สิม หอไตร ฮูปแต้ม

+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร      

รายการสำรวจสถานที่ต่างๆ ทั้งหมด

        หลายๆ สถานที่ไม่มีข้อมูลพอที่จะทำหน้าเว็บไซต์ ผู้สำรวจและทำเว็บจึงทำหน้าเว็บขึ้นมาใหม่อีกหน้า เพื่อรวมสถานที่ต่างๆ ที่ยังไม่ได้ทำหน้าเว็บ เพื่อให้ง่ายในการดู และค้นหาสถานที่ เมื่อได้ข้อมูลที่ดีและถูกต้องของสถานที่แล้ว จึงจะทยอยทำหน้าเว็บสถานที่นั้นๆ ต่อไป

ใส่คำค้น เพื่อค้นหาสถานที่ที่ท่านต้องการ

สถานที่ล่าสุด



วัดศรีสุมังคลาราม บ้านธาตุเทิง อ.เขื่องใน จ.อุบลฯ

พบสิมโบราณ พุพังไปตามกาลเวลา ไม่ได้รับการบูรณะ รูปแบบก่ออิฐฉาบปูน มีหน้าต่างฝั่งละ 3 ช่อง หลังคามุงด้วยสังกะสี

วัดธาตุน้อย บ้านธาตุน้อย อ.เขื่องใน จ.อุบลฯ (วัดหลวงปู่สิงห์)

ขับรถผ่านทีไร ก็เป็นต้องคิดๆ ว่าชื่อบ้านธาตุน้อย มีธาตุไหม จึงแวะเข้าไปถามไถ่ ได้ใจความว่า โบราณกาลก่อนนั้นมีธาตุองค์เล็กๆ ใต้ต้นโพธิ์ ทุกวันนี้ย่อยสลายไปหมดแล้ว ปัจจุบัน กำลังก่อสร้างเจดีย์วัดธาตุน้อย ซึ่งเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ มองจากสะพานข้ามลำชี มาที่เจดีย์ ภูมิท้ศน์สถาปัตยกรรม สวยงามดี

ปราสาทศรีขรภูมิหรือปราสาทระแงง จ.สุรินทร์

ปราสาทศรีขรภูมิหรือปราสาทระแงง จ.สุรินทร์ ปราสาทในภูมิภาคนี้ ฐานทำด้วยศิลาแลง ตัวปราสาทก่อด้วยอิฐฉาบปูน เครื่องประดับประดาตกแต่งและยอดปราสาท แกะด้วยหินทราย หลายร้อยปีผ่านไป ตัวเรือนประสาทที่ทำด้วยอิฐ ไม่สามารถรับน้ำหนักยอดปราสาทที่ทำด้วยหินทรายได้ จึงพังทลายลง.... นั่นคือคำตอบ ทำไมปราสาทบ้านเราไม่มียอด ข้อมูลและรูปภาพทั้งหมด :http://isan.tiewrussia.com/khom_2/ปราสาทศรีขรภูมิ/ ปราสาทศรีขรภูมิ เดิมชื่อปราสาทระแงง (ชื่อหมู่บ้าน/ชื่อตำบล) เปลี่ยนใหม่เป็น ปราสาทศรีขรภูมิ เพื่อให้ชาวอำเภอศรีขรภูมิ เป็นเจ้าของทั้งหมด ช่วยกันปกปักษ์รักษา เชิดหน้าชูตาอำเภอศรีขรภูมิ กลุ่มปรางค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่ มีปรางค์ 5 องค์ ปรางค์ประธานอยู่ตรงกลาง แวดล้อมด้วยปรางค์บริวาร 4 ทิศ ล้อมรอบด้วยน้ำ 3 สระปรางค์บริวารด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ สภาพสมบูรณ์ที่สุด เป็นแม่แบบของการบูรณะปรางค์อื่นๆ ในยุคเดียวกัน จาการวิเคราะห์ทางสถาปัตยกรรม การเข้าเหลี่ยมย่อมุมต่างๆ เห็นได้ว่ามีการรับอิทธิพลของสกุลช่างอยุธยาตอนปลายมาด้วย และรูปแบบการก่ออิฐสอปูนของลานช้าง เช่น ปราสาทเมืองที ปราสาทตามอญ ปราสาทตะเปียงเตีย ร่วมยุคด้วย จึงเกิดรูปแบบสถาปัตยกรรมผสมผสาน ว่า ล้านช้าง - อยุธยา บัวยอดปราสาท แสดงให้เห็นว่า ปราสาทนั้นมียอดสมบูรณ์ แต่พังทลายลงมา เพราะอิฐเสื่อมสภาพไม่สามารถรับน้ำหนักยอดปราสาทที่ทำด้วยหินทรายได้ (ยอดบัวปรางค์ประธาน)

ศาลหลักเมืองจารพัต จ.สุรินทร์

ความสำคัญของบ้านจารพัต หลวงพิศิษฐสุรินทร์รัฐ นายอำเภอเห็นว่า อาณาเขตการปกครองกว้างใหญ่ มาก ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่บ้านจารพัต ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เกือบสุดเขตอำเภอ ประชาชนสวนใหญ่มาติดต่อราชการ ต้องเดินทางไกลลำบากมาก ข้าราชการ หน่วยงานต่างๆ ออกไปพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนก็ลำบากเช่นกัน จึงคิดหาพื้นที่ ที่เป็นจุดศูนย์กลาง เพื่อย้ายที่ว่าการอำเภอใหม่ ขณะนั้นสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสนาบดี(รัฐมนตรี) กระทรวง มหาดไทยมีคำสั่งให้ตัดถนนเชื่อมต่อระหว่างมลฑลนครราชสีมาถึงมลฑลอุบลราชธานี เรียกว่าทางหลวงแผ่นดิน ช่วงที่ถนนตัดผ่านเขตพื้นที่อำเภอศีขรภูมินั้น จะผ่านบ้าน กระโดนค้อ บ้านระแงง บ้านปราสาท บ้านอนันต์ไปสำโรงทาบ ห้วยทับทัน ฯลฯถนน สายนี้ไม่ผ่านบ้านจารพัต ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอศีขรภูมิประกอบกับทางจังหวัด และกระทรวงมหาดไทยมีนโยบายให้สถานที่ราชการไปตั้งริมทางหลวงแผ่นดิน เพื่อ สะดวกในการไปตรวจราชการ หลวงพิศิษฐสุรินทร์รัฐ นายอำเภอ จึงตัดสินใจย้ายที่ ว่าการอำเภอจากบ้านจารพัต (ข้อมูลจาก surin108.com)

กลุ่มเสมา วัดบ้านเปาะ อ.ค้อวัง จ.ยโสธร

กลุ่มเสมาวัดบ้านเปาะ อ.ค้อวัง จ.ยโสธร พบหลักเสมาและใบเสมาที่ทำด้วยศิลาแลง ที่พบมากที่สุดคือ ใบเสมาที่ทำด้วยกรรมวิธีโบราณ คือ นำเศษหินก้อนเล็กๆ และเปลือกหอยเผาทุบให้ละเอียด ก่อนนำมาเคี่ยวให้เข้ากันด้วยยางบง แล้วนำมาปั้นเป็นใบเสมาชนิดแผ่น ขนาดใหญ่ จำนวนหลายใบ (ผู้สำรวจ จึงเข้าใจว่า ใบเสมาเหล่านี้ไม่น่าจะถึงยุคทวารวดี)



ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
Artnana Studio 9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphoe Muang, Kalasin Province 46000 Thailand       www.artnana.com
Viewers : 5627