สิม หอไตร ฮูปแต้ม



อโรคยาศาล อโรคยาศาล อโรคยาศาล อโรคยาศาล อโรคยาศาล อโรคยาศาล อโรคยาศาล อโรคยาศาล อโรคยาศาล อโรคยาศาล อโรคยาศาล อโรคยาศาล อโรคยาศาล อโรคยาศาล อโรคยาศาล อโรคยาศาล อโรคยาศาล อโรคยาศาล อโรคยาศาล อโรคยาศาล
  • อโรคยาศาล
  • อโรคยาศาล
  • อโรคยาศาล
  • อโรคยาศาล
  • อโรคยาศาล
  • อโรคยาศาล
  • อโรคยาศาล
  • อโรคยาศาล
  • อโรคยาศาล
  • อโรคยาศาล
  • อโรคยาศาล
  • อโรคยาศาล
  • อโรคยาศาล
  • อโรคยาศาล
  • อโรคยาศาล
  • อโรคยาศาล
  • อโรคยาศาล
  • อโรคยาศาล
  • อโรคยาศาล
  • อโรคยาศาล


*** ภาพจากอินเตอร์เน็ต ขออภัยเจ้าของภาพที่ไม่ได้แจ้งให้ทราบก่อนนำภาพมาใช้งานประกอบเนื้อหาเว็บไซต์

    พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรเขมรโบราณ ได้โปรดฯ ให้สร้าง "อโรคยศาลา" หรือสถานพยาบาลจำนวนมากขึ้นทั่วแคว้น ถือเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญของพระองค์ ในฐานะที่ทรงเปรียบพระองค์เป็น "พระโพธิสัตว์" ที่มุ่งบำบัดทุกข์ให้แก่ประชาชน จารึกที่พบในอโรคยศาลาต่างๆ มักกล่าวไว้ว่า พระองค์โปรดฯ ให้มีการประดิษฐาน "พระไภษัชยคุรุไวฑูรยะ" และพระสาวกอีก ๒ องค์คือ "พระศรีสูรยฯ" และ "พระศรีจันทรฯ" ไว้ในอโรคยศาลาด้วย
    โดยปกติพระไภษัชยคุรุ มักจะสร้างขึ้นเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ บนพระหัตถ์มีหม้อน้ำหรือหม้อยา แต่จากการขุดค้นในอโรคยศาลา มักไม่ค่อยพบพระพุทธรูปตามแบบดังกล่าว แต่กลับพบประติมากรรมที่เรียกกันทั่วไปว่า "พระวัชรธร " ซึ่งมักพบพร้อมกัน 3 องค์เป็นประจำเสมอ ทำให้ ดุสิต ทุมมากรณ์ นักโบราณคดีแห่งกรมศิลปากร เสนอว่าประติมากรรมทั้ง 3 องค์เหล่านี้ น่าจะหมายถึง พระไภษัชยคุรุ และพระสาวกอีก 2 องค์ ดังที่ระบุในจารึกนั่นเอง..


 Isan Upload


รวมภาพเก่าๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่



 ข่าวอัพเดท ยุคศิลปะเขมร แยกได้ดังนี้:
ปราสาทตาพรหม
ศิลปะแบบบายน อยู่ในราวพุทธศักราช 17200-1780

ปราสาทบึงมาลา
ศิลปะแบบนครวัด อยู่ในราวพุทธศักราช 1650-1720 เช่น ปราสาทบึงมาลา ปราสาทหินพิมายในประเทศไทย  พ.ศ.1651 ปราสาทบันทายสำเหร่ ปราสาทนครวัด ปราสาทพระขรรค์ (ส่วนกลาง ที่กำปงสวาย)

ปราสาทปาปวน
ศิลปะแบบปาปวน อยู่ในราวพุทธศักราช 1560-1630 เช่น ปราสาทปาปวน ปราสาทแม่บุญตะวันตก ฯลฯ

ปราสาทตาแก้ว
ศิลปะแบบคลัง อยู่ในราวพุทธศักราช 1550-1560 เช่น ปราสาทตาแก้ว ปราสาทคลัง ปราสาทพิมานอากาศ ฯลฯ ในระหว่างหัวเลี้ยวหัวต่อ หรือกลางพุทธศตวรรษที่ 16 เช่น ปราสาทเขาพระวิหาร เป็นต้น

ปราสาทบันทายศรี
ศิลปะแบบบันทายศรี อยู่ในราวพุทธศักราช 1510-1550 เช่น ปราสาทบันทายศรี ปราสาทเสลา

ปราสาทแปรรูป
ศิลปะแบบแปรรูป  อยู่ในราวพุทธศักราช 1490-1510 เช่น ปราสาทแม่บุญตะวันออก ปราสาทแปรรูป (พ.ศ. 1504) ฯลฯ

ปราสาทเกาะแกร์
ศิลปะแบบเกาะแกร์ อยู่ในราวพุทธศักราช 1465-1490 เช่น ปราสาทเกาะแกร์ ปราสาทปักษีจำกรง

ปราสาทพนมบาเคง
ศิลปะแบบบาเคง อยู่ในราวพุทธศักราช 1440-1470 เช่น ปราสาทพนมบาเคง ปราสาทพนมกรม ปราสาทพนมบก ปราสาทพนมกระวัน ฯลฯ

ปราสาทพะโค
ศิลปะแบบพะโค อยู่ในราวพุทธศักราช 1420-1440 เช่น ปราสาทพะโค ปราสาทบากอง (บาคง พ.ศ. 1424) ปราสาทโลเลย (ร่อลวย พ.ศ. 1436)

ปราสาทพนมกุเลน
ศิลปะแบบกุเลน อยู่ในราวพุทธศักราช 1370-1420  เช่น ปราสาทไพร (หลังเหนือ) ปราสาทสมโบว์ (หมู่กลาง หลังที่ 1) และปราสาทที่เขาพนมกุเลน ในยุคหัวเลี้ยวหัวต่อ ในราวพุทธศตวรรษที่ 15 
ตอนต้น เช่น ปราสาทตะพังพง (หลังกลาง)

ปราสาทพนมบาเต็ง
ศิลปะแบบกำพงพระ อยู่ในราวพุทธศักราช 1250-1350 เช่น ปราสาทตระพังพง ปราสาทพนมบัดสเตรย์ (บาเต็ง)  ปราสาทภูมิปราสาท

ปราสาทกำพงพระ
ศิลปะแบบไพรกเมง อยู่ในราวพุทธศักราช 1180-1250 เช่น ปราสาทไพรกเมง ปราสาทกำพงพระ หรือทับหลังศิลปะไพรกเมง ที่วัดสระแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลฯ

ปราสาทนครธม
ศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุก  อยู่ในราวพุทธศักราช 1150-1200 เช่น ปราสาทโบร์ไพรกุก ปราสาทนครธม ปราสาทตะบองแด๊ก

ทั้งหมด 13 ยุค

+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร

อโรคยาศาล ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
   อโรคยาศาล แปลว่า สถานที่หรือศาลาที่ปลอดจากโรค หรือเป็นเหมือนสุขศาลาในอดีต ความหมายก็คือ โรงพยาบาลที่รักษาโรคภัยไข้เจ็บของผู้คนในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งราชวงศ์มหิธรปุระ ซึ่งปรากฏอยู่ทั่วพระราชอาณาจักรของพระองค์ โดยเริ่มสร้างอโรคยาศาลขึ้นทั่วพระราชอาณาจักร 102 แห่ง ทุกๆ วิษัยหรือทุกๆ เมือง ให้มีระยะห่างกันชั่วเดินทางถึงได้ภายใน 1 วัน หรือ 12-15 กิโลเมตร     พระองค์ได้สร้างโรงพยาบาล และรูปพระโพธิสัตว์ไภษัชยสุคต พร้อมด้วยวิหารของพระคุรุ..(คือ ปราสาทขอมที่เราเรียกว่า อโรคยาศาล ซึ่งปรากฏในปัจจุบัน และเชื่อว่าเป็นศาสนสถาน ประจำโรงพยาบาลนั่นเอง)

ลักษณะทั่วไป
   ลักษณะเด่น เป็นโครงสร้างที่สร้างด้วยศิลาแลงเป็นหลัก แม้จะมีขนาดของอโรคยาศาลที่แตกต่างกัน แต่มีแผนผังและองค์ประกอปทางสถาปัตยกรรมที่เหมือนกัน คือ
1.ปรางค์ประธาน หรือ ปราสาทประธาน ทุกๆ อโรคยาศาล แม้จะมีขนาดพื้นที่ไม่เท่ากัน แต่ก็จะมีแผนผังรูปสี่เหลี่ยม มีปรางค์รูปทรงพุ่ม มีมุขยื่นออกไปด้านนอกเล็กน้อย ซึ่งมักจะหันหน้าออกไปทางด้านทิศตะวันออกเสมอ การเจาะช่องหน้าต่างของปรางค์จะเจาะหรือไม่เจาะก็ได้ เช่น ปราสาทตาเหมือนโต้ดที่จังหวัดสุรินทร์ มีการเจาะช่องหน้าต่าง แต่ปราสาทนางรำ จังหวัดนครราชสีมาไม่มีการเจาะช่องหน้าต่าง เป็นต้น และอโรคยาศาลบางแห่งอาจจะมีการทำช่องประตูหลอกเอาไว้ทางด้านอื่นๆ ด้วยก็ได้
   องค์ปรางค์ประธานหรือบางครั้งอาจจะเรียกว่า สุคตาลัย ทุกๆ อโรคยาศาลจะสร้างด้วยศิลาแลงมีกรอบประตูทำด้วยศิลาทราย เหนือกรอบประตูจะมีทับหลังศิลาทรายสลักเป็นลวดลายหรือภาพต่างๆ รวมไปถึงหน้าบันด้วย ในบางแห่งปรางค์ประธานจะตั้งอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางของบริเวณกำแพงแก้วรูปสี่เหลี่ยมที่ล้อมปรางค์เอาไว้

2.กำแพงแก้ว คือ กำแพงศิลาแลง ที่สร้างขึ้นรอบศาสนสถานของอโรคยาศาลเอาไว้ โดยมีช่องปรตูทางเข้าสู่ภายในอยู่ทางด้านทิศตะวันออก โดยสร้างประตูที่มีซุ้มประตูซึ่งเรียกว่าซุ้มโคปุระ เอาไว้ก็มีและอาจมีประตูทางเข้าหลายด้านก็ได้ การเจาะประตูทางเดินเข้าสู่ปราสาทประธาน อาจจะสร้างขึ้นใหญ่โต และอาจเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพด้วยก็ได้ แล้วแต่ขนาดของบริเวณอโรคยาศาล

3.ซุ้มโคปุระ เป็นชื่อเฉพาะที่ใช้เรียกซุ้มประตุกำแพงทางเข้า-ออก ของศาสนสถานในอโรคยาศาล ส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นซุ้มเดียวทางด้านทิศตะวันออก โดยทั่วไปจะมีการสร้างขึ้นเป็นปีกออกไปทั้งสองข้างตามแนวกำแพง
    ซุ้มประตูโคปุระ มักมีการเจาะเป็นช่องหน้าระหว่างปีกของโคปุระ ประดับลูกกรงลูกมะหวดเอาไว้ บางแห่งอาจทำเป็นหน้าต่างหลอกก็มี ส่วนใหญ่ซุ้มประตูโคปุระ จะสร้างขึ้นระหว่างกึ่งกลางกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกของอโรคยาศาล บางแห่งก็สลักเป็นภาพบนทับหลังซุ้มประตู เช่น ภาพพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ฯลฯ หลังคาซุ้มประตูโคปุระจะมุงด้วยศิลารูปโค้ง สันหลังคาด้านนอกประดับด้วยบราลี (เป็นศิลาที่สลักเป็นรูปทรงลักษณะคล้ายดอกบัวตูม เพื่อประดับบนสันหลังคาเป็นระยะๆ ไป)

4.บรรณาลัย คือ อาคารที่สร้างด้วยศิลาแลง โดยทั่วไปจะตั้งอยู่ทางมุมด้านหน้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ภายในกำแพงแก้วบริเวณใกล้กับโคปุระ (ด้านหน้าของปรางค์ประธาน) เรียกว่า บรรณาลัย ดดยหันไปทางทิศตะวันตก (คือหน้าประตูทางเข้าไปสู่ตัวประสาทประธาน)เป็นที่เก็บพระคัมภีร์ทางศาสนา หรือใช้เป็นที่เก็บสิ่งของที่สำคัญในการประกอบพิธีกรรม ส่วนใหญ่แล้วอาคารบรรณาลัย จะก่อสร้างด้วยศิลาแลงทึบมีประตูเข้าออกทางเดียว บางแห่งอาจจะประดิษฐานรูปเคาระเอาไว้ภายในด้วยก็ได้

5.สระน้ำ (บารายขนาดเล็ก) ในบริเวณโรงพยาบาลหรืออโรคยาศาลขอม จะมีการขุดสระน้ำเอาไว้นอกกำแพงแก้ว บริเวณทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (ถ้าเป็นสระน้ำขนาดใหญ่จะเรียกว่า บาราย ถ้าเป็นขนาดเล็กก็จะนิยมเรียกว่า สระน้ำธรรมดา)     สระน้ำประจำศาสนสถานขอม สร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมขุดลึกลงไป แล้วกรุขอบสระด้วยศิลาแลงทั้งสี่ด้สน สำหรับเก็บน้ำไว้ใช้ในการประกอบพิธีกรรมและกิจกรรมอื่นๆ ในอโรคยาศาลแต่ละแห่ง

    สำหรับอโรคยาศาลในดินแดนทางภาคอีสานของไทย พบว่าเป็นอาคารขนาดเล็ก ตามความจำเป็นของชุมชนแต่ละแห่งในขณะนั้น และมีกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะตอนล่างของภาคอีสาน ซึ่งส่วนใหญ่จะพบหลักฐานทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมแบบบายน สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
    วิวัฒนาการรูปแบบอโรคยาศาล หรือสุคตาลัย ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่มีอยู่ทั่วไปในภาคอีสานของไทย มักจะเริ่มมาจากศาสนสถานขนาดใหญ่ในเมืองพระนครหลวง เช่น ปราสาทบายน ปราสาทตาพรหม ปราสาทพระขรรค์ และปราสาทบันทายกุฏี หรือที่ไกลออกไปจากเมืองพระนคร เช่น ปราสาทบันทายชมาร์ (ใกล้ชายแดนไทย) ทำให้ศิลปกรรมเขมรแบบบายน มีวิวัฒนาการทางรูปแบบศิลปะแพร่หลายไปได้อย่างรวดเร็วกว่าศิลปะเขมรแบบอื่นๆ

    จากข้อความในจารึกที่กล่าวถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสถาปนาอโรคยาศาลในทุกๆ วิษัย จำนวน 102 แห่งนั้น แต่ละแห่งยังได้สถาปนารูปเคารพประจำอโรคยาศาจำนวน 798 องค์ด้วย รูปเคารพที่กล่าวถึง คือ พระไภษัชยสุคต พระโพธิสัตว์ (สูรย)ไวโรจน จันทโรจิ และพระโพธิสัตว์ (จันทร) ไวโรจน โรหิณีศะ

ภาคอีสานของประเทศไทย
   ในปัจจุบัน เราพบปราสาทขอมที่มีแผนผังคล้ายกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นอโรคยาศาล หรือศาสนสถานประจำโรงพยาบาล ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 บนดินแดนทางภาคอีสานของไทย แล้ว 30 แห่ง ในเขตจังหวัดศรีษะเกษ 2 แห่ง, สุรินทร์ 5 แห่ง, บุรีรัมย์ 4 แห่ง, นครราชสีมา 8 แห่ง, ชัยภูมิ 2 แห่ง, ขอนแก่น 2 แห่ง, อุดรธานี 1 แห่ง, สกลนคร 1 แห่ง, ร้อยเอ็ด 3 แห่ง, มหาสารคาม 2 แห่ง

นักโบราณคดี ได้จำแนกศิลปะเขมรออกเป็นยุค ดังต่อไปนี้
1.ศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุก อยู่ในราวพุทธศักราช 1150-1200 เช่น ปราสาทโบร์ไพรกุก ปราสาทนครธม ปราสาทตะบองแด๊ก
2.ศิลปะแบบไพรกเมง อยู่ในราวพุทธศักราช 1180-1250 เช่น ปราสาทไพรกเมง ปราสาทกำพงพระ หรือทับหลังศิลปะไพรกเมง ที่วัดสระแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลฯ
3.ศิลปะแบบกำพงพระ อยู่ในราวพุทธศักราช 1250-1350 เช่น ปราสาทตระพังพง ปราสาทพนมบัดสเตรย์ ปราสาทถูมิปราสาท
4.ศิลปะแบบกุเลน อยู่ในราวพุทธศักราช 1370-1420 เช่น ปราสาทไพร (หลังเหนือ) ปราสาทสมโบว์ (หมู่กลาง หลังที่ 1) และปราสาทที่เขาพนมกุเลน ในยุคหัวเลี้ยวหัวต่อ ในราวพุทธศตวรรษที่ 15 ตอนต้น เช่น ปราสาทตะพังพง (หลังกลาง)
5.ศิลปะแบบพะโค อยู่ในราวพุทธศักราช 1420-1440 เช่น ปราสาทพะโค ปราสาทบากอง (บาคง พ.ศ. 1424) ปราสาทโลเลย (ร่อลวย พ.ศ. 1436)
6.ศิลปะแบบบาเคง อยู่ในราวพุทธศักราช 1440-1470 เช่น ปราสาทพนมบาเคง ปราสาทพนมกรม ปราสาทพนมบก ปราสาทพนมกระวัน ฯลฯ
7.ศิลปะแบบเกาะแกร์ อยู่ในราวพุทธศักราช 1465-1490 เช่น ปราสาทเกาะแกร์ ปราสาทปักษีจำกรง
8.ศิลปะแบบแปรรูป อยู่ในราวพุทธศักราช 1490-1510 เช่น ปราสาทแม่บุญตะวันออก ปราสาทแปรรูป (พ.ศ. 1504) ฯลฯ
9.ศิลปะแบบบันทายศรี อยู่ในราวพุทธศักราช 1510-1550 เช่น ปราสาทบันทายศรี ปราสาทเสลา
10.ศิลปะแบบคลัง อยู่ในราวพุทธศักราช 1550-1560 เช่น ปราสาทตาแก้ว ปราสาทคลัง ปราสาทพิมานอากาศ ฯลฯ ในระหว่างหัวเลี้ยวหัวต่อ หรือกลางพุทธศตวรรษที่ 16 เช่น ปราสาทเขาพระวิหาร เป็นต้น
11.ศิลปะแบบปาปวน อยู่ในราวพุทธศักราช 1560-1630 เช่น ปราสาทปาปวน ปราสาทแม่บุญตะวันตก ฯลฯ
12.ศิลปะแบบนครวัด อยู่ในราวพุทธศักราช 1650-1720 เช่น ปราสาทบึงมาลา ปราสาทหินพิมายในประเทศไทย พ.ศ.1651 ปราสาทบันทายสำเหร่ ปราสาทนครวัด ปราสาทพระขรรค์ (ส่วนกลาง ที่กำปงสวาย)
13.ศิลปะแบบบายน อยู่ในราวพุทธศักราช 17200-1780
สมัยที่ 1 เช่น ปราสาทตาพรหม ปราสาทบันทายกุฏี ปราสาทพระขรรค์
สมัยที่ 2 อโรคยาศาลหรือบ้านคนมีไฟ หรือธรรมศาลา และส่วนประตูยอดหน้าบุคคลที่เมืองพระนครหลวง และเริ่มสร้างปราสาทบันทายชมาร์
สมัยที่3 สร้างปาสาทบายน และส่วนใหญ่ของปราสาทบันทายชมาร์
สมัยที่ 4 สร้างภาพสลักนูนต่ำรุ่นหลังฐานพลับพลาหน้าพระราชวังหลวง เป็นต้น



สถานที่ตั้ง : ภาคอีสานของประเทศไทย
ถ่ายภาพเมื่อ :
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 19 กรกฎาคม 2558
จำนวนผู้เข้าชม : 5306 ครั้ง
หมายเหตุ : ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต, ข้อมูลจากหนังสือความลับในปราสาทขอม เขียนโดย ทรงสมัย สุทธิธรรม




ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphoe Muang, Kalasin Province 46000 Thailand
www.artnana.com

44.220.181.180 =    Sunday 15th September 2024
 IP : 44.220.181.180   คนที่กำลังอ่าน   Bookmark and Share   
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย