สิม หอไตร ฮูปแต้ม



สิม สิม สิม สิม สิม สิม สิม สิม สิม สิม
  • สิม
  • สิม
  • สิม
  • สิม
  • สิม
  • สิม
  • สิม
  • สิม
  • สิม
  • สิม


*** ภาพจากอินเตอร์เน็ต ขออภัยเจ้าของภาพที่ไม่ได้แจ้งให้ทราบก่อนนำภาพมาใช้งานประกอบเนื้อหาเว็บไซต์

 Isan Upload
| หากการจัดทำเว็บไซ์ต์นี้ มีคุณความดีอยู่บ้าง ข้าพเจ้าขอยกคุณความดีเหล่านั้น ให้แก่บิดา-มารดาและผู้มีพระคุณทั้งหลายด้วย เทอญฯ |


 ข่าวอัพเดท ข่าวสิมที่ยังไม่ได้ไป :       ทั้งหมด 13 ข่าว
วัดพุทธสีมา
วัดพุทธสีมา หมู่ 2บ้านฝั่งแตง ต.ฝั่งแดง  อ.ธาตุพนม  จ.นครพนม

วัดวุฒิวราราม
วัดวุฒิวราราม บ้านโพนสาวเอ้ หมู่3 ต.เรณู  อ.เรณูนคร  จ.นครพนม

วัดธาตุมังคลาราม
โบสถ์โบราณ วัดธาตุมังคลาราม
หมู่ที่ 1 ต.เชียงยืน อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี 

วัดโพธิ์คำ
วัดโพธิ์คำ  ต.น้ำก่ำ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม (มีฮูปแต้ม)

วัดโกศลมัชฌิมาวาส
วัดโกศลมัชฌิมาวาส  บ้านกลางใหญ่  ต.เมืองนครพนม อ.บ้านกลาง  จ.นครพนม

วัดโพธิ์พิพัฒนารามสูงเนิน
วัดโพธิ์พิพัฒนารามสูงเนิน 
หมู่ 5 บ้านสูงเนิน ตำบลคำม่วง  อำเภอทุ่งคลอง จังหวัดกาฬสินธุ์

สิมวัดตองปิด
สิมวัดตองปิด ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 บ้านตองปิด ตำบลตองปิด อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ

สิมวัดจอมแจ้ง
วัดจอมแจ้ง  ตำบลท่าจำปา  อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

สิมวัดไชยคำ
วัดไชยคำ บ้านคำพระ   ตำบลคำพระ   อำเภอหัวตะพาน   จังหวัดอำนาจเจริญ 

วัดหัวเวียงรังษ
วัดหัวเวียงรังษี  ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

วัดชัยภูมิการาม
วัดชัยภูมิการาม  อำเภอเขมราฐ อุบลราชธานี

วัดศรีคุณเมือง
วัดศรีคุณเมือง หมู่ 1 ตําบลเชียงคาน อําเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

วัดพุทธสีมา
วัดพุทธสีมา ตำบลกุดฉิม อ.ธาตุพนม จังหวัดนครพนม


ทั้งหมด 13 ข่าว
 


+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร

    สิม หอไตร หอแจก พุทธศิลปอีสาน ยังมีอีกมากมาย ที่ไม่สามารถเดินทางไปชมและไปถ่ายภาพด้วยตัวเองได้ จึงยังไม่ได้จัดทำหน้าเว็บขึ้นมา เพราะขนาดภาพ จุดมุมมองต่างๆ ของภาพที่จะเอามาทำเว็บยังไม่สมบูรณ์ตามที่ใจเราต้องการ เลยยังต้องรอวันที่พร้อม ว่างที่จะเดินทางไปถ่ายรูปมาจัดทำเว็บ หากเราถ่ายภาพเอง ไปเห็น ไปดูเอง จะรู้สึกดีกว่าที่จะหาภาพในเน็ต บางครั้งไม่รู้ด้วยว่า ผิดหรือถูก แน่นอนบางครั้งก็ทำไม่ได้จึงต้องหาภาพในเน็ตมาใช้ก่อน

    หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านเจ้าของภาพ จะไม่ต่อว่า เพราะไม่ได้ให้เครดิตภาพของท่าน และแน่นอนว่าเว็บนี้ทำขึ้นเพื่อรวมให้เป็นแหล่งข้อมูล ไม่ได้หวังผลประโยชน์อันได เป็นเพราะเราชอบเดินทางไปดู ไปชมแล้วถ่ายภาพ หากเก็บภาพไว้เฉยๆ หรือโพสต์ในเน็ตก็คงสู้ทำเว็บขึ้นมาเองไม่ได้ เพราะเราสามารถควบคุมได้ทุกอย่างนั่นเอง


    กลุ่มสกุลช่างญวน เป็นกลุ่มที่มาจากการเคลื่อนย้าย หนีภัยสงครามเข้ามาในภาคอีสาน และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในยุคล่าอาณานิคม โดยนำเข้ารูปแบบศิลปะอย่างจีนเวียดนามและฝรั่งเศส เข้ามาใช้ในศิลปะของอีสานและลาว

    จากหนังสือสิมอีสาน ของอาจารย์วิโรฒ ศรีสุโร อธิบายว่า ช่วงระหว่างปี 2460-2480 ในพื้นที่ภาคอีสานบริเวณจังหวัดอำนาจเจริญ อุบลราชธานี และยโสธร ยุคนี้นิยมศิลปะแบบญวนอย่างมาก โดยกลุ่มช่างญวนถือเป็นกลุ่มช่างผู้รับเหมา รับผิดชอบในส่วนงานปูนและโครงสร้าง เช่น ที่วัดกลาง อาเภอท่าอุเทน และงานตกแต่งลวดลายฐานพระธาตุท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เป็นต้น

3 สกุลช่าง อัตลักษณ์ในส่วนตกแต่งองค์ประกอบสถาปัตยกรรมศาสนาคาร
    1) กลุ่มสกุลช่างพื้นบ้าน (ชาวบ้าน) ช่างกลุ่มนี้มัก สร้างสรรค์ผลงานฝากไว้ตามวัดในชุมชนรอบนอกของชนบทอันห่างไกลจากตัวเมือง โดยเฉพาะเทคนิคการใช้สีสันที่ฉูดฉาดหรือ รูปทรงสัดส่วนที่แปลกแตกต่างจากที่พบเห็นโดยทั่วไป ปรัชญา ช่างกลุ่มนี้คือ เน้นการพึ่งพาตนเอง มีความเป็นอิสระเสรีทาง ความคิด ไม่มีแบบแผนที่ตายตัว กล่าวคืองานช่างกลุ่มนี้จึงมุ่งสร้างสรรค์โดย ไม่จำเป็นต้องมีความประณีตบรรจงโดย ศิลปิน หรือช่างอาจทำงานอย่างหยาบและรวดเร็วแต่เปี่ยมด้วยอารมณ์และความมีชีวิตจิตใจ (สงวน รอดบุญ, 2518: 132.)ทั้งนี้จะพบ ว่าสกุลช่างพื้นบ้านนั้นมีความพยายามที่จะรักษาลักษณะบาง อย่างของวัฒนธรรมดั้งเดิมซึ่งได้รับมาจากเผ่าพันธุ์เดิม (ethnicorigins) ของตนนั้นไว้แต่ขณะเดียวกัน ก็ยอมรับและต้องการที่จะนำรูปแบบบางอย่างของวัฒนธรรมแบบเมืองเข้ามาผสมผสานและเปลี่ยนแปลงรูปแบบเดิมของตนอยู่เรื่อยๆ (ศรีศักร วัลลิโภดม, 2525: 316) แต่ทั้งหมดล้วนมีพลังต่อรองด้วยจารีตแห่งระบบความเชื่อของสังคมวัฒนธรรมเดิม

    2) กลุ่มสกุลช่างพื้นเมือง (อิทธิพลช่างหลวงทั้งราชสำนักล้านช้างและสยาม) เป็นกลุ่มสกุลช่างที่มีทักษะฝีมือที่พัฒนามาจาก “ช่างพื้นบ้าน”ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นช่างมืออาชีพ หรือที่สุดก็คือกลุ่มช่างหลวงที่มีประสบการณ์ มีทักษะฝีมือ นิยมใช้เทคนิคการตกแต่งด้วยลงรักปิดทอง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับงานช่างด้านการก่อสร้างทั้งช่างไม้และช่างปูน จนฝีมือพัฒนาอยู่ในขั้นสูงสามารถเทียบเคียงกับช่างหลวงหรือช่างราชสำนัก ผลงานของช่างสกุลนี้มักฝากฝีมือไว้ตามวัดวาอารามในเขตเมืองเป็นส่วนใหญ่ โดยรูปแบบทางศิลปะกลุ่มนี้มีลักษณะร่วมที่นิยมแพร่หลาย ในหลายบริบทวัฒนธรรม มีฉันทลักษณ์แห่งระบบระเบียบในการออกแบบ ช่างกลุ่มนี้จะมีแนวคิดหลักในเรื่องปรวิสัย (objectivity) ความสมเหตุสมผล(rationality) และความพอดี (moderation) อันเป็นคุณลักษณะเฉพาะอย่างช่างราชสำนัก โดยนำเข้ามาบูรณาการกับวัฒนธรรมเดิม โดยเฉพาะกลุ่ม ช่างคำหมา แสงงาม สานุศิษย์คนสำคัญสายช่างพระครูวิโรจน์ รัตโนบลแห่งเมืองอุบลที่เป็นกลุ่มช่างท้องถิ่นอีสานยุคบุกเบิกในการรับเหมางานก่อสร้างแข่งกับช่างญวน

    3) กลุ่มสกุลช่างญวน เป็นกลุ่มสกุลช่างที่เกิดจากเงื่อนไขทางการเมืองจากการเคลื่อนย้ายหนีภัยสงครามเข้ามาในอีสานและสปป.ลาว ในยุคล่าอาณานิคมของฝรั่งเศส ที่มีการนำเข้ารูปแบบศิลปะอย่างจีนเวียดนามและฝรั่งเศสเข้ามาใช้ในศิลปะอีสานและลาวโดยแสดงออกผ่านรูปแบบและเทคนิคด้านวัสดุรวมถึงคติสัญลักษณ์ต่างๆ ในเชิงช่าง โดยตั้งแต่ประมาณ ปี พ.ศ.2460-2500 (วิโรฒ ศรีสุโร, 2536: 310)โดยเฉพาะช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2460-2480ในพื้นที่ภาคอีสานตอนใต้แถบจังหวัดอำนาจเจริญ อุบลราชธานี และยโสธร ยุคนี้มีความนิยมศิลปะแบบอย่างญวนมาก โดยกลุ่มช่างญวนถือเป็นกลุ่มช่างผู้รับเหมาก่อสร้างเป็นอาชีพกลุ่มแรกของอีสานโดยช่างญวนจะรับผิดชอบในส่วนงานปูนและโครงสร้างที่เป็นความเชี่ยวชาญ ส่วนการตกแต่งงานไม้ส่วนใหญ่จะเป็นผลงานของช่างในท้องถิ่นนั้นๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วมและจากหนังสือสิมอีสานของอาจารย์ วิโรฒ ศรีสุโร กล่าวว่าในแถบเมืองนครพนมจะมีช่างญวนที่มากฝีมือที่มีชื่อว่า องแมด ได้ฝากผลงานอยู่ที่วัดกลาง อ.ท่าอุเทนและงานตกแต่งลวดลายฐานพระธาตุท่าอุเทน หรือในเมืองสกลนคร วัดพระธาตุศรีมงคล อ.วาริชภูมิจ.สกลนคร รวมถึงสิมหลังนี้ก็เป็นฝีมือช่างญวนที่ชื่อ นาย ตีงัว หรือที่กาฬสินธุ์ก็มีงานช่างญวนที่ชื่อ ทองคำ แซ่อึ่งและนายคำ มี แซ่อึ่ง ที่ฝากผลงานไว้ที่สิมวัดอุดมประชาราษฎร์ สิมวัดบ้านหนองอีบุดสิมวัดบ้านนา (วิโรฒศรีสุโร, 2536 : 343 ) อย่างที่มุกดาหาร ก็มี แกวพุด เป็นนายช่างใหญ่สร้างสิมวัดนรวรารามอ.หนองสูงในปี2468โดยส่วนงานไม้แกะสลักเป็นฝีมือช่างเถิงช่างท้องถิ่นชาวผู้ไทยบ้านหนองโอใหญ่(สุจิตต์ วงษ์เทศ, บรรณาธิการ, 2538:115 )หรือในลาวแถบแขวงจำปาสักก็มี องเสา รังสี ช่างญวนที่มีผลงานการก่อสร้างในเมืองปากเซอยู่จำนวนมาก(เสา รังสี, สัมภาษณ์ : 2549) แต่หลังจากปีพ.ศ.2500 ช่างญวนในอีสานได้ถูกลดบทบาทลงด้วยนโยบายแบบรัฐชาตินิยมสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่จำกัดสิทธิในอาชีพแก่คนต่างด้าว

วา ร สา ร วิ ชา กา ร
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น : อัตลักษณ์ในส่วนตกแต่งองค์ประกอบสถาปัตยกรรมศาสนาคารพื้นถิ่นไทยอีสานกับ สปป.ลาว
อ.ติ๊ก แสนบุญ คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

สถานที่ตั้ง :
ถ่ายภาพเมื่อ :
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 23 กรกฎาคม 2558
จำนวนผู้เข้าชม : 5412 ครั้ง
หมายเหตุ : ข้อมูลภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต




ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphoe Muang, Kalasin Province 46000 Thailand
www.artnana.com

18.97.9.172 =    Friday 06th December 2024
 IP : 18.97.9.172   คนที่กำลังอ่าน   Bookmark and Share   
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย