+ เพิ่ม |
- ลด ขนาดตัวอักษร
วัดบ้านขะโหมย, วัดบ้านทุ่งใหญ่, วัดโพธิ์ศรี ต.บ้านไทย อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
ประวัติหมู่บ้านและวัดบ้านทุ่งใหญ่
หวนกล่าวถึง พวกที่นำพรรคพวกจากบ้านโพนทอง ไปตั้งหมู่บ้าน ให้ชื่อว่า บ้านขะโหมย ที่เป็นบ้านเก่าครั้งขอมเรืองอำนาจ พวกที่มาตั้งหมู่บ้านขะโหมย ล้วนแต่เป็นเจ้านายโบราณ คนสำคัญคือ ท้าวศรีศิริมหาพล อายุ 88 ปี ท้าวพลมาศ อายุ 77 ปี ท้าวเพียพรหมโสภา อายุ 91 ปี นายชัย แก่นสาร นายสิงห์ พรชัย ล้วนแต่คนดี
ต่อจากนั้นมีคนสำคัญ นำพรรคพวกข้ามทุ่งใหญ่ ไปทางทิศเหนือ ไปตั้งเป็นบ้านไผ่ บ้านกลาง ทุกวันนี้
คนที่นำไปตั้งครั้งแรกชื่อว่า ท้าวโครต หลักคำ ซึ่งต่อมาลูกหลาน ใช้ชื่อของท่านเป็นนามสกุล หลักคำ
คุณปู่บอกว่า หนองน้ำหลายแห่ง ขอมเขาคิดดี ทำเพื่อประโยชน์หลายอย่าง ให้ได้ดื่ม ได้อาบ ได้เลี้ยงปลา ปลูกผักกิน ให้สัตว์ได้อาศัย เขาขนดินขึ้นให้สูง สำหรับปลูกเรือนป้องกันน้ำท่วม และขุดรอบบ้านเพื่อป้องกันข้าศึก ไปจดกันที่หนองใหญ่กลางบ้าน เพื่อให้ปลาเข้าไปอยู่ในหนอง เวลาฝนตกปลาจะได้ออกไปไข่ข้างนอก
ส่วนที่เขาขุดดินขึ้นจากหนองจากบึง มากองไว้ให้สูงเพื่อประโยชน์ทำสถานที่เคารพ เป็นสถานที่ท่องเที่ยว เป็นสวนดอกไม้ต่างๆ เป็นสถานที่รวมพิธีกรรมต่างๆ
ขุดหนอง ขุดสระ ขุดบึงโพนดิน ทำโพนบ้านกันน้ำท่วม ขุดไว้ให้วัดขนก้อนใหญ่ๆ มากองไว้ทำป้าย ทำลูกข่าง หล่อพระเล็กพระน้อย ทำของขลังศักดิ์สิทธิ์ ไว้ในงัดศาสนาหลายอย่าง ซึ่งจากจะมีผู้สามารถทำได้เช่นนี้
นอกจากนี้ท่านยังพูดฝากไว้ ถ้าลูกๆ หลานๆ เกิดใหม่ใหญ่ทีหลัง ช่วยกัน สามัคคีกัน เสียสละไม่เห็นแก่ตัวบ้านเราก็จะเจริญขึ้น
ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2487 นายม้วน สุวกร ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งนายอำเภอเขื่องใน ได้มาตรวจราชการถึงบ้านขะโหมย และได้มาพบเห็นทุ่งและนา เป็นผืนดินอันกว้างใหญ่ ปราศจากต้นไม้และสิ่งกีดกั้น
นายม้วน สุวกร จึงได้ประชุมราษฎรภายในหมู่บ้านและประกาศว่า จะขอเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านใหม่ให้แก่บ้านนี้ เพื่อความเหมาะสมแก่สภาพและภูมิประเทศ
ขอเปลี่ยนชื่อจาก บ้านขะโหมย มาเป็น บ้านทุ่งใหญ่ ตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนชื่อวัดก็ได้เปลี่ยนแปลงตามกันไป
พระพุทธรูปปางสมาธิ หินทราย พุทธศตวรรษที่ 13 ได้นำไปจัดแสดงถาวรที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี
สถานที่ตั้ง : วัดบ้านทุ่งใหญ่ หรือวัดบ้านขะโหมย ต.บ้านไทย อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
พิกัด : 15.473040, 104.410820
ถ่ายภาพเมื่อ : 30 กันยายน 2561
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 6 พฤศจิกายน 2561
ปรับปรุงล่าสุด :
ข้อมูลจาก : ป้ายประชาสัมพันธ์ภายในวัด
จำนวนผู้เข้าชม : 2120 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง