สิม หอไตร ฮูปแต้ม



กู่คันธนาม กู่คันธนาม กู่คันธนาม กู่คันธนาม กู่คันธนาม กู่คันธนาม กู่คันธนาม กู่คันธนาม กู่คันธนาม กู่คันธนาม กู่คันธนาม กู่คันธนาม กู่คันธนาม
  • กู่คันธนาม
  • กู่คันธนาม
  • กู่คันธนาม
  • กู่คันธนาม
  • กู่คันธนาม
  • กู่คันธนาม
  • กู่คันธนาม
  • กู่คันธนาม
  • กู่คันธนาม
  • กู่คันธนาม
  • กู่คันธนาม
  • กู่คันธนาม
  • กู่คันธนาม
ข้อความจากศิลาจารึกกู่คันธนาม
   “โรคทางกายของประชาชนนี้เป็นโรคทางใจที่เจ็บปวดยิ่ง เพราะว่าความทุกข์ของราษฎร แม้มิใช่ความทุกข์ของพระองค์ แต่เป็นความทุกข์ของเจ้าเมือง พระองค์พร้อมด้วยแพทย์ทั้งหลาย ผู้แกล้วกล้าและคงแก่เรียนในอายุรเวทและอัสตรเวท ได้ฆ่าศัตรูคือโรคของประชาชนด้วยอาวุธ คือ เภสัช…..พระองค์ได้สร้างโรงพยาบาล และรูปพระโพธิสัตว์ไภษัชยสุคต พร้อมด้วยรูปพระชิโนรส ทั้งสองโดยรอบ เพื่อความสงบแห่งโรคของประชาชนตลอดไป…”

 Isan Upload
ภาพถ่ายเมื่อ 19 พฤษภาคม 2555
ก่อนการบูรณะและปรับภูมิทัศน์งบประมาณปี 2555


 Isan Upload
ภาพถ่ายเมื่อ 20 มีนาคม 2559
หลังการบูรณะและปรับภูมิทัศน์งบประมาณปี 2555



ถ่ายภาพเมื่อ : 5 ธันวาคม 2559


 ข่าวอัพเดท ข่าวสารอัพเดทสถานที่ :
งานประเพณีบุญสรงกู่บูชาเจ้าพ่อคันธนาม
งานประเพณีบุญสรงกู่บูชาเจ้าพ่อคันธนาม จัดขึ้นทุกปี (ช่วงวันสงกรานต์)

ข่าวทั้งหมด 1 ข่าว



    จากอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ตามทางหลวงหมายเลข 2086 (สุวรรณภูมิ – โพนทราย – ราษีไศล) มาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 29 กิโลเมตร ถึงอำเภอโพนทราย และเลยไปตามเส้นทางเดิมทางอำเภอราษีไศลอีกประมาณ 3.5 กิโลเมตร ถึง วัดกู่คันธนาม โบราณสถานกู่คันธนาม อยู่ภายในบริเวณวัด
 

+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร    


กู่คันธนาม กู่บ้านด่าน จ.ร้อยเอ็ด     | ดาวน์โหลดเอกสาร กรมศิลปากร |
    จากการสำรวจและขุดแต่งพบว่าแผนผังของปราสาทกู่คันธนามมีลักษณะเป็นโบราณสถานประเภทอโรคยาศาลหรือโรงพยาบาลอย่างชัดเจน การก่อสร้างใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลัก ในการก่อสร้างจะใช้ทินทรายในส่วนที่รับน้ำหนัก หรือแกะสลัก สระน้ำประจำอโรคยาศาลทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือถูกรื้อออกไปจนหมดแล้วนำมาก่อเรียงใหม่ จนไม่สามารถศึกษาถึงรูปแบบเดิมได้ ส่วนกำแพงที่ล้อมรอบปราสาททั้ง 4 ด้าน ส่วนที่จมอยู่ในดินยังคงอยู่ในสภาพเดิม มีการทรุดเนื่องจากการยุบตัวของดินที่รองรับตัวกำแพง แต่แนวกำแพงด้านทิศใต้ยังคงสมบูรณ์ดี แนวกำแพงด้านทิศตะวันออก บริเวณมุมด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้แนวกำแพงทำเป็นรางน้ำไหลออกไปลงสระที่อยู่นอกกำแพงกึ่งกลางของแนวกำแพงมีโคปุระตั้งอยู่ โคปุระมีลักษณะเป็นรูปกากบาทมีประตูทางเข้าซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออก ไปทะลุออกไปทางด้านตะวันตก ตรงกลางเป็นห้องโถง มีห้องกำแพงเป็นห้องเล็ก ๆ อยู่ทางด้านเหนือและใต้

    ในการขุดแต่งพบประติมากรรมหินทรายรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร ในบริเวณห้อง โถงกลางถัดจากโคปุระไปทางด้านทิศใต้ มีประตูเล็ก ๆ อยู่บนแนวกำแพงด้านทิศตะวันออก โคปุระทางด้านทิศตะวันตกและปราสาทประธานถูกเชื่อมต่อกันโดยลานศิลาแลงซึ่งมีแผนผังเป็นรูปกากบาท ลานหินนี้มีร่องลอยของหลุมเสาต่อเนื่องจากมุขหน้าปราสาทประธานมาจนถึงประตูด้านทิศตะวันตก ของโคปุระซึ่งแต่เดิม น่าจะทำเป็นหลังคาคลุมเนื่องจากสภาพพื้นที่โบราณสถานเป็นเนินทรายจึงทำให้ลานหินมีลักษณะเป็นลูกระนาด จากการทรุดตัวของพื้นที่เช่นเดียวกับอาคารอื่น ๆ หลังจากรื้อถอนหินปราสาทประธานที่ก่อเรียงใหม่ออกหมดแล้วพบว่าเป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมทางด้านทิศตะวันออกก่อเป็นมุขยื่นออกมาเชื่อมกับลานหิน มุขมีลักษณะเตี้ยกว่าตัวปราสาทโดยอยู่ในระดับเดียวกับลานหินภายในมุขทำเป็นบันใดเข้าไปใน ห้องปราสาทประธาน ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธานก่อสร้างเป็นอาคารบรรณาลัย ใกล้กับลานหินทางด้านทิศใต้ มีแผ่นหินทรายสีเขียวมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมปักอยู่ ๓ แผ่น (เดิมอาจจะมี 4 แผ่น) พบจารึกจากการยกหินตั้งที่หน้าบรรณาลัยลักษณะแบบเดียวกับจารึกที่พบตามอโรคยาศาลหลาย ๆ แห่ง ภายในบรรณาลัยพบว่ามีการปูพื้นด้วยศิลาแลงแต่บางส่วนถูกรื้อออกจากการขุดหาของมีค่า

โบราณวัตถุสำคัญที่พบ
1. พระวัชรธร หินทราย ขนาดหน้าตักกว้าง 36 เซนติเมตร สูง 74 เซนติเมตร ประทับที่นั่งขัดสมาธิบนฐานกลีบบัว พระหัตถ์ขวาถือวัชร และพระหัตถ์ซ้ายถือกระดิ่ง ทรงมงกุฎทรงเทริด ทรงตุ้มหู สวมผ้านุ่งสั้น ประทับนั่งบนฐานสลักลายกลีบบัวตามแบบศิลปะเขมรแบบบายน พบบริเวณมุมด้านนอกโคปุระด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้

2. พระไภษัชยคุรุ หินทราย ขนาดกว้าง 16 เซนติเมตร ยาว 7.50 เซนติเมตร ประทับที่นั่งบนฐานสลักลายกลีบ พระหัตถ์ทั้งสองประคองหม้อน้ำเสมอพระอุระ พบในบริเวณเดียวกับพระวัชรธร

3. พระโพธิสัตว์ประทับยืน 4 กร หินทราย สภาพใต้ข้อพระหัตถ์ซ้ายบนหักแตกหักออกเป็นส่วนแต่สามารถประกอบได้เต็มองค์ พบบริเวณห้องกลางของโคปุระ มวยผมสลักเป็นพระอมิตาระ ประทับนั่งปางสมาธิ พระหัตถ์ขวาบนมือลูกประคำ พระหัตถ์ซ้ายบนถือคัมภีร์ พระหัตถ์ขวาล่างถือดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายล่างถือหม้อน้ำนุ่งผ้าชักชายเป็นหางปลาสั้นตามแบบศิลปะเขมรแบบบายน วัดกู่คันธนามขอเก็บรักษาไว้ แต่ปัจจุบันถูกโจรกรรมสูญหายไปแล้ว

4. ศิลาจารึก หินทรายสีน้ำตาล ลักษณะเป็นหลักสี่เหลี่ยมด้านเท่า ย่อทรงกระโจม จารึกอักษร ขอมโบราณ ภาษาสันสกฤต ด้านที่ 1-3 มี 24 บรรทัด ด้านที่ 4 มี 26 บรรทัด เป็นจารึกสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานไว้ ณ สถานพยาบาล (อโรคยาศาล) เช่นเดียวกับที่โบราณสถานกู่โพนระคัง เดิมน่าจะปักอยู่บริเวณแผ่นหินทรายเขียวที่อยู่ทางด้านข้างระหว่างปราสาทประธานกับอาคารบรรณาลัย

5. พระหัตถ์ประคองหม้อน้ำ หินทรายขนาดกว้าง 16 เซนติเมตร ยาว 7.50 เซนติเมตร ลักษณะพระหัตถ์ทั้งสองประคองหม้อน้ำ พบบริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน


    การประกาศขึ้นทะเบียน
    กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ระบุชื่อ กู่บ้านด่าน ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2474 ประกาศขอบเขตในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 100 ตอนที่ 36 วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2526 พื้นที่ 2 ไร่ 35 ตารางวา

    การดำเนินงาน
    สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 8 อุบลราชธานี (ปัจจุบัน คือ สำนักศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี ) ดำเนินการขุดแต่งระหว่างเดือนเมษายน - กรกฏาคม พ.ศ. 2545 งบประมาณ 795,000 บาท
    และ กรมศิลปากร ดำเนินการบูรณะและปรับภูมิทัศน์กู่คันธนาม ตามโครงการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์โบราณสถานกู่คันธนาม ตำบลยางคำ อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด งบประมาณปี พ.ศ. 2555



สถานที่ตั้ง : วัดกู่คันธนาม หมู่ที่ 9 บ้านกู่คันธนาม ตำบลยางคำ อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด
ถ่ายภาพเมื่อ : ก่อนการบูรณะ 19 พฤษภาคม 2555, หลังการบูรณะ 26 กรกฏาคม 2558, 20 มีนาคม 2559, 5 ธันวาคม 2559
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 22 กรกฎาคม 2558
ปรับปรุงล่าสุด : 8 ธันวาคม 2559
จำนวนผู้เข้าชม : 213 ครั้ง
แหล่งที่มาข้อมูล : ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต, ข้อมูลจากหนังสือความลับในปราสาทขอม, ทำเนียบอโรคยศาลในประเทศไทย
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชม และถ่ายภาพเอง


ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphoe Muang, Kalasin Province 46000 Thailand
www.artnana.com

3.229.122.112 =    Tuesday 19th March 2024
 IP : 3.229.122.112   คนที่กำลังอ่าน   Bookmark and Share   
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย