ฮุปแต้มอีสาน, สิมอีสาน (Isan Mural Painting and Isan Temple Architectures)
 สิม หอไตร ฮูปแต้ม

(วางเมาส์บนรูปภาพ เพื่อดูส่วนขยายภาพ)

+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร      

วัดสว่างเหล่าอ้อย ต.เหล่าอ้อย อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์
     บ้านเหล่าอ้อย เป็นอีกหมู่บ้านหนึ่ง ซึ่งมีความเป็นมาที่น่าสนใจ ที่กว่าจะมาเป็นหมู่บ้านเท่าที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ บรรพบุรุษของเรา ได้ต่อสู้ ฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ หลายอย่าง โดยเฉพาะภัยธรรมชาติ ซึ่งเป็นปัจจัย ที่สำคัญ และยิ่งใหญ่กว่าทุกอย่าง นอกจากนี้ยังมีโรคภัยไข้เจ็บที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
     แต่อย่างไรก็ตาม ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน มีน้อยคนนักที่จะรู้จัก ประวัติต่อไปนี้เป็นประวัติพอสังเขปที่พอจะรวบรวมได้จากผู้รู้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นหลังที่จะเข้ามาศึกษาและลูกหลานต่อไปเป็นอย่างมาก ชาวบ้านเหล่าอ้อย เป็นชนกลุ่มหนึ่งซึ่งได้อพยพมาจาก แถบลุ่มแม่น้ำโขง ที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี มาตั้งรกรากอยู่บ้านสองห้องเป็นครั้งแรก ชาวบ้านมีความสามัคคี สงบสุขมาโดยตลอด
     ต่อมาได้เกิดโรคระบาดอย่างร้ายแรง สัตว์เลี้ยง และผู้คนล้มป่วย และตายเป็นจำนวนมาก ไม่มียา ที่จะรักษาให้หายขาดได้ สมัยนั้นเรียกว่า “โรคห่า” ด้วยความกลัว และความไม่รู้ ชาวบ้านจึงได้รวมตัวกัน ปรึกษาหารือ และได้ตกลงที่จะอพยพไปตั้งถิ่นฐานที่ใหม่ เพื่อความปลอดภัยของสัตว์เลี้ยงและชาวบ้าน ทุกคนการอพยพได้มีขึ้นในตอนกลางคืน โดยมีเกวียนเป็นพาหนะ โดยไม่มีการบอกลาหรือสั่งเสียแต่อย่างใด เดินทางมุ่งไปในทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน จนมาถึงจุดบริเวณไร่อ้อยเก่าร้าง ผู้นำก็เห็นสมควรจะตั้งหมู่บ้าน จึงได้หยุดและก่อสร้างที่อยู่อาศัยแบบชั่วคราว คือทำเพิงหญ้า เป็นที่พักขึ้น ประมาณปี พ.ศ. 2454
     บุคคลสำคัญในการก่อตั้งหมู่บ้าน คือ พ่อใหญ่นุ พ่อใหญ่สอน และพ่อใหญ่มุตตะราช ซึ่งเห็นว่าบริเวณดังกล่าว มีชัยภูมิที่เหมาะสมในการก่อตั้งหมู่บ้าน เพราะมีที่ทำกินที่อุดมสมบูรณ์ สะดวก ปลอดภัยต่อชาวบ้านและสัตว์เลี้ยง โดยเมื่อจัดตั้งหมู่บ้านเสร็จแล้วได้แต่งตั้งให้ หลวงศรี หรือ นายจำปา มาตสุด เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก ต่อมาได้มีการต่อตั้งวัดประจำหมู่บ้าน เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านทุกคน โดยมีพระสิยา จากวัดบ้านสองห้อง ที่ได้อพยพมาด้วยในครั้งนี้เป็นสมภารวัด และมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าอาวาสและผู้ใหญ่บ้านเรื่อยมา
     ปี พ.ศ. 2480 ในสมัยนั้นผู้ใหญ่บ้านคือ นายคำมี เยาวกร มีพระมหาประสงค์ ขันติโก เป็น เจ้าอาวาสวัด พร้อมด้วยมีพระภิกษุสงฆ์และสามเณร หลายรูปที่ได้เข้ามาจำพรรษาในวัด จึงได้มีการจัดตั้งสำนักเรียนขึ้นมา ต่อมาเจ้าอาวาสได้เข้าไปศึกษาที่กรุงเทพมหานคร สำเร็จแล้วได้นำความรู้กลับมาพัฒนาหมู่บ้านและวัด พร้อมกันนั้นได้อัญเชิญพระพุทธรูปสมัยลพบุรี ซึ่งเป็นโบราณวัตถุที่เก่าแก่ปละทรงค่าที่สุดในยุคนั้น มีหน้าตักประมาณ 120 ซ.ม. สูง 140 ซ.ม. มาประดิษฐาน ณ.วัด เพื่อเป็นพระประธาน และเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านทุกคน

วัดสว่างเหล่าอ้อย ต.เหล่าอ้อย อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์
ข้อมูลจาก : องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าอ้อย www.laooiigroup.com



      หอระฆังโบราณ
      ปี พ.ศ. 2488 เจ้าอาวาสวัด ได้จัดหาระฆังมาไว้ในวัด ซึ่งสมัยนั้นราคา 1,200 บาท จึงได้มีการประชุมทายก ทายิกา เพื่อที่จะสร้างหอระฆังขึ้นมา จึงได้รวบรวมจัตุปัจจัย และด้วยแรงศรัทธาจากชาวบ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง จัดสร้างหอระฆังขึ้นในปี พ.ศ. 2491 เสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2493 โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น 3,315 บาท ดำเนินการก่อสร้างโดย ช่างคำพัน แก้วปัญญา และ คณะ จากบ้านโนนเมือง โดยใช้ไม้ในการก่อสร้างทั้งหลัง
      ต่อมา ปี พ.ศ. 2519 ทางวัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา มีพระอธิการสมบูรณ์ กตปญฺโญ เป็นเจ้าอาวาส ได้สร้างพระอุโบสถขึ้น และอัญเชิญพระประธานขึ้นประดิษฐานในพระอุโบสถ มีพุทธศาสนิกชนเข้าเยี่ยมชม และกราบไหว้เป็นประจำ การก่อสร้างถาวรวัตถุทั้งหมดทั้งสิ้นนั้น เกิดจาก แรง ศรัทธา และการบริจาคจากชาวบ้านผู้มีจิตเป็นกุศลทั้งสิ้น
      ในยุคของการพัฒนาต่อมาประชาชนได้รับการศึกษามากยิ่ง จึงได้จัดตั้งเป็นหมู่บ้าน ชื่อ บ้านเหล่าอ้อย หมู่ที่ 17 ตำบลโพนงาม อำเภอกมลาไสย จังหวัดมหาสารคาม โดยมีขุนโพนงาม ระงับโศรก เป็นกำนันคนแรก ประมาณปี 2469 มีการจัดตั้งโรงเรียน ชื่อ โรงเรียนประชาบาล 5 วัดเหล่าอ้อย ความเจริญก้าวหน้าของด้านต่าง ๆ ทำให้มีการแบ่งแยกตำบลโพนงาม ออกเป็นตำบลสามัคคี เมื่อปี พ.ศ. 2502 โดยประมาณ โดยมีนายเสาร์ เยาวภา เป็นกำนันตำบลสามัคคีเป็นคนแรก ต่อมาปี พ.ศ. 2517 โดยประมาณ ได้มีการแยกตำบลสามัคคีออกมาเป็นตำบลร่องคำ โดยมีนายลี เยาวกรณ์ เป็นกำนันคนแรก
      ต่อมาเนื่องจากมีประชากรจำนวนมากขึ้น ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ทำให้ตำบลร่องคำ ได้ขอแยกออกจากอำเภอกมลาไสย มาตั้งเป็นกิ่งอำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอคนแรก คือ นายเสนี ชมภูวิเศษ โดยมีอาณาเขตบริเวณกว้างขวางมาก เป็นการ ยากในการปกครอง และบริหาร จึงได้มีการแยกตำบลร่องคำ เป็นตำบลเหล่าอ้อย เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2527 ซึ่งในขณะนั้นมีนาย เสน คันทจันทร์ เป็นกำนันคนแรก มีสถานที่ตั้งที่หมู่บ้านเหล่าอ้อย หมู่ที่ 7 ตำบลเหล่าอ้อย อำเภอร่องคำ ในปัจจุบัน



เส้นทาง การเดินทางเข้าสู่ วัดสว่างเหล่าอ้อย
      1. จากตัวเมืองกาฬสินธุ์ ขับรถตรงมาเรื่อยๆ ผ่าน อ.กมลาไสย มาจนถึงแยกบ้านบ่อ ให้เลี้ยวซ้ายวิ่งตรงไป อ.ร่องคำ วิ่งตรงมาเรื่อยๆ ตามถนนหมายเลข 2116 เลยเทศบาล ต.ดงลิง ไปอีกไม่มาก สังเกตุฝั่งขวามือ จะเห็นป้ายหมูบ้านเหล่าอ้อยเลี้ยวขวา จะเห็นประตูวัด ขับรถตรงเข้าวัดได้เลย
      
จารึก บนหอระฆัง " พระมหาประสงค์ ขันติโก ป.ธ.6 พร้อมด้วยคณะสงฆ์ทายกทายิกา ได้ริเริ่มสร้างหอระฆังขึ้น พ.ศ. ๒๔๙๑ สำเร็จ พ.ศ.๒๔๙๓ ระฆังราคา ๑๒๐๐ บาท, หอระฆังสิ้นเงิน ๓๓๑๕ บาท, ไว้วัดเหล่าอ้อย ทำโดยคณะช่าง, คำพัน แก้วปัญญา, โนนเมือง "

ถ่ายภาพเมื่อ : 2 กรกฏาคม 2559
วัดสว่างเหล่าอ้อย ต.เหล่าอ้อย อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์
วัดสว่างเหล่าอ้อย ต.เหล่าอ้อย อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์
วัดสว่างเหล่าอ้อย ต.เหล่าอ้อย อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์
วัดสว่างเหล่าอ้อย ต.เหล่าอ้อย อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์
วัดสว่างเหล่าอ้อย ต.เหล่าอ้อย อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์
วัดสว่างเหล่าอ้อย ต.เหล่าอ้อย อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์
วัดสว่างเหล่าอ้อย ต.เหล่าอ้อย อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์
วัดสว่างเหล่าอ้อย ต.เหล่าอ้อย อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์
วัดสว่างเหล่าอ้อย ต.เหล่าอ้อย อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์
วัดสว่างเหล่าอ้อย ต.เหล่าอ้อย อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์
วัดสว่างเหล่าอ้อย ต.เหล่าอ้อย อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์
วัดสว่างเหล่าอ้อย ต.เหล่าอ้อย อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์
วัดสว่างเหล่าอ้อย ต.เหล่าอ้อย อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์
วัดสว่างเหล่าอ้อย ต.เหล่าอ้อย อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์
วัดสว่างเหล่าอ้อย ต.เหล่าอ้อย อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์
วัดสว่างเหล่าอ้อย ต.เหล่าอ้อย อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์
วัดสว่างเหล่าอ้อย ต.เหล่าอ้อย อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์
วัดสว่างเหล่าอ้อย ต.เหล่าอ้อย อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์
วัดสว่างเหล่าอ้อย ต.เหล่าอ้อย อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์
 Isan Upload
ภาพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



สถานที่ตั้ง : วัดสว่างเหล่าอ้อย ต.เหล่าอ้อย อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์
ถ่ายภาพเมื่อ : 2 กรกฏาคม 2559
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 4 กรกฏาคม 2559
จำนวนผู้เข้าชม : 995 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง, ข้อมูลจาก : www.laooiigroup.com


04-07-2016 Views : 996
      ร่วมกันสนับสนุนเว็บไซต์นี้ ทำได้ง่ายๆ ด้วยการคลิกลิงค์ด้านล่าง... ขอบคุณครับ



ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphoe Muang, Kalasin Province 46000 Thailand
www.artnana.com

18.188.61.223 =    Saturday 27th April 2024
 IP : 18.188.61.223   คนที่กำลังอ่าน   Bookmark and Share   
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย