ฮุปแต้มอีสาน, สิมอีสาน (Isan Mural Painting and Isan Temple Architectures)
 สิม หอไตร ฮูปแต้ม

(วางเมาส์บนรูปภาพ เพื่อดูส่วนขยายภาพ)

+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร      

วัดธาตุสวนตาล ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
      วัดธาตุสวนตาล ประวัติวัดธาตุสวนตาล ตามที่มีการบันทึกไว้ เป็นวัดในสังกัดคณะสงฆมหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 16 ไร อาคารเสนาสนะ ประกอบดวย อุโบสถกวาง 9.30 เมตร ยาว 21.30 เมตร สรางเมื่อ พ.ศ.2518 ศาลาการเปรียญ กวาง 13.50 เมตร ยาว 30 เมตร เปนอาคารไม เพดานมีภาพจิตรกรรมที่สวยงาม และกุฏิสงฆ จํานวน 3 หลัง เปนอาคารไม 1 หลังและครึ่งตึกครึ่งไม 2 หลัง
      วัดธาตุสวนตาล ตั้งเมื่อ พ.ศ.2207 ไดรับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2518 เขตวิสุงคามสีมา กวาง 34.50 เมตร ยาว 59.60 เมตร การบริหารและการปกครอง มีเจาอาวาส คือ รูปที่ 1 พระใบฎีกาขุนราม ญาณธโร รูปที่ 2 พระครูเกษมบุญญาภิราม

      พระธาตุสวนตาล
      พระธาตุสวนตาล เป็นสถูปหรือเจดีย์ประธานของวัดองค์เดิม ก่อด้วยอิฐ ฉาบด้วยพระทาย พระทายก็คือ การนำหินมาบดหรือตำให้ละเอียดผสมกับน้ำอ้อย ยางบง หนังควายแห้งเผาไฟ ผสมกันในหลุมดินแล้วตำให้ละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน จะมีคุณภาพหรือความเหนียวคล้ายกับปูนซีเมนต์
      พระธาตุสวนตาล มีรูปทรงคล้ายกับพระธาตุพนม ฐานกว้าง 9 เมตร สูง 18 เมตร สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 22-23 ประมาณปี พ.ศ. 2250 - 2300 พระธาตุองค์เดิม พังทลายลงเมื่อวันที่ 23 กรกฏาคม 2518 ตรงกับวันอาสาฬหบูชา เวลา 19.30 น. พังทลายก่อนพระธาตุพนม เพียง 18 วัน ต่อมามีการสร้างพระธาตุองค์ใหม่ ครอบองค์เดิม
      ประวัติก่อสร้างพอสังเขป เดิมมีเจ้าเมืองเขมรตอนใต้ รวบรมทรัพย์สินเงินทอง และไพร่พลออกเดินทาง เพื่อไปสร้างพระธาตุพนม ที่จังหวัดนครพนม เมื่อเดินทางมาได้ระยะหนึ่งแล้ว จึงทราบว่าพระธาตุพนมสร้างเสร็จแล้ว ด้วยจิตศรัทธาของเจ้าเมืองเขมร จึงสร้างพระธาตุขึ้นโดยจำลองรูปแบบพระธาตุพนม และได้ตั้งชื่อว่า พระธาตุสวนตาล ตามภูมิประเทศที่มีต้นตาลจำนวนมากในบริเวณที่สร้าง และได้นำทรัพย์สินเงินทองที่เหลือ ไปฝังยังบริเวณเนินแห่งหนึ่ง ปัจจุบัน คือ วัดทุ่งศรีวิไล ตามตำนานที่กล่าวไว้ว่า " ทุ่งสามขา เนินนกเขียน เงินสามเกวียน อยู่ใต้ต้นมะพลับ "

      พระธรรมเทโว จารึกฐานพระพุทธรูปวัดพระธาตุดอนตาล
      พระธรรมเทโว เป็นพระพุทธรูปหล่อสำริดขนาดหน้าตักกว้าง 42 ซ.ม. สูง 76 ซ.ม. ประทับนั่งขัดสมาธิ ราบ แสดงปางมารวิชัย ศิลปแบบลาวจารึกเป็นภาษาพื้นเมืองที่ส่วนฐานรวม 3 บรรทัด ซึ่งหลวงปู่ขุนราม ญาณธโร อดีตเจ้าอาวาสวัดธาตุสวนตาล ได้อ่านคำจารึกที่มีอยู่ใต้ฐานพระพุทธรูป ซึ่งได้ความว่า “สังกาศราชาได้ 144 ตัวปีเต้ายี่ เดือนยี่ แรม 2 ค่ำ วันอาทิตย์ พระมหาธรรมเทโวเจ้ามีใจใสศรัทธาสร้างพระพุทธรูปองค์นี้มีทองสองหมื่น เจ้าขนานคำมะลุนเป็นผู้รจนา” จากตัวเลขศักราชดังกล่าวถ้าจะตีความตามแบบที่คุณวัชรินทร์ พุ่มพงษ์แพทย์ ซึ่งได้ตีความในจารึกแผ่นลานทองแดงเกี่ยวกับปีที่บูรณะซ่อมแซมพระธาตุพนมแล้ว พระธรรมเทโวก็ต้องสร้างในวันอาทิตย์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีขาล พ.ศ.2325 (หรือราว 224 ปี) ซึ่งเป็นช่วงก่อนตั้งกรุงเทพมหานครเพียงไม่กี่เดือน
      จากการตีความในคำจารึกใต้ฐานพระธรรมเทโวดังกล่าวนั้นทำให้มีผู้ที่สนใจที่จะศึกษาค้นคว้าคำแปลจารึกดังกล่าวว่าใครเป็นผู้สร้าง และมาอยู่ที่นี่ได้อย่างไร จากการศึกษาได้ทราบว่า ใต้ฐานพระพุทธรูปที่มีข้อความว่า “พระมหาเทโวเจ้า” กับตำนานเมืองนครจำปาศักดิ์ที่ว่า “ตั้งให้เจ้าธรรมเทโวผู้น้องเป็นเจ้าอุปราช” ทำให้เชื่อว่า คำจารึกที่ปรากฏทั้งที่ใต้ฐานพระธรรมเทโวและชื่อที่ปรากฏอยู่ในตำนานของเมืองนครจำปาศักดิ์นั้นน่าจะเป็นบุคคลเดียวกัน คือเป็นชื่อของอุปราชธรรมเทโว ซึ่งเป็นอุปราชเมืองนครจำปาศักดิ์ ซึ่งมีพระเจ้าไชยกุมารเป็นเจ้าเมือง
      ตามตำนานพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน ได้บอกไว้ว่า เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร มีโอรส 4 องค์ ก็คือ เจ้าไชยกุมาร เจ้าธรรมเทโว เจ้าสุริโย และเจ้าโพธิสาร ดังนั้น “พระธรรมเทโวเจ้า” ที่ปรากฏอยู่ในคำจารึกที่ฐานพระธรรมเทโว คงเป็นอุปราชธรรมเทโวแน่นอน จากที่กล่าวมาแล้วนี้ก็พอที่จะเชื่อได้ว่า พระธรรมเทโว ที่วัดธาตุสวนตาลนี้ สร้างขึ้นโดยอุปราชธรรมเทโว เมืองนครจำปาศักดิ์ เมื่อวันวันอาทิตย์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีขาล พ.ศ.2325 (หรือราว 224 ปี) ส่วนที่ว่าได้มาประดิษฐานที่บ้านชีทวนเมื่อใดนั้น ก็น่าจะราว ปี 2352 อันเป็นปีที่ที่ชาวบ้านชีทวนได้เดินทางไปหาวัสดุในการใช้ซ่อมแซมพระธาตุสวนตาล และได้มีการพระธาตุที่นครจำปาศักดิ์จริงตามคำบอกเล่าและได้พระธรรมเทโวมาเป็นรางวัล และประดิษฐานอยู่ที่วัดธาตุสวนตาลจนปัจจุบัน
      ซึ่งพระธรรมเทโว หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า พระเทโว ซึ่งเป็นพระคู่บ้าน คู่เมืององค์หนึ่ง ซึ่งเมื่อปีใดที่ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาลชาวบ้านก็จะนิมนต์ลงไปแห่รอบๆ หมู่บ้าน เพื่อให้ฝนตกตามฤดูกาล และเพื่อให้บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์ จนเกิดปะเพณีแห่พระธรรมเทโว ขึ้นทุกปี

จารึกฐานพระพุทธรูป วัดพระธาตุสวนตาล 1 และ 2 อักษรธรรมอีสาน ภาษาไทย พุทธศักราช 2325
1. " สังกาศราชาได้ 144 ตัวปีเต้ายี่ เดือนยี่ แรม 2 ค่ำ วันอาทิตย์ พระมหาธรรมเทโวเจ้ามีใจใสศรัทธาสร้างพระพุทธรูปองค์นี้มีทองสองหมื่น เจ้าขนานคำมะลุนเป็นผู้รจนา "
2. " หัวครูศรีสุมนต์ พร้อมด้วยญาติโยม ได้พร้อมใจกันสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ "

      พระเจ้าใหญ่ชีทวน ศาลาการเปรียญ
      ศาลาการเปรียญ กวาง 13.50 เมตร ยาว 30 เมตร เปนอาคารไม เพดานมีภาพลายก้านขดประกอบ เทพนม เทพธิดา วานร หัวล้านชนกัน เขียนสีสวยงาม และเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าใหญ่ชีทวน พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ ศิลปะแบบท้องถิ่น พระเจ้าใหญ่ชีทวนพระพุทธรูปเก่าแก่ เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านชีทวน พร้อมทั้งสัตตภัณฑ์เชิงเทียน

      สัตตภัณฑ์เชิงเทียน
      สัตตภัณฑ์เชิงเทียน เป็นไม้แกะสลักลงรักปิดทอง บางตอนประดับด้วยกระจกสี ช่วงบนมีรางเหล็กสำหรับปักเทียน เป็นงานไม้แกะสลักฝีมือช่างชาวบ้าน เป็นสัตตภัณฑ์เชิงเทียนงานไม้ที่สวยงามมากชิ้นหนึ่ง อายุราวศตวรรษที่ 24
      สัตตภัณฑ์เชิงเทียน คือ เครื่องตั้งเทียน เพื่อใช้สำหรับปักเทียนให้เกิดแสงสว่าง หรือใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของชาวบ้านชีทวนในสมัยก่อน

      เรือโบราณ
      เรือโบราณ เป็นเรือขุดขนาดใหญ่ทำจากไม้ตะเคียนหินต้นเดียวยาว 24 เมตร กว้าง 2.70 เมตร พบที่ลำน้ำชีเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2537
      จากสมมุติฐานคาดว่า เรือดังกล่าวจมลงบริเวณท่าน้ำ โดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งเรือลำนี้เป็นเรือขนส่งสินค้าของผู้คนในอดีต คาดว่าสามารถบรรทึกสินค้า ได้ถึง 3 ตัน หรือ 3,000 กิโลต่อเที่ยว และใช้ไม้ไผ่ขนาดใหญ่ในการค้ำถ่อ และเกี่ยวให้เรือเคลื่อนที่ไปได้
      จากประวัติศาสตร์พบว่า มีเรือขนาดใหญ่จำนวนมากเดินทางมาแลกเปลี่ยนสินค้า บริเวณตำบลชีทวน โดยบริเวณวัดธาตุสวนตาล ในปัจจุบันปรากฏหลักฐานว่าเคยเป็น " ท่าแขก " หรือ " วัดท่าแขก " ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับแลกเปลี่ยนสินค้า และเป็นที่พักค้างแรมของเหล่าพ่อค้า ที่เดินทางมาแลกเปลี่ยนสินค้าบริเวณนี้


      การเดินทาง ออกเดินทางจาก จ.อุบล ตามถนนแจ้งสนิท (อุบล-ยโส) พอถึงหลักกิโลเมตรที่ 23 (บ้านท่าวารี) ให้เลี้ยวซ้าย เข้ามาบ้านชีทวน อีก 4.5 ก.ม. พอถึงแยกทางเข้าบ้านชีทวน ให้เลี้ยวขวาอีก 150 เมตร จะเจอทางแยกเข้าวัดให้เลี้ยวซ้าย อีก 500 เมตร ก็ถึงวัดธาตุสวนตาล

      

ถ่ายภาพเมื่อ : 1 ธันวาคม 2560
วัดธาตุสวนตาล ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
วัดธาตุสวนตาล ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
วัดธาตุสวนตาล ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
วัดธาตุสวนตาล ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
วัดธาตุสวนตาล ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
วัดธาตุสวนตาล ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
วัดธาตุสวนตาล ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
วัดธาตุสวนตาล ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
วัดธาตุสวนตาล ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
วัดธาตุสวนตาล ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
วัดธาตุสวนตาล ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
วัดธาตุสวนตาล ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
วัดธาตุสวนตาล ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
วัดธาตุสวนตาล ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
วัดธาตุสวนตาล ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
วัดธาตุสวนตาล ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
วัดธาตุสวนตาล ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
วัดธาตุสวนตาล ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
วัดธาตุสวนตาล ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
วัดธาตุสวนตาล ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
วัดธาตุสวนตาล ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
วัดธาตุสวนตาล ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
วัดธาตุสวนตาล ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
วัดธาตุสวนตาล ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี


 Isan Upload
ภาพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



สถานที่ตั้ง : วัดธาตุสวนตาล บ้านชีทวน ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
พิกัด : 15.286400, 104.663523000
ถ่ายภาพเมื่อ : 1 ธันวาคม 2560
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 2 ธันวาคม 2560
จำนวนผู้เข้าชม : 367 ครั้ง
แหล่งที่มาข้อมูล : guideubon.com, sac.or.th, lib2.ubu.ac.th
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง


02-12-2017 Views : 368
      ร่วมกันสนับสนุนเว็บไซต์นี้ ทำได้ง่ายๆ ด้วยการคลิกลิงค์ด้านล่าง... ขอบคุณครับ


ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphoe Muang, Kalasin Province 46000 Thailand
www.artnana.com

44.220.251.236 =    Friday 04th October 2024
 IP : 44.220.251.236   คนที่กำลังอ่าน   Bookmark and Share   
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย