ฮุปแต้มอีสาน, สิมอีสาน (Isan Mural Painting and Isan Temple Architectures)
 สิม หอไตร ฮูปแต้ม

(วางเมาส์บนรูปภาพ เพื่อดูส่วนขยายภาพ)

+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร      

วัดหลวง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
     วัดหลวง ตั้งอยู่ที่ถนนพรหมเทพ ริมฝั่งแม่น้ำมูล ระหว่างท่ากวางตุ้นกับท่าจวน (ตลาดใหญ่) มีเนื้อที่ ประมาณ 8 ไร่ 4 ตารางวา ปี กุน พ.ศ.2324 เมื่อเจ้าพระปทุมวรราชสุริยะวงศ์ (ท้าวคำผง) ได้อพยพมาจากดอนมดแดง มาตั้งบ้านเมืองใหม่ที่ดงอู่ผึ้ง และได้ตั้งเมืองอุบลราชธานีขึ้น และเห็นว่า ที่แห่งนี้เหมาะที่จะสร้างบ้านเมือง วัดวาอาราม เพื่อเป็นศรีสง่าแก่บ้านเมือง เป็นที่อยู่อาศัย สืบทอดพระพุทธศาสนา จึงให้พระสงฆ์ที่อพยพมาด้วย ลงมือก่อสร้าง โดยให้ช่างที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ พร้อมด้วยท่านอุปฮาดราชบุตรราชวงศ์ ท่านท้าวเพี้ย กรรมการน้อยใหญ่ ร่วมสร้างด้วยความสามัคคี วัดจึงสำเร็จสวยงามสมเจตนารมณ์ สร้างโบสถ์ องค์พระประธาน กุฎิวิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร หอกลาง หอโปง หอระฆัง พร้อมบริบูรณ์ทุกอย่าง เป็นสังฆาวาสที่สวยงามมาก เมื่อสร้างเสร็จได้ตั้งนามว่า พระเจ้าใหญ่วัดหลวง นามนี้เรียกว่า "วัดหลวง" ซึ่งถือว่าเป็นวัดแรกของเมืองอุบลราชธานี และถือได้ว่าเป็นวัดประจำเจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรก นั้นก็คือ ท้าวคำผง นั้นเอง

      เนื่องจากเป็นวัดแรกของเมืองอุบลราชธานี ที่ตั้งขึ้นหลังตั้งเมือง ดังนั้น จึงมีโบสถ์ที่สวยงาม แต่แน่เสียดาย ที่โบสถ์หลังดังกล่าวได้รื้อไปแล้ว และได้สร้างโบสถ์หลังใหม่แบบเมืองหลวงขึ้นแทน จากหลักฐานภาพถ่ายเก่าๆ ที่ยังพอหลงเหลืออยู่ พอจะได้เห็นถึงลักษณะรูปแบบของสิมวัดหลวงได้บ้าง
      พระอุโบสถเก่า ลักษณะของสิมวัดหลวง มีแปลนรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าสิมวัดต่างๆ ในเมืองอุบลราชธานี แต่รูปคล้ายๆ กัน คือ ฐานเอวขันธ์แบบปากพาน มีบันไดขึ้นมาทำเป็นเฉลียง ตัวอาคารและฐานถือปูน เสาด้านหน้าสิม 4 ต้น เป็นเสาเหลี่ยมลบมุม หัวเสาทำเป็นรูปบัวจลกล ทวยไม้แกะสลักแบบหูช้างหน้าบันกรุไม้ลูกฟักหน้าพรหม สาหร่าย รวงผึ้งแบบพื้นบ้านอีสาน(อิทธิพลล้านช้าง) หลังคาชั้นเดียวทรงจั่ว ไม่มีชั้นลด มีปีกนก(พะไร) ทางด้านข้างใช้เป็นแป้นมุงไม้หน้าจั่ว ตกแต่งด้วยช่อฟ้าใบระกาและหางหงส์ ไม่มีนาคสะดุ้ง (รายระกามอญ)
      ลักษณะของสิมวัดหลวง มีคนเก่าแก่ของเมืองอุบลราชธานี กล่าวว่า สวยงามมากคล้ายกับวัดเชียงทอง ของเมืองหลวงพระบางของล้านช้าง หากสิมวัดหลวงหลังนี้ไม่ถูกรื้อไป ก็คงจะมีโบราณสถาน ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของเมืองอุบลราชธานี ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมและภาคภูมิเป็นอย่างยิ่ง
      พระเจ้าใหญ่องค์หลวง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 3 เมตร โดยพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) เจ้าครอบครองเมืองอุบลราช-ธานีองค์แรก ได้ให้ช่างชาวเวียงจันทน์ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2324 เพื่อเป็นพระประธานประจำตัววัดหลวงประดิษฐานอยู่ในวิหารพระเจ้าใหญ่องค์หลวง (ศาลาการเปรียญ) เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นที่พึ่งทางใจของชาวเมืองอุบลราชธานีและเป็นพระพุทธรูปองค์แรกของเมืองอุบลราชธานี นานกว่า 223 ปีมาแล้ว
      เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ คณะสงฆ์พร้อมด้วยข้าราชการ พ่อค้าประชาชน อุบาสก อุบาสิกา ได้ร่วมประกอบพิธีถวายเครื่องสักการะ สรงน้ำสมโภชพระเจ้าใหญ่องค์หลวง ก่อเจดีย์ทราย อุทิศส่วนกุศลแด่บูรพาจารย์ และบรรพบุรุษซึ่งมีพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ เป็นผู้นำสร้างวัดหลวง พร้อมกับสรงน้ำทรงสงฆ์ รดน้ำขอพรจากผู้สูงอายุเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาวไทยสืบไป ตลอดจนเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ


สิ่งที่น่าสนใจ
1. พระเจ้าใหญ่องค์หลวง
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 3 เมตร ฝีมือช่างเวียงจันทน์
2. หลวงพ่อปากดำ
พระพุทธรูปโบราณ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปในยุคเจ้าคำผง เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรก ประดิษฐาน ณ อุโบสถ วัดหลวง วัดแรกของจังหวัดอุบลราชธานี
3. อนุสาวรีย์ เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง)
เจ้าประเทศราชครองเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราชคนแรก และอัฐิท่านประดิษฐาน ณ วัดหลวงเมืองอุบลราชธานีนี้ด้วย


ในจารึกพระเจ้าอินแปง
      ในจารึกศิลาพระเจ้าอินแปง รูปทรงใบเสมา ด้านที่ 1 อักษรธรรมลาวหรืออักษรธัมม์อีสาน พุทธศักราช 2350 ภาษาลาว มี 24 บรรทัด ขนาดจารึกกว้าง 60 เซนติเมตร สูง 59 เซนติเมตร หนา 19 เซนติเมตร ได้ปรากฏพระนามของพระองค์ว่า
      "...ฯะ จุลศักราชได้ ๑๔๙ ตัว ปีเมิงมด เจ้าพระปทุมได้มาตั้งเมิงอุบลได้ ๒๓ ปี ฯะ สังกราษได้ ๑๔๒ ตัว ปีกดสง้า จึงเถิงอนิจกรรม ล่วงไปด้วยลำดับปีเดินหั้นแล ฯะ สังกราษได้ ๑๕๔ ตัว ปีเต่าสัน พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ ได้ขึน้ เสวียเมิงอุบล ได้ ๑๕ ปี สังกราษ (ได้) ๑๖๗ ตัว ปีรวงเล้า จึงมาได้สร้างวิหารอารามในวัดป่าหลวงมณีโช (ติ) ศรีสวัสสัสดีเพื่อให้เป็นที่สำราญแก่ (พระ) พุทธรูปเจ้า สังกราษได้ร้อย ๖๙ ตัว ปีเมิงเม้า มหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา พาลูกศิษย์สร้าง (พระ) พุทธรูปดิน (แ) ลอิฐ ชทาย ใส่วัด ล่วงเดิน ๕ เพ็ง วัน ๑ มื้อ รวงไก๊ ฤกษ์ ๑๔ ลูกชื่อว่า จิตตะ อยู่ในรษีกันย์ เบิกแล้ว ยามแถใกล้ค่ำ จึงได้ชื่อว่า พระเจ้าอินแปง..."
ในจดหมายเหตุ ร.๑
ในจดหมายเหตุ ร.1 จ.ศ. 1154 เลขที่ 2 สมุดไทยดำ เรื่องตั้งให้พระประทุม เป็นพระประทุมวรราชสุริยวงษ เมืองอุบลราชธานี ได้ปรากฏพระนามของพระองค์ ดังนี้
      "...ด้วย พระบาทสมเดจ์พระพุทธิเจ้าอยหัวผู้พานพิภพกรุงเทพพระมหาณครศรีอยุทธยา มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ตั้งให้พระประทุม เปนพระประทุมววราชสุริยวงษ ครองเมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลประเทษราช เศกให้ ณ วัน ๒ ๑๑ ฯ ๘ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๕๔ ปีชวด จัตวาศก..."
ในพื้นเมืองอุบน
      อันว่า เมืองอุบลนี้ มีแต่คนเวียงเกี้ยงอ่อยฮ่อย แต่หากเป็นไพร่น้อย อยู่ตามบ้านเขตแขวง พระตามีเดชกล้า คนยอย้องว่าดี ได้เป็นนายกองนอก เป็นผู้ตุ้มไพร่น้อยนาขึ้นซ่อยเวียง พระก็สถิตย์แห่งห้อง หินโง่มเป็นบ้านใหญ่ เป็นผู้มีเดชกล้า คนสะดุ้งกระเดื่องดิน พระตานั้นได้ลูกเต้า ผู้จักสืบแทนแนว มีอยู่เพียงเจ็ดคน สะอาดตาปานแต้ม หากเป็นชายล้วน สามคนสิทธิเดช เหลือกว่านั้น เป็นหญิงแท้คนย้องฮูปงามˈ.........พร้อมว่าเจ้าคึดแล้ว จึงได้ฮ้องเฮียกเอิ้น ลูกฮักทั้งสามคน คือว่า พระวอ ท้าวคำผง ท้าวทิดพรม ฮีบสั่งการเดี๋ยวนี้ ดูรา บุตรราชเจ้า ทั้งสามลูกพ่อเอย พวกเฮาอยู่บ่ได้ เมืองนี้ฝืดเคือง พ่อแล้ว.........
ในพื้นพะวอพะตา
     บัดนี้ถวยบังคมฮับว่าโดยโดย ข้าน้อยแล้ว จึงพากันขึ้นพาชี ตีแล่น ๓ พี่น้องก็เดินย้ายแยกทาง ต่างไปสุดคาเมทั่วแดนจนเสี่ยง จิงได้ลงบัญชีพร้อม หญิงชายน้อยใหญ่ นับจำนวนบ่หน่อย ประมาณได้หมื่นปลาย.........



      

      เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) หรือ พระปทุมวรราชสุริยวงษ ในจารึกพระเจ้าอินแปงออกนามว่า เจ้าพระปทุม ชาวเมืองอุบลราชธานีในสมัยโบราณนิยมออกนามว่า อาชญาหลวงเฒ่า ดำรงตำแหน่งเจ้าประเทศราชครองเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราชคนแรก (ปัจจุบันคือจังหวัดอุบลราชธานีในภาคอีสานของประเทศไทย) นามเดิมว่า เจ้าคำผง หรือ ท้าวคำผง เป็นโอรสในเจ้าพระตา (เจ้าพระวรราชปิตา) เจ้าผู้ครองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (หนองบัวลุ่มภู) กับเจ้านางบุศดี สมภพเมื่อ พ.ศ. 2252 ณ นครเวียงจันทน์ สืบเชื้อสายเจ้านายลาวจากราชวงศ์ล้านช้างเวียงจันทน์อันเก่าแก่ อันเนื่องมาจากพระอัยยิกา (ย่า) ของพระองค์ซึ่งเป็นพระมเหสีของเจ้าปางคำ (ปู่) มีศักดิ์เป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ จึงเป็นเหตุให้มีสร้อยราชทินนาม (รวมทั้งของเจ้าฝ่ายหน้า-ผู้อนุชา) มีคำว่า สุริยวงศ์ ต่อท้ายนาม อีกทั้งยังสืบเชื้อสายมาจากพระอัยกา (ปู่) คือเจ้าปางคำ เจ้านายเชื้อสายลื้อแห่งราชวงศ์เชียงรุ่งจากอาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง (เมืองเชียงรุ้งแสวนหวีฟ้า) ผู้สร้างเมืองหนองบัวลุ่มภู (จังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน)
      อนึ่ง พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) เป็นต้นสกุลพระราชทาน ณ อุบล แห่งจังหวัดอุบลราชธานี ในภาคอีสานของประเทศไทย

      พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (คำผง) ครองเมืองอุบลราชธานีมาแต่ตั้งเมืองเป็นเวลารวมได้ 17 ปี จนถึง พ.ศ. 2338 จึงถึงแก่พิราลัย สิริรวมชนมายุได้ 85 ปี มีการประกอบพระราชทานเพลิงศพด้วยเมรุนกสักกะไดลิงก์ (เมรุนกสักกะไดลิง) ณ ทุ่งศรีเมือง แล้วเก็บอัฐิธาตุบรรจุในพระธาตุเจดีย์ไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมือง ณ บริเวณที่เป็นธนาคารออมสิน สาขาอุบลราชธานีทุกวันนี้

      ต่อมาภายหลัง เมื่อมีการสร้างเรือนจำขึ้นในบริเวณดังกล่าว จึงย้ายอัฐิไปประดิษฐาน ณ วัดหลวงเมืองอุบลราชธานีจนทุกวันนี้

      ปัจจุบันมีอนุสาวรีย์ของพระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) ประดิษฐานอยู่ที่ริมทุ่งศรีเมือง กลางเมืองอุบลราชธานี และทุกวันที่ 10-11 พฤศจิกายนของทุกปี ชาวอุบลราชธานีและหน่วยงานราชการต่างๆ จะมีการจัดงาน สดุดีวีรกรรม พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) ขึ้น ซึ่งภายในงานมีการจัดขบวนอัญเชิญเครื่องประกอบพระอิสริยยศเจ้าเมืองอุบลราชธานี พิธีการวางขันหมากเบ็งและเครื่องสักการะ นิทรรศการเล่าเรื่องเมืองอุบลราชธานี และการแสดงมหรสพต่างๆ

ถ่ายภาพเมื่อ : 18 ธันวาคม 2560
วัดหลวง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
วัดหลวง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
วัดหลวง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
วัดหลวง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
วัดหลวง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
วัดหลวง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
วัดหลวง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
วัดหลวง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
วัดหลวง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
วัดหลวง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
วัดหลวง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
วัดหลวง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
วัดหลวง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
วัดหลวง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
วัดหลวง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
วัดหลวง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
วัดหลวง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
วัดหลวง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
วัดหลวง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี


การเดินทาง
วัดหลวงตั้งอยู่ไม่ไกลมากนัก จากศาลหลักเมือง ทุ่งศรีเมือง พิพิธภัณฑ์แห่งชาติอุบลราชธานี และเดินผ่านวงเวียนมาไม่ไกลก็จะพบวัดสุปัฏนาราม


สถานที่ตั้ง : วัดหลวง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
พิกัด : 15.332669, 104.165254
ถ่ายภาพเมื่อ : 18 ธันวาคม 2560
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 29 ธันวาคม 2560
จำนวนผู้เข้าชม : 1112 ครั้ง
แหล่งที่มาข้อมูล : เรียบเรียงขึ้นเอง, th.wikipedia.org, guideubon.com
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง


29-12-2017 Views : 1113
      ร่วมกันสนับสนุนเว็บไซต์นี้ ทำได้ง่ายๆ ด้วยการคลิกลิงค์ด้านล่าง... ขอบคุณครับ


ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphoe Muang, Kalasin Province 46000 Thailand
www.artnana.com

3.135.205.146 =    Saturday 27th April 2024
 IP : 3.135.205.146   คนที่กำลังอ่าน   Bookmark and Share   
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย