สิม หอไตร ฮูปแต้ม



ผาแต้ม  จ.อุบลราชธานี ผาแต้ม  จ.อุบลราชธานี ผาแต้ม  จ.อุบลราชธานี ผาแต้ม  จ.อุบลราชธานี ผาแต้ม  จ.อุบลราชธานี ผาแต้ม  จ.อุบลราชธานี ผาแต้ม  จ.อุบลราชธานี ผาแต้ม  จ.อุบลราชธานี ผาแต้ม  จ.อุบลราชธานี ผาแต้ม  จ.อุบลราชธานี ผาแต้ม  จ.อุบลราชธานี ผาแต้ม  จ.อุบลราชธานี ผาแต้ม  จ.อุบลราชธานี ผาแต้ม  จ.อุบลราชธานี ผาแต้ม  จ.อุบลราชธานี
  • ผาแต้ม  จ.อุบลราชธานี
  • ผาแต้ม  จ.อุบลราชธานี
  • ผาแต้ม  จ.อุบลราชธานี
  • ผาแต้ม  จ.อุบลราชธานี
  • ผาแต้ม  จ.อุบลราชธานี
  • ผาแต้ม  จ.อุบลราชธานี
  • ผาแต้ม  จ.อุบลราชธานี
  • ผาแต้ม  จ.อุบลราชธานี
  • ผาแต้ม  จ.อุบลราชธานี
  • ผาแต้ม  จ.อุบลราชธานี
  • ผาแต้ม  จ.อุบลราชธานี
  • ผาแต้ม  จ.อุบลราชธานี
  • ผาแต้ม  จ.อุบลราชธานี
  • ผาแต้ม  จ.อุบลราชธานี
  • ผาแต้ม  จ.อุบลราชธานี
 Isan Upload


รวมภาพกับสถานที่



 ข่าวอัพเดท ข่าวสารอัพเดทสถานที่ :
ข่าวทั้งหมด 0 ข่าว
 
+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร    


อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จ.อุบลราชธานี
    อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นหน่วยงานสังกัดส่วนภูมิภาค สังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ในอดีตชาวบ้านท้องถิ่นทำกินในบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ป่าภูผา น้อยคนนักที่จะเดินทางเข้าไปในป่าแห่งนี้ เนื่องจากมีความเชื่อว่า “ผาแต้มเป็นเขตต้องห้าม ภูผาเหล่านั้นมีความศักดิ์สิทธิ์นักเป็นภูผาแห่งความตาย ใครล่วงล้ำเข้าไปมักมีอันเป็นไปอาจเจ็บไข้ หรือเป็นอันตรายถึงชีวิต ” ปัจจุบัน พื้นที่ป่าภูผาแต้ม ได้ถูกเปิดเผยจนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เมื่อคณะอาจารย์และนักศึกษาจากภาควิชามนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้มาทำการสำรวจค้นพบภาพเขียนสีโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม ท้องที่บ้านกุ่ม ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบกับสภาพป่าในบริเวณใกล้เคียงยังอุดมสมบูรณ์อยู่ จึงได้ทำหนังสือบันทึกจากภาควิชาฯ ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2524 เสนอต่อกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ขอให้จัดตั้งป่าภูผาในบริเวณผาแต้มเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติได้บันทึกสั่งการ ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2524 ให้ นายเสงี่ยม จันทร์แจ่ม นักวิชการป่าไม้ 4 ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้า อุทยานแห่งชาติดงหินกอง (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ) ไปทำการสำรวจหาข้อมูลเพิ่มเติมผลการสำรวจปรากฏรายงาน ตามหนังสืออุทยานแห่งชาติดงหินกอง ที่ กส 0708 (ดก) /57 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2524 ว่า “ พื้นที่บริเวณที่ภาควิชามนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากรเสนอขอให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ อยู่ในบริเวณพื้นที่ป่าภูผาปรากฏภาพเขียนสีโบราณ ซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม สภาพป่าบริเวณใกล้เคียงยังไม่ถูกทำลาย และมีจุดเด่นตามธรรมชาติที่สวยงาม การคมนาคมสะดวกเหมาะที่ตั้งอุทยานแห่งชาติ โดยเห็นควรผนวกบริเวณดังกล่าวเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ อุทยานแห่งชาติดงหินกอง ”
    กรมป่าไม้ จึงมีคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 1162/2524 ลงวันที่ 13 กันยายน 2524 ให้นายเสงี่ยม จันทร์แจ่ม นักวิชาการป่าไม้ 4 หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ (อุทยานแห่งชาติดงหินกองเดิม) ไปดำเนินการควบคุมดูแลรักษาป่าภูผาโดยให้พิจารณาผนวกเข้ากับ อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ทั้งนี้บริเวณภูผาดังกล่าวได้ถูกประกาศรวม กับบริเวณป่าใกล้เคียง ให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติดงภูโหล่นตามกฎกระทรวงฉบับที่ 603 (พ.ศ.2516) ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2526 ต่อมากรมป่าไม้ ได้พิจารณาเห็นว่าพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่คนละส่วน และอยู่ห่างไกลกับอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ตลอดจนมีอาณาเขตกว้างขวาง เกรงว่าอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ จะดูแลไม่ทั่วถึง และเพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลตาม โครงการอีสานเขียว และกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และการศึกษาหาความรู้ทางวิชาการ จึงมีคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 991/2532 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2532 ให้ นายวรพล รัตนสุวรรณ นักวิชาการป่าไม้ 5 กองอุทยานแห่งชาติ ไปดำเนินการสำรวจเพื่อจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงภูโหล่นท้องที่ อำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี เนื้อที่ 340 ตารางกิโลเมตร หรือ 212,500 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติผาแต้ม และทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ด้วย
    กรมป่าไม้โดยกองอุทยานแห่งชาติได้นำเรื่องราวดังกล่าวนี้ เสนอต่อคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มติเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 3/2432 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2532 ผ่านมติเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2534 และได้รับประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษหน้า 90 – 92 เล่มที่ 108 ตอนที่ 245 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2534 ให้เป็นอุทยานแห่งชาติผาแต้มเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 74 ของประเทศไทย ต่อมาได้มีคำสั่งกรมป่าไม้ ให้นายศักดิ์สิทธิ์ พลทรัพย์ศิริ เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 7 หรือ เจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส ที่ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานฯ คนที่ 2 นายอุทัย พรมนารี นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติผาแต้ม คนที่ 3 นายกวี ประสมพล นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติผาแต้ม คนที่ 4 และนายสิงขร รักษ์มณี นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติผาแต้ม คนที่ 5 และนายนครินทร์ สุทัตโต นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ คนปัจจุบัน

ลักษณะภูมิประเทศ
    อุทยานแห่งชาติผาแต้มมีสภาพพื้นที่เป็นเทือกเขาติดต่อกันลักษณะสูงๆ ต่ำๆ สลับกันไปทั่วพื้นที่ ระดับความสูงของพื้นที่อยู่ระหว่าง 100-600 เมตรจากระดับน้ำทะเล แนวเขตด้านทิศตะวันออกใช้เส้นแบ่งเขตแดนประเทศและติดกับประเทศลาว ซึ่งมีแม่น้ำโขงเป็นแนวเขตโดยตลอดความยาวประมาณ 63 กิโลเมตร สภาพพื้นที่โดยรวมเป็นลานหิน รอบแนวเขตถัดจากฝั่งแม่น้ำโขงจะเป็นหน้าผาสูงชัน มีภูผาที่สำคัญได้แก่ ภูผาขาม ภูผาเมย ภูผาเจ็ก ภูผาสร้อย ภูย่าแพะ ภูชะนะได ภูผานาทาม ภูโลง ภูปัง ภูจันทร์แดง ภูหลวง ภูสมุย และภูกระบอ เป็นต้น อุทยานแห่งชาติผาแต้มเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของห้วยช้าง ห้วยภูโลง ห้วยฮุง ห้วยลาน ห้วยเพราะ ห้วยแยะ ห้วยกวย ห้วยกะอาก ห้วยใหญ่ ห้วยสูง และห้วยหละหลอย

สถานที่ตั้ง : อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ต.ห้วยไผ่ อ. โขงเจียม จ. อุบลราชธานี
ถ่ายภาพเมื่อ : 1 มกราคม 2557
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 8 มีนาคม 2559
จำนวนผู้เข้าชม : 2606 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง : ข้อมูลจาก dnp.go.th อุทยานแห่งชาติผาแต้ม


ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphoe Muang, Kalasin Province 46000 Thailand
www.artnana.com

54.84.65.73 =    Tuesday 19th March 2024
 IP : 54.84.65.73   คนที่กำลังอ่าน   Bookmark and Share   
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย