สิม หอไตร ฮูปแต้ม



พระราชวังสราญรมย์  กรุงเทพมหานคร พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร
  • พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร
  • พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร
  • พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร
  • พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร
  • พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร
  • พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร
  • พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร
  • พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร
  • พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร
  • พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร
  • พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร
  • พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร
  • พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร
  • พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร
  • พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร




    สวนสราญรมย์ หรือ พระราชอุทยานสราญรมย์ เป็นสวนสาธารณะ อยู่ตรงข้ามกับพระบรมมหาราชวังไปทางทิศตะวันออก เดิมสวนสราญรมย์เป็นเขตพระราชอุทยานของพระราชวังสราญรมย์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2409 สวนสราญรมย์ก่อสร้างขึ้นในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณ พ.ศ. 2417 ตามคำแนะนำของเฮนรี อาลาบาศเตอร์ โปรดเกล้าฯ ให้มิสเตอร์เฮนรี อาลาบาศเตอร์ เป็นผู้ออกแบบและจัดสร้างสวนพฤกษศาสตร์ตามแบบอย่างในต่างประเทศ เมื่อเสด็จไปที่ใด พบพันธุ์ไม้แปลก ๆ ก็โปรดให้นำมาปลูกเพิ่มเติมที่สวนสราญรมย์อยู่เสมอ
    ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวใช้เป็นสถานที่จัดงานฤดูหนาว ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้กับรัฐบาล ใช้เป็นที่ทำการของคณะราษฎร
    เมื่อ พ.ศ. 2503 คณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบสวนสราญรมย์ ให้แก่กรุงเทพมหานคร เพื่อปรับปรุงเป็นสวนสาธารณะแก่ประชาชนทั่วไป

    สิ่งที่น่าสนใจ
    1.ศาลากระโจมแตร
    ศาลากระโจมแตร ใช้เป็นที่บรรเลงดนตรี หรือแตรวงของทหาร ในเวลาที่มีงานบริเวณน้ำพระราชอุทยาน สมัยที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมงกุฏราชกุมาร ประทับ ณ พระราชวังสราญรมย์ ศาลานี้สร้างขึ้นพร้อมเรือนกระจกและอาคารต่างๆ ในพระราชอุทยาน
    2.ศาลาแปดเหลี่ยม
    ศาลาแปดเหลี่ยม เป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมที่นิยมกันมากในสมัยรัชกาลที่ 5 สร้างขึ้นเพื่อใช้งานร่วมกับศาลากระโจมแตร
    3.อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ฯ
    สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีย์พระบรมราชเทวี เคยเสด็จประพาสสวนนี้เป็นที่สำราญพระราชหฤทัย หลังจากสิ้นพระชนม์ด้วยอุบัติเหตุเรือพระที่นั่งล่มที่บางพูด ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เมื่อ พ. ศ.2423 รัชกาลที่ 5 จึงทรงโปรดให้สร้างอนุสาวรีย์เป็นที่ระลึกแห่งสถานที่ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ เคยเสด็จประพาสสำราญพระราชหฤทัย เช่น บางปะอิน น้ำตกพริ้ว และที่พระราชอุทยานสราญรมย์นี้ด้วย อนุสาวรีย์นี้ตั้งอยู่ที่กลางอุทยานค่อนข้างมาทิศใต้ สร้างด้วยหินอ่อนรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม ยอดเป็นรูปปรางค์ห้ายอด ตั้งอยู่บนฐาน 6 เหลี่ยมและจารึกคำไว้อาลัยภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    4.น้ำพุพานโลหะ
    น้ำพุพานโลหะ โบราณวัตถุอายุนับศตวรรษ เป็นองค์ประกอบตกแต่ง พระราชอุทยานตั้งแต่ในอดีต
    5.ศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง
    ศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง เป็นเก๋งจีนในอดีตเมื่อครั้งสร้างสวน เป็นศาลเก่าแก่ที่สร้างขึ้นเมื่อสมัยรัชกาลที่ 6 ศาลเจ้าแม่ตะเคียนทองนี้มีลักษณะเป็นเก๋งจีนทรงหกเหลี่ยมสูง 3 ชั้น บริเวณด้านหน้าศาล มีที่ให้จุดธูปเทียนบูชาเจ้าแม่ ตั้งไว้ให้จุดเทียนสักการะด้วย
    6.อาคารเรือนกระจก
    อาคารเรือนกระจก ตึกโถงชั้นเดียวกรุกระจกมีดาดฟ้า ตกแต่งด้วยไม้ฉลุลวดลายวิจิตร ในปี 2447 เป็นที่ตั้งของทวีปัญญาสโมสร และโรงละครทวีปัญญา เป็นสโมสรแบบตะวันตกของเจ้านาย และข้าราชการชั้นสูง มีการออกหนังสือทวีปัญญารายเดือน กีฬาในร่ม กลางแจ้ง ละครพูด และห้องอ่านหนังสือ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโรงเรียนต้นไม้กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา





เส้นทาง
    การเดินทาง : อยู่ข้างๆ วัดพระแก้ว, วัดโพธิ์ท่าเตียน, สนามหลวง กรุงเทพมหานคร

 ข่าวอัพเดท ข่าวสารอัพเดทสถานที่ :
ข่าวทั้งหมด 0 ข่าว

 
+ เพิ่ม | - ลด ขนาดตัวอักษร    


พระราชวังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร
    พระราชวังสราญรมย์ เป็นวังที่ตั้งอยู่ระหว่างพระบรมมหาราชวัง กับวัดราชประดิษฐ์ ทางทิศตะวันออกของพระบรมมหาราชวัง สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยใช้เป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศ และเป็นบ้านพักรับรองพระราชอาคันตุกะ
    พระราชวังสราญรมย์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้น ออกแบบโดย เฮนรี อาลาบาศเตอร์ เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2409 โดยมีเจ้าพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (เพ็ง) เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่อใช้เป็นที่ประทับ พระราชทานนามว่า สราญรมย์ แต่เสด็จสวรรคตก่อนที่จะสร้างเสร็จ
    ในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานวังสราญรมย์ให้เป็นที่ประทับชั่วคราว ของเจ้านายเมื่อแรกออกจากวังหลวง ก่อนที่วังประทับถาวรจะก่อสร้างแล้วเสร็จ อาทิเช่น เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ทรงประทับเมื่อ พ.ศ. 2419 - 2424 ระหว่างก่อสร้างวังบูรพาภิรมย์ ต่อมาทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็นที่ประทับรับรองพระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศ เช่น อาทิ เจ้าชายแห่งญี่ปุ่น ซาเรวิชหรือมกุฎราชกุมารแห่งรัสเซีย (ภายหลังเสด็จขึ้นครองราชย์เป็น พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2) เจ้าชายจอร์จแห่งกรีซ พระราชอาคันตุกะพระองค์แรกที่เข้ามาประทับคือ เจ้าชายออสการ์ เมื่อ พ.ศ. 2427
    เมื่อ พ.ศ. 2428 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นเทววงศ์วโรปการ ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ทรงขอพระราชทานวังสราญรมย์ ให้เป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศ ต่อมาจึงย้ายไปที่ตึกราชวัลลภ ในพระบรมมหาราชวัง ใน พ.ศ. 2430 วังสราญรมย์ จึงใช้เป็นบ้านพักรับรองพระราชอาคันตุกะ เรื่อยมาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระองค์โปรดให้เรียก "วังสราญรมย์" เป็น "พระราชวังสราญรมย์" ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2459
    ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานวังสราญรมย์ให้เป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศ อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากตึกราชวัลลภในพระบรมมหาราชวังชำรุดทรุดโทรมลงมาก เมื่ออาคารดังกล่าวกลายเป็นที่ทำการสำนักงานกระทรวงการต่างประเทศแล้ว ก็กลับเรียกชื่อว่า "วังสราญรมย์" อีกครั้งหนึ่งเนื่องจากมิได้มีเจ้านายประทับเป็นการประจำ และได้ใช้วังสราญรมย์เป็นที่ทำการถาวรของกระทรวงการต่างประเทศสืบมาจนถึงประมาณช่วงปี 2535 จึงมีการย้ายสำนักงานส่วนใหญ่ของกระทรวงการต่างประเทศออกไปที่อาคารถนนศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบันนี้
    หลังปี พ.ศ. 2535 มีการปิดวังสราญรมย์เพื่อปรับปรุงและบูรณะซ่อมแซม โดยในช่วงแรกมีแผนที่จะจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การทูตไทย และสถาบันฝึกอบรมข้าราชการของกระทรวงการต่างประเทศ ในชั้นนี้การบูรณะยังไม่แล้วเสร็จ อนึ่ง ในบริเวณกระทรวงการต่างประเทศวังสราญรมย์เดิม พื้นที่ฝั่งที่ติดกับพระราชอุทยานสราญรมย์ (ปัจจุบันเป็นสวนสาธารณะภ่ายใต้การดูแลของกรุงเทพมหานคร)ได้มีการก่อสร้างทำเนียบองคมนตรีและอาคารสำนักราชเลขาธิการ ซึ่งยังใช้เป็นที่ทำการของคณะองคมนตรีมาจนปัจจุบันนี้
    ในยุคที่วังสราญรมย์ยังเป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศอยู่ สถานที่แห่งนี้เคยเป็นที่ที่ชาติสมาชิกก่อตั้งอาเซียน 5 ประเทศ อันได้แก่ ไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ลงนามในปฏิญญากรุงเทพ หรือ ปฏิญญาอาเซียน ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ก่อตั้งสมาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการ โดยผู้ลงนามฝ่ายไทย คือ พ.อ. ถนัด คอมันตร์

สถานที่ตั้ง : สวนสราญรมย์ ตั้งอยู่ระหว่างถนนเจริญกรุง ตัดกับถนนราชินี แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กทม. 10200
    เวลาเปิดปิด 05.00 -20.00 น. ทุกวัน
    มีรถประจำทางสาย 1, 6, 12, 25, 43, 48, 75, 86 ผ่านทางถนนเจริญกรุง สาย ปอ.1, ปอ.12 ผ่านทางถนนราชินี และสาย 3, 9, 91, ปอ.6, ปอ.7 ผ่านทางถนนสนามไชย สอบถามโทร.0-2221-015, 0-2222-1035
ถ่ายภาพเมื่อ : 1 กุมภาพันธุ์ 2553
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 25 ตุลาคม 2559
จำนวนผู้เข้าชม : 4881 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง : ข้อมูลจาก : ป้ายประชาสัมพันธ์, office.bangkok.go.th, วิกิพีเดีย, manager.co.th




ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphoe Muang, Kalasin Province 46000 Thailand
www.artnana.com

54.227.136.157 =    Tuesday 19th March 2024
 IP : 54.227.136.157   คนที่กำลังอ่าน   Bookmark and Share   
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย