ฮุปแต้มอีสาน, สิมอีสาน (Isan Mural Painting and Isan Temple Architectures)
 สิม หอไตร ฮูปแต้ม

(วางเมาส์บนรูปภาพ เพื่อดูส่วนขยายภาพ)

+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร      

วัดสุปัฏนารามวรวิหาร จ.อุบลราชธานี

      " มีพระบรมราชโองการประกาศไว้แก่ชนทั้งปวงว่า ที่เขตพระอุโบสถ วัดสุปัฏนาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยยาว 3 เส้น กว้าง 2 เส้น พระเทพเมธี เจ้าคณะมณฑลอุบลราชธานี ได้ให้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอเป็นที่วิสุงคามสีมา พระเจ้าแผ่นดินสยาม ได้ทรงยินดีอนุโมทนา อนุญาตแล้ว โปรดให้กราการปักกำหนดให้ตามประสงค์ ทรางพระราชอุทิศที่นั้นให้เป็นวิสูงคามสีมา ยกเป็นแผนกหนึ่งต่างหาก จากพระราชอาณาเขต เป็นที่วิเสศสำหรับพระสงฆ์มาแต่จาตุทิศทั้งสี่ ทำสังฆกรรมที่อุโบสถกรรม เป็นต้น "
      พระราชทานตั้งแต่ ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พระพุทธศาสนกาล 2467 พรรษา เป็นปีที่ 15 ในรัชกาลปัตจุบันนี้ฯะ

      วัดสุปัฏนารามวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ถนนวัดสุปัฏน์ อ. เมือง จ.อุบลราชธานี ( ริมฝั่งแม่น้ำมูล ซึ่งไหลผ่านทางทิศใต้ของตัวเมืองอุบลราชธานี ) มีเนื้อที่ 21 ไร่ 38 ตารางวา เป็นวัดธรรมยุติวัดแรกของจังหวัดอุบลราชธานี มีสถานะเป็นวัดอารามหลวงชั้นตรี วัดสุปัฏนาราม สร้างในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยได้เริ่มสร้างวัดในปี พ.ศ.2393 และสร้างเสร็จ พ.ศ.2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "วัดสุปัฏนาราม อันหมายถึง วัดที่มีสถานที่ตั้งเหมาะสมเป็น ท่าเรือที่ดี " ซึ่งสภาพของที่ตั้งวัดขณะนั้นเป็นที่เงียบสงัด เหมาะที่จะบำเพ็ญศาสนกิจ สะดวกในการออกบิณฑบาต ที่ไม่ไกลอยู่ติดกับฝั่งลำน้ำมูล และเมื่อสร้างวัดเสร็จแล้ว จงไปอาธนา ท่านพนฺธุโล (ดี) มาครองวัดสุปัฏนาราม และ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทาน ทรัพย์ส่วนพระองค์ ดังนี้
      1. พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ 10 ชั่ง ( 800 ) บาท
      2. ตั้งนิตยภัตแก่เจ้าอาวาส เดือนละ 8 บาท
      3. จัดให้มีเลกวัด ( คนทำงานประจำวัด 60 คน)

สิ่งสำคัญภายในวัดสุปัฎนารามวรวิหาร
      พระอุโบสถวัดสุปัฏรารามวรวิหาร ตัวพระอุโบสถที่สร้างขึ้นแต่ดั่งเดิม สร้างขึ้นด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4) ซึ่งพระอุโบสถหลังเดิมนั้น มีความยาว 11 วา 2 ศอก กว้าง 8 ในขณะนั้น เสาไม้แก่นก่ออิฐโอกเสา หลังคาลดเป็น 2 ชั้น มุงด้วยกระเบื้องไม้ มีช่อฟ้าใบระกาประดับกระจก หน้าบันด้านตะวันออกสลักลายเครือ ตะวันตกสลักลายดอกไม้ พื้นถมดินปูด้วยกระเบื้องดินเผา และต่อมาพระอุโบสถหลังนี้ก็ได้ผุพังลง อีกทั้งบริเวณด้านหน้านั้นแคบ ไม่พอแก่กองทหาร กองตำรวจ กองลุกเสือ ที่ตั้งแถวในการทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาประจำปี
      ต่อมาเจ้าอาวาสรูปที่ 7 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) สมัยดำรงสมณศักดิ์ที่พระพระราชมุณี เป็นเจ้าคณะมณฑลอุบลราชธานี จึงได้นิมนต์พระมหาเถระ ข้าราชการ คหบดี หลายฝ่ายได้เข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือกัน และเห็นควรรื้อถอนพระอุโบสถหลังเก่าออก ปลูกสร้างใหม่ทดแทน ให้เกิดความมั่นคงถาวร โดยมีเหตุผล 2 ประการ คือ
      1.ให้พ้นทาง หากมีการตัดถนนในอนาคต
      2. ให้พ้นตลิ่งฝั่งแม่น้ำมูล โดยให้หันพระอุโบสถลงสู่แม่น้ำ (ทิศใต้)
      ซึ่งพระอุโบสถมีขนาดกว้าง 20 เมตร ยาว 34 เมตร สูง 22 เมตร ผู้อำนวยการสร้าง ได้แก่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) สถาปนิกผู้ออกแบบ คือหลวงสถิตย์นิมานกาล (ชวน สุปิยพันธ์) ซึ่งเป็นช่างหลวงเป็นผู้ออกแบบ โดยเริ่มเตรียมวัสดุก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2460

      วิธีการก่อสร้าง ได้ตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาสขึ้น โดยมีพระราชมุณีเจ้าคณะมณฑลเป็นประธาน หาทุนโดยเจ้าคณะมณฑลออกไปแสดงธรรมตามท้องที่ตำบลต่างๆ และให้สมุหเทศาภิบาล ซึ่งเป็นผู้ที่มีอำนาจฝ่ายปกครอง สั่งให้ราษฎรไปฟัง และสละเงินและปัจจัยต่างๆ บูชากัณฑ์เทศน์ ลงบัญชีรายได้ไว้เป็นตำบลๆไป
      การก่อสร้างอิฐโบกปูน ครั้งแรกได้จ้างช่างจีนและช่างญวน มาทำเป็นตัวอย่าง แล้วคัดเลือกผู้สนใจร่วมทำ พอสามารถทำเองได้ ก็เลิกจ้างช่างชาวต่างชาติ ตอนแรกการใช้ปูนได้นำมาจากจังหวัดนครพนม ซึ่งอยู่ค่อนข้างไกลและราคาแพง ต่อมาได้สำรวจพบหินปูนชนิดเดียวกัน ในเขตตำบลตาลสุม (อำเภอตาลสุมในปัจจุบัน) อำเภอพิบูลมังสาหาร ในสมัยนั้น ซึ่งอยู่ใกล้แม่น้ำมูลสะดวกกว่า จึงให้ราษฎรทำปูนขาย ปูนที่ทำขึ้นแม้จะไม่ขาวนักแต่คุณภาพเท่ากับซีเมนต์

      เนื่องจากการก่อสร้าง จะต้องสิ้นเปลืองวัสดุอุปกรณ์มากมาย และสมัยนั้น ยังไม่มีผู้ที่ทำไว้จำหน่ายเหมือนปัจจุบัน จึงได้ตั้งโรงงานช่างขึ้น แล้วสอนแบบก่อสร้าง สอนวิชาปั้นและก่อเตาเผาอิฐ สอนวิธีสีข้าว โดยวัดเป็นผู้ควบคุมดูแล เจ้าหน้าที่บ้านเมืองคือสมุหเทศบาล ผู้ว่าราชการจังหวัด และข้าราชการให้การสนับสนุนจน ได้รับความสำเร็จในที่สุด และการตั้งโรงงานนี้ นับว่าเป็นประโยชน์แก่ประชาชน เพราะเป็นจุดเริ่มต้น ที่ให้ความรู้ในการประกอบอาชีพ และประชาชนได้ยึดถือปฏิบัติต่อกันมา การก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ.2479 สิ้นค่าใช้จ่ายประมาณ 70,000 บาท
      เมื่อสร้างเสร็จแล้ว จุดประสงค์แรกนั้นก็คือ ต้องการให้เป็นที่ประดิษฐานของพระสัพพัญญูเจ้า ซึ่งเป็นพระประธาน ในพระอุโบสถวัดสุปัฏนาราม และเนื่องจากพระอุโบสถหลังนี้ ค่อนข้างกว้างใหญ่ จึงใช้ประโยชน์ในการประกอบพุทธศาสนพิธี ไม่ว่าจะเป็นพิธีกรรมของสงฆ์โดยตรง หรือพิธีกรรมที่มีพุทธศาสนิกชนร่วมด้วยก็ตาม

      ลักษณะของพระอุโบสถวัดสุปัฏนาราม เป็นอาคารขนาดใหญ่ กว้าง 20 เมตร ยาว 34 เมตร สูงจากพื้นถึงช่อฟ้า 22 เมตร สร้างคล้ายทรงพระราชนิยมสมัยรัชกาลที่ 3 (อิทธิพลจีน) คือตัวอาคารมีชาลา (ระเบียง) เสานางจรัล(เสานางเรียง) ทรงสี่เหลี่ยมล้อมรอบ ระหว่างเสาก่ออิฐเป็นรูปโค้งเรือนแก้ว (โค้งแหลมแบบโกธิคของฝรั่งเศส) ตัวอาคารไม่ทำหน้าต่าง แต่ทำเป็นประตูแทน โดยรอบทางด้านหน้าและด้านข้าง หลังคาทรงจั่วชั้นเดียวมีพะไร(ปีกนก) 2 ข้าง คลุมชาลา หน้าจั่วเรียบเต็มเสมอเสาด้านหน้า (คล้ายโบสถ์อิทธิพลจีนสมัยรัชกาลที่ 3 ) มีลายปูนปั้น เป็นลายไทยผีมือช่างญวน (เป็นลายไทยที่ไม่มีเอกลักษณ์ของลายไทยอยู่เลย ตัวลายรีบ ช่องไฟกว้าง ไม่ได้สัดส่วน) ช่อฟ้ารวยลำยองเป็นรูปพญานาคแบบญวน เชิงบันไดทั้ง 4 ด้าน ปั้นปูนรูปสิงโตหมอบยิ้ม อยู่มุมละ 1 ตัว ซึ่งแตกตางไปจากโบสถ์อื่นๆ ที่นิยมทำพญานาคเฝ้าบันได ส่วนที่หน้าพระอุโบสถ มีจารึกโบราณสมัยขอมหลายชิ้น เช่น จารึกถ้ำหมาใน ทับหลัง เฉพาะทับหลัง กล่าวกันว่า เป็นทับหลังที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย (พุทธศตวรรษที่ 12-13)
วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
ถนนวัดสุปัฏน์ อ. เมือง จ.อุบลราชธานี


      ความสำคัญของท่าน้ำวัดสุปัฏนารามวรวิหาร
    1. ชื่อวัดสุปัฏนาราม เกิดจากคำ 3 คำ คือ สุ + ปัฏนะ + อาราม
      สุ แปลว่า ดี, งาม,
      ปัฏนะ แปลว่า ท่าน้ำ, ท่าเรือ
      อาราม แปลว่า วัด
      วัดสุปัฏนารามวรวิหาร จึงแปลว่าวัดที่มีท่าน้ำ หรือท่าเรือที่ดี สะดวกในการขึ้นลงเรือ
    2. ท่าน้ำวัดสุปัฏนาราม เมื่อครั้งแรกสร้างวั เป็นที่ตั้งของ อุทกุกเขปสีมา หรือเรียกว่า โบสถ์กลางน้ำ ซึ่งเป็น "เขตสามัคคีชั่ววักน้ำสาด" แห่งคนมีอายุและกำลังปานกลาง หมายถึงเขตชุมนุมทำสังฆกรรม ที่กำหนดลงในแม่น้ำหรือทะเล ชาตสระ (ที่ขังน้ำเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น บึง หนอง ทะเลสาบ) โดยพระภิกษุประชุมกันบนเรือหรือบนแพ ซึ่งผูกกับหลักในน้ำหรือทอดสมอ อยู่ห่างตลิ่งชั่ววิดน้ำสาด (ห้ามผูกโยงเรือหรือแพนั้นกับหลักหรือต้นไม้ริมตลิ่ง และห้ามทำในเรือหรือบนแพที่กำลังลอยหรือเดิน) พระภิกษุวัดสุปัฏนารามในสมัยก่อน ทำสังฆกรรม เช่น อุปสมบท เป็นต้น ที่แพท่าน้ำวัดสุปัฏนารามแห่งนี้
    3. ท่าน้ำวัดสุปัฏนาราม เป็นท่าลงเรือเดินทางไปศึกษาเล่าเรียนในกรุงเทพมหานคร ที่เป็นปูชนียบุคคลของเมืองอุบลราชธานี เช่น
      1. เจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท)
      2. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส)
      3. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธัมมธโร)
      4. สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (สนั่น จันทปัชโชโต)
      5. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร)
    4. ปัจจุบันท่าน้ำวัดสุปัฏนาราม เป็นเขตอภัยทานของสัตว์น้ำนานาชนิด เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาแม่น้ำมูล เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ของสาธุชนชาวอุบลราชธานี


      ใบเสมาทวารวดี ที่วัดสุปัฏนาราม
      คำว่า " เสมา " เป็นศัพท์ในภาษาไทย ที่มาจากคำว่า สีมา ในภาษาบาลี-สันสกฤต หมายถึง หลักเขตทำสังฆกรรม (โบสถ์) นักวิชาการเรียกแท่งศิลาหรือแผ่นศิลา มีอายุก่อนพุทธศตวรรษที่ 18 พบในภาคอีสาน
      ประวัติที่มา สันนิษฐานว่า สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) นำมาจากบ้านตาดทอง อ.เมือง จ.ยโสธร
      วัสดุ ศิลาทราย
      ขนาด สูงรวมฐาน 234 เซนติเมตร ฐานกว้าง 101 เซนติเมตร หนา 38 เซนติเมตร
      ศิลปะ ทวารวดีภาคอีสาน
      ใบเสมานี้ มีการสลักตกแต่งทั้งสองด้าน ด้านหนึ่งสลักเป็นรูปเส้นตรงยาวเหลี่ยมขึ้นด้านบน ส่วนล่างสลักเป็นหม้อน้ำกลม สันนิษบษนว่า เป็นภ่พหม้อปูรณฆฏะ อีกด้านหนึ่งที่ฐานสลักเป็นลายดอกจิกแล้วมีรูปเส้นตรงยาว ที่ฐานใบเสมาแกะสลักเป็นรูปกลีบบัว
      อายุ อยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 14-17
      ทะเบียน กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่มิได้อยู่ในความครอบครองของกรมศิลปากร ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 107 ตอนที่ 9 หน้าที่ 14 วันที่ 12 มกราคม 2533
      ผู้ครอบครอง วัดสุปัฏนารามวรวิหาร



      
    ประวัติวัดสุปัฎนารามวรวิหาร
      พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้คณะกรรมการเมืองอุบลราชธานี ซึ่งมีพระพรหมราชวงศ์ (กุทอง) เป็นประธานเลือกพื้นที่สร้างวัดดังนี้
      1. เริ่มลงเมือปราบที่เมื่อ พ.ศ. 2393
      2. ประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 2396 โดยพระราชทานนามว่า วัดสุปัฏนาราม
      3. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้ายกฐานะเป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิด "วรวิหาร" นามว่า วัดสุปัฏนารามวรวิหาร เมื่อ พ.ศ. 2478
      4. วัดนี้มีพื้นที่ 21 ไร่ 38 ตารางวา
      5. เจ้าอาวาส ในอดีต-ปัจจุบัน
      1. พระอธิการดี พันธุโล
      2. พระอธิการเพ็ง
      3. พระอธิการเพชร
      4. พระอธิการสีโห
      5. พระอธิการสี
      6. พระญาณรักขิต (สิริจันโท จันทร์ สุภสร)
      7. พระโพธิวงศาจารย์ (ติสโส อ้วน แสนทวีสุข)
      8. พระครูประจักษ์ อุปบลคุณ (ญาณาสโย สุ่ย)
      9. พระธรรมบัณฑิต (ญาณชาโร ญาณ คาโรจน์)
      10. พระโพธิญาณมุนี (ปภาโส ภา คูณเมือง)
      12. พระวิจิตรธรรมภาณี (สุขปุญโญ สิงห์ คูณพัน)
      13. พระรัตนมงคลมุนี (ตปนิโย ยงยุทธ นาแพง)
      14. พระวิบูรธรรมาภรณ์ (ชาคโร ชาย ทับทอง) พ.ศ 2554

    ประวัติย่อพระอุโบสถ
      1. ผู้เขียนแบบแปลน คือ หลวงสถิตนิมานการ (ชวน สุปิยพันธ์)
      2. ร่วมเตรียมจัดหาสัมภาระ พ.ศ. 2460
      3. ลงมือก่อสร้าง พ.ศ. 2463
      4. สร้างเสร็จ (ส่วนหยาบ) พ.ศ. 2473
      5. ติดดวงดาวเพดาน พ.ศ. 2478
      6. จัดงานฉลองและผูกพัทธสีมา พ.ศ. 2479
      7. สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ 70,000.00 บาท
      8. ขนาดความยาว 35 เมตร กว้าง 21 เมตร
      9. พระประธานในพระอุโบสถนามว่า " พระสัพพัญญูเจ้า "


ถ่ายภาพเมื่อ : 11 พฤศจิกายน 2556
วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

ถ่ายภาพเมื่อ : 18 ธันวาคม 2560


     วัดสุปัฏนารามวรวิหาร เป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ด้านการศาสนา มี “พระอุโบสถ” เป็นสถาปัตยกรรมผสมผสาน โดยหลังคาเป็นแบบไทย ส่วนกลางของตัวพระอุโบสถเป็นแบบยุโรป (เยอรมัน) ส่วนฐานสร้างแบบขอมโบราณ
     ลักษณะโดดเด่นอีกประการ คือ ตัวพระอุโบสถไม่มีหน้าต่าง แต่ทำเป็นประตูโดยรอบ มีขนาดกว้าง 20 เมตร ยาว 34 เมตร สูง 22 เมตร สำหรับสถาปนิกผู้ออกแบบพระอุโบสถหลังใหม่นี้ คือ หลวงสถิตย์นิมานกาล (ชวน สุปิยพันธุ์) นายช่างทางหลวงแผ่นดิน สร้างตั้งแต่ พ.ศ.2473 แล้วเสร็จ พ.ศ.2473 สิ้นค่าก่อสร้าง 70,000 บาท
     ส่วนพระอุโบสถหลังเดิม มีขนาดกว้าง 8 ศอก ยาว 11 วา 2 ศอก สร้างด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ด้วยพระอุโบสถหลังเก่าได้ชำรุดทรุดโทรม ยากแก่การบูรณปฏิสังขรณ์ จึงได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่นี้ขึ้นแทน



สถานที่ตั้ง : วัดสุปัฏนารามวรวิหาร ถนนวัดสุปัฏน์ อ. เมือง จ.อุบลราชธานี
พิกัด : 15.227397, 104.853454
ถ่ายภาพเมื่อ : 11 พฤศจิกายน 2556, 18 ธันวาคม 2560
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 9 มีนาคม 2559
อัพเดทเมื่อ : 28 ธันวาคม 2560
จำนวนผู้เข้าชม : 3023 ครั้ง
ข้อมูลจาก : จากรึกหินอ่อนที่พระอุโบสถ, lukhamhan.ac.th, guideubon.com
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง

09-03-2016 Views : 3024
      ร่วมกันสนับสนุนเว็บไซต์นี้ ทำได้ง่ายๆ ด้วยการคลิกลิงค์ด้านล่าง... ขอบคุณครับ



ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphoe Muang, Kalasin Province 46000 Thailand
www.artnana.com

44.220.251.236 =    Friday 04th October 2024
 IP : 44.220.251.236   คนที่กำลังอ่าน   Bookmark and Share   
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย