสมัยของพระเจ้า ชัยวีรวรมัน จนถึงสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1
8. ศิลปะแบบ
บาปวน พ.ศ.1600-1650 เรียกตามชื่อปราสาทบาปวน ซึ่งสร้างขึ้นโดยพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 นักวิชาการฝรั่งเศสกำหนดเอาปราสาทบาปวนเป็นตัวแทนของศิลปกรรมของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และ พระ เจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 โดยเรียกศิลปะในช่วงนี้ว่า ศิลปะแบบบาปวน ปราสาทที่สำคัญคือ ปราสาทพนมจิสอร์ ปราสาทเขาพระวิหารส่วนที่สร้างต่อ ปราสาทบาปวน และอื่น ๆ
9. ศิลปะแบบ
นครวัด พ.ศ.1650-1752 เรียกตามชื่อของปราสาทนนครวัด ซึ่งสร้างขึ้นโดยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 นอกจากปราสาทนครวัด ยังมีปราสาทที่สำคัญร่วมสมัยเช่น ปราสาท เบงเมียเลีย ปราสาทป่าเลไลย์ ปราสาท บันบายสำเหร่ ปราสาทเสาภาพ รวมทั้งส่วนกลางของปราสาทพระขรรค์
10. ศิลปะแบบ
บายน พ.ศ.1724-1780 เรียกชื่อตามปราสาทบายนซึ่งสร้างขึ้นโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่ศูนย์ กลางเมืองพระนครหลวง ปราสาทในศิลปะแบบบายนแบ่งออกเป็น 4 สมัย คือ
สมัยที่ 1 ปราสาทตาพรหม พ.ศ.1729 ปราสาทบันทายยกเด็ย ปราสาทพระขรรค์
สมัยที่ 2 ปราสาทพระขรรค์ ส่วนที่สร้างเพิ่มเติม กำแพงชั้นนอกของปราสาทตาพรหม วิหาร อโรคยา ศาลา และธรรมศาลา
สมัยที่ 3 ปราสาทบายน และส่วนใหญ่ของปราสาทบันทายฉมาร์
สมัยที่ 4 ภาพสลักนูนต่ำรุ่นหลัง และฐานพลับพลาหน้าพระราชวังหลวง
สมัยหลังเมืองพระนคร
หลังจากศิลปะแบบบายน ศิลปะเขมรได้ขาดช่วงไป อาณาจักรเขมรได้ย้ายราชธานีจากเมืองพระนคร หลวง ศิลปะสมัยหลังเมืองพระนคร จึงเริ่มต้นในพุทธศตวรรษที่ 20
1. ศิลปะแบบศรีสันธอร์ พ.ศ.1916 เป็นศิลปะที่ผสมผสามระหว่างแบบเขมรดั้งเดิมและศิลปะ-ไทย
สมัยอยุธยา
ศิลปะเขมรในประเทศไทย แต่เดิมนักวิชาการเรียกศิลปะที่ได้รับอิทธิพลเขมรในประเทศไทยว่า “ศิลปะสมัยลพบุรี” เนื่องจากเชื่อว่า ละโว้ หรือลพบุรีเป็นเมืองสำคัญที่ได้รับอิทธิพลเขมรเข้ามาในประเทศไทยและเป็นศูนย์กลางที่มีความรุ่งเรืองตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 16 แต่จากการศึกษาในระยะต่อมาพบว่า โบราณวัตถุโบราณสถานในประเทศไทยโดยเฉพาะ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับอิทธิพลเขมรตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 ก่อนสมัยลพบุรี และมีหลักฐานความ เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเขมรโบราณโดยตรง ศาสตราจารย์ ดร.ม.ร.ว.สุริยวุฒิ สุขสัวสดิ์ ได้ให้ความเห็นว่า เนื่อง จากศิลปะที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรในประเทศไทยมีลักษณะสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศิลปะเขมรจึงควรเรียกว่า “ศิลปะร่วมแบบเขมรในประเทศไทย”
ศาสตราจารย์ ดร.ม.ร.ว.สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ กำหนดยุคสมัยของศิลปะแบบเขมรในประเทศไทยเป็นสองสมัยคือ สมัยก่อนราชวงศ์มหิธรปุระ ครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 12 ถึงครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 16 และสมัยราชวงศ์ มหิธรปุระ ครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 17 ถึงครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 18 เหตุที่ใช้ราชวงศ์มหิธรปุระเป็นหลัก เนื่องจากเป็นราชวงศ์ที่มีกำเนิดและครอบครองดินแดนไทยตั้งแต่ครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 17 อีกทั้งเป็นผู้ สร้างและสร้างเสริมโบราณสถานที่สำคัญในประเทศไทยเช่น ปราสาทหินพิมาย ปราสาทพนมวัน และปราสาท พนมรุ้ง สำหรับศิลปะร่วมแบบเขมรในประเทศไทยแบ่งออกเป็นยุคสมัยดังนี้ คือ (ม.ร.ว.สุริยวุฒิ สุข สวัสดิ์,2537: 59-67)
สมัยก่อนราชวงศ์มหิธรปุระ ระหว่างครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 12 ถึงครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 16
- ศิลปะร่วมแบบพนมดา ครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 12 ไม่ปรากฏร่องรอยของศาสนสถาน แต่พบ ประติมากรรมในศาสนาฮินดูรุ่นแรกที่เมืองศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์
- ศิลปะร่วมแบบถาลาบริวัต กลางครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 12 ลักษณะคล้ายคลึงกับศิลปะแบบถาลาปริ วัตทางภาคใต้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศกัมพูชา พบหลักฐานเฉพาะทับหลังจาก วัดทองทั่ว และวัดบนเขาพลอยแหวน จังหวัดจันทบุรี
- ศิลปะร่วมแบบสมโบร์ไพรกุก ครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 12 ศิลปะมีความละม้ายคล้ายคลึงแบบสมโบร์ไพร กุกในประเทศกัมพูชามาก หลักฐานที่สำคัญคือ ทับหลังที่วัดสุปัฎนาราม จังหวัดอุบลราชธานี ทับหลังจาก ปราสาทเขาน้อย ประติมากรรมรูปพระอุมาจากจังหวัดสระแก้ว รูปพระวิษณุจากจังหวัดปราจีนบุรี
- ศิลปะร่วมแบบไพรกเมง ปลายพุทธศตวรรษที่ 12 ถึงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 13 ศาสนสถานที่สำคัญได้ แก่ ปราสาทภูมิโพน อำเภอสังขะจังหวัดสุรินทร์ ประติมากรรมที่สำคัญเช่น รูปพระคณปติจากปราสาทเขาพนม รุ้ง ภาพสลักบนใบเสมาบนภูพระอังคาร
- ศิลปะร่วมแบบกำพงพระ ครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 13 ถึงกลางพุทธศควรรษที่ 14 ไม่ปรากฏร่องรอยของ ศาสนสถานแต่พบประติมากรรมสำริดจากอำเภอประโคนชัย ประติมากรรมจาก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัด บุรีรัมย์ ประติมากรรมจากบ้านโตนด อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
- ศิลปะร่วมแบบกุเลน ครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 14 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 15 ไม่พบสถาปัตยกรรม มีเพียง ประติมากรรมเช่น รูปพระอรรถนารีศวร ซึ่งพบในจังหวัดอุบลราชธานี
- ศิลปะร่วมแบบพะโค ครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 15 ปรากฏรูปแบบจากทับหลังที่ปราสาทอิฐ จากปราสาท พนมวัน ประติมากรรมรูปสิงห์ทวารบาล จากอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
- ศิลปะร่วมแบบบาแค็ง กลางพุทธศตวรรษที่ 15 ปรากฏหลักฐานจากทับหลัง รูปครุฑวาหนะจากปราสาทอิฐ ของปราสาทพนมวัน จังหวัดนครราชสีมา ทับหลังรูปวิษณุอนันตศายิน จากปราสาทวัดศรีสวาย จังหวัดสุโขทัย
- ศิลปะร่วมแบบเกาะแกร์ ครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 15 ศาสนสถานที่สำคัญคือ ปราสาทอิฐที่ปราสาทเขาพนมรุ้ง ปราสาทเมืองแขก และปราสาทโนนกู่ จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทสังข์ศิลป์ชัย อำเภอสังขะ จังหวัด สุรินทร์ ประติมากรรมที่สำคัญ เช่น เทวรูปจากปราสาทอิฐปราสาทเขาพนมรุ้ง เทวรูปจากปราสาทเมืองแขก และปราสาทโนนกู่ จังหวัดนครราชสีมา
- ศิลปะร่วมแบบแปรรูป ปลายพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 16 ศาสนสถานที่สำคัญได้แก่ ปรางค์แขก กลางเมืองลพบุรี ประติมากรรมที่สำคัญ คือ รูปพระพรหม จากปราสาทเขาพนมรุ้ง อำเภอนางรอง จังหวัด บุรีรัมย์
- ศิลปะร่วมแบบบันทายศรี ครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 16 ศาสนสถานร่วมสมัยที่สำคัญ คือ ปราสาทบ้าน ไหมไทยเจริญ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ปรางค์พระโค อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ประติมากรรม สำคัญได้แก่เศียรรูปบุรุษพบที่ปราสาทเขาพนมรุ้ง
- ศิลปะร่วมแบบประตูพระราชวังหลวง ครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 16 ปรากฏหลักฐานทับหลังบางแผ่นของ ระเบียงคต และโคปุระของกำแพงปราสาทเมืองต่ำ โรงช้างเผือกที่ปราสาทเขาพนมรุ้ง อำเภอนางรองจังหวัด บุรีรัมย์ ส่วนประติมากรรมได้แก่ รูปพระวิษณุจากกู่น้อย อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
สมัยราชวงศ์มหิธรปุระ
ช่วงประมาณครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 17 ถึงครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 18
1.
ศิลปะร่วมแบบบาปวน ครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 17
เริ่มตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 สถาปนา ราชวงศ์มหิธรปุระ มีปราสาทที่สำคัญหลายแห่งเช่น ปราสาทบ้านพลวง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทเมืองต่ำ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะ เกษ ปราสาทพนมวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทตาเมียนธม อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทสดกก็อกธม อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว
2.
ศิลปะร่วมแบบนครวัด ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 17 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 18
โบราณสถานร่วมสมัย ศิลปะแบบนครวัดได้แก่ปรางค์องค์ใหญ่และปรางสองพี่น้อง เมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ปราสาทนารายณ์ เจงเวง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ปราสาทประธานของปราสาทพิมาย ปราสาทประธานของปราสาทเขา พนมรุ้ง ปราสาทบ้านระแงง อำเภอศรีขรภูมิ ปราสาทยายเหงา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ปราสสาทกู่สวน แตง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ปรางค์กู่จังหวัดศรีสะเกษ
3.
ศิลปะร่วมแบบบายน พุทธศตวรรษที่ 18
หลักฐานสถาปัตยกรรมร่วมสมัยปลายแห่ง เช่น ปราสาทวัดพระพายหลวง ปราสาทวัดศรีสวาย เมืองเก่าสุโขทัย ปรางค์สามยอดอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ปราสาท เมืองสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ปรางค์พรหมทัตและปรางค์หินแดง บริเวณปราสาทหินพิมาย บรรณาลัยของปราสาทเขาพนมรุ้ง นอกจากนั้นยังมีโบราณสถานที่เรีกยว่า“ธรรมศาลา” เช่น ปราสาทหนอง ปล่อง อำเภอนางรอง กุฏิฤษี อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทตาเมียน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ส่วนอโรคยาศาลาพบเป็นจำนวนมาก เช่น กู่แก้ว กู่วัดประภาชัย อำเภอเมือง ขอนแก่น กู่แก้ว กิ่งอำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี กู่สันตรัตน์ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ปรางค์กู่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ปราสาทกำแพงน้อย ปราสาทบ้านสมอ จังหวัดศรีสะเกษ ปราสาทตาเมียนโตจ ปราสาทเฉนียง ปราสาท บ้านช่างปี ปราสาทจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทโคกปราสาท ปราสาทน้อย จังหวัดบุรีรัมย์ กู่พราหมณ์จำ ศีล ปรางค์บ้านพลสงคราม และปรางค์ครบุรี จังหวัดนครราชสีมาเป็นต้น
สถานที่ตั้ง : ภาคอีสานของประเทศไทย
ถ่ายภาพเมื่อ :
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 16 พฤศจิกายน 2559
จำนวนผู้เข้าชม : 21645 ครั้ง
หมายเหตุ : ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต, ข้อมูลจาก : baanjomyut.com, art-in-sea.com, thapra.lib.su.ac.th, sac.or.th, th.wikipedia.org