วัดดอนยานาง (โดยย่อ)
สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 11 ไร่ 1 งาน อาณาเขต ทิศเหนือ จรดถนนหมู่บ้าน ทิศใต้จดถนน หมู่บ้านทิศใต้จดถนนหมู่บ้าน ทิศตะวันตก จดถนนหมู่บ้าน อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วยอุโบสถ กว้าง 5 เมตร ยาว 16 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ.2520 ศาลาการเปรียญ กว้าง 12 เมตร ยาว 21 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2517 กุฎิสงฆ์ จำนวน 2 หลัง เป็นอาคารไม้ และครึ่งตึกครึ่งไม้ ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง 6 เมตร ยาว 21 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2528 และศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 1 หลัง ปูชนียวัตถุ มีพระประธาน 3 องค์ และพระพุทธรูป 5 องค์
สิม กว้าง 5 เมตร ยาว 16 เมตร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2469 ซุ้มประตูโค้งแบบช่างญวณ มีปีกนกต่อเติมยื่นอยู่ด้านซ้ายขวาและด้านหลัง รอบตัวสิมมีการนำหินแกะสลักมาวางเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ
ประวัติวัดดอนยานาง (โดยละเอียด)
วัดดอนยานาง ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 153 หมู่ 6 บ้านดอนยานาง ต.ดอนสมบูรณ์ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ภาค 9 มีเนื้อที่ 7 ไร่ 3 งาน 79 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือ จดถนนหมู่บ้านหมู่ที่ 1 ทิศใต้ จดถนนหมู่บ้านหมู่ที่ 8 ทิศตะวันออก จดถนนหมู่บ้านหมู่ที่ 6 ทิศตะวันตก จดถนนหมู่บ้านหมู่ที่ 6 เดิมตั้งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาล ที่ 5 เมื่อวันศุกร์ ที่ 24 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2450 ปี มะแม พระอาจารย์ลี พร้อมด้วยชาวบ้านนำโดย นายสุพรรณ พ่อใหญ่ในบ้าน นายหา นายทะมาตร นายสุสีนนท์ นายปิโล่ นายโง้ง นาย สิมมา นายสิงห์ ได้ช่วยกันถากถางที่ดินว่างเปล่าเป็นที่ตั้งวัด โดยมีพระอาจารย์ครูมา อยู่บ้านโนนเป็นที่ปรึกษาและวางแผนจัดการตั้งบ้านและวัดเป็นผังรูปจระเข้ (วัดดอนยานางตั้งอยู่บริเวณท้องของจระเข้จะได้อุดมสมบูรณ์) หัวจระเข้อยู่ทางทิศเหนือ จัดตั้งวัดทางทิศตะวันออก เนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน หมู่ที่ 7 ต.อุ่มเม่า
ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2518 ชาวบ้านได้ร่วมใจกันขยายเนื้อที่วัดออกไปอีก ประมาณ 3 ไร่ 2 งาน โดยการนำของ นายหัน ภูวงเรือง (กำนันต.อุ่มเม่า) นายชาย ภูสีเขียว (ผู้ใหญ่บ้าน) เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2523 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 20 เมตร
ยาว 40 เมตร โดยมีพระครูอนุสรธรรมคุณ เป็นเจ้าอาวาส ดำเนินการ เมื่อ ปี พ.ศ.2528 ได้แยกการปกครองจาก ต.อุ่มเม่า เป็น ต.ดอนสมบูรณ์
เมื่อ พ.ศ.2550 พระแดง ปญฺญาวโร ได้ขอความเห็นชอบจากเจ้าคณะอำเภอและเจ้าคณะตำบลเพื่อดำเนินการขอออกโฉนดที่ดินและขอออกบ้านเลขที่วัดจนสำเร็จ ได้บ้านเลขที่ 153 หมู่ที่ 6 โฉนดที่ดินเลขที่ 64134 เล่มที่ 632 หน้า 34 มีเนื้อที่ 7 ไร่ 3 งาน 79 ตารางวา คณะสงฆ์และชาวบ้านได้ร่วมกันจัดงานฉลองครบรอบ 100 ปีวัดดอนยานางเมื่อวันที่ 23-24 พฤษภาคม 2550 โดยมีพระครูประสุตธรรมสุนทร เป็นเจ้าอาวาส ดำเนินการ
ลำดับเจ้าอาวาสวัดดอนยานาง
1.พระอาจารย์ลี 2.พระอาจารย์กัณหา
3.พระอาจารย์ปัดถา ภูนาชุ่ม 4.พระอาจารย์นาม
5.พระอาจารย์จันที 6.พระอาจารย์โสม
7.พระอาจารย์อ่อน 8.พระอาจารย์วันดี
9.พระอาจารย์บัว 10.พระอาจารย์สงค์
11.พระอาจารย์ผง 12.พระอาจารย์ทอง
13.พระอาจารย์แปล ภูอุภัย
14.พระอุปัชฌาย์มา จนฺทูปโม
15.พระครูปัญญาภิวัฒน์ พ.ศ.2504–2518
16.พระครูอนุสรธรรมคุณ พ.ศ.2518–2531
17.พระครูประสุตธรรมสุนทร ตั้งแต่ พ.ศ. 2531 เป็นต้นมาจนปัจจุบัน
พ.ศ.2549 จัดตั้งศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดดอนยานาง และดำเนินงานจนถึงปัจจุบัน
ประวัติการก่อสร้างอุโบสถหลังเก่า(โบราณวัตถุ)
จากการบอกเล่าของ พ่อใหญ่สอน ภูถาลำ(เกิดเมื่อ พ.ศ.2463 ปัจจุบันอายุ 81 ปี บันทึกการบอกเล่าเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2544 ณ บ้านพ่อใหญ่สอน หมู่ที่ 5)
ผู้ร่วมสอบถามสนทนา
1.พระแดง ปญฺญาวโร
2.หลวงพ่อทอง โฆสิตธมฺโม
3.พ่อใหญ่สอน ภูถาลำ
4.พ่อใหญ่จำรัส ดลสวัสดิ์
5.พ่อใหญ่ชาย ศรีวรรณา
พ่อใหญ่สอนเล่าให้ฟังว่า
จำได้ว่าตอนเป็นเด็กเคยไปดูพวกผู้ใหญ่ชาวบ้านพากันดำเนินการก่อสร้างอุโบสถ(สิม) เมื่อประมาณ พ.ศ. 2469 สมัยนั้น มี
พระอาจารย์แปล ภูอุภัย เป็นเจ้าอาวาส
ผู้ใหญ่แสง(สุสีนนท์) ศรีวรรณา เป็นผู้ใหญ่บ้าน
พ่อใหญ่มี(หมอลำ) ภูสมพงษ์ เป็นช่าง
พ่อใหญ่เพียร ภูเกิดพิมย์ เป็นช่าง
ใช้เวลาดำเนินการก่อสร้าง 11 ปี จึงทำการขอดสิม(ผูกพัทธสีมา)เมื่อปี พ.ศ.2480 มีเหตุการณ์ที่ชาวบ้านจำได้ดีคือในวันนั้นมีการแห่ลูกนิมิตรอบบ้าน พ่อสิมมา ภูบุญทอง ได้คลอดออกมาในวันนั้นจึงได้ตั้งชื่อว่า “สิมมา”
1.
เสาเข็ม ใช้แก่นไม้จิก,ไม้แดง,(ไม้แก่นหล่อน)
2.
หินแฮ่ ใช้เกวียนของชาวบ้านช่วยกันไปขนมาจากโคกหินแฮ่(ปัจจุบันเป็นที่ตั้งบ้านดงเค็ง,บ้านป่าแดง) เอามาบดอัดพื้นอุโบสถ
3.
อิฐ ผลิดเอง ส่วนผสม 1.ดินเหนียว 2.แกลบ 3.ฟางสับละเอียด ใช้กำลังคนไปขุดเอาดินเหนียวมา ย้ำแล้วปั้นและเผาไปเอาฟืนจากโคกมาเผาอิฐ
4.
ปูน ส่วนผสม ยางโบง,และทราย ใช้เปลือกไม้โบงตากแห้งบดละเอียดผสมกับ ทรายและน้ำเป็นเครื่องฉาบทาก่อแทนปูน
5.
ทราย ไปเอาที่ลำน้ำพาน ชาวบ้านทั้งเฒ่าแก่ วัยรุ่นหนุ่มสาว เด็กเล็กร่วม กันไปขนเอามา
6.
สี ได้จากหินปูนเปลือกหอย เอามาเผาตำให้ละเอียดผสมน้ำใช้เป็นสีทาโบสถ์
ช่างดำเนินการก่อสร้าง
1.พระอาจารย์แปล ภูอุภัย
2.พ่อใหญ่มี ภูสมพงษ์
3.พ่อใหญ่เพียร ภูเกิดพิมย์
4.ช่างชาวญวณ องทองสูญ,องทองใส
เหตุที่ลื้ออุโบสถหลังเก่าไม่ได้
เมื่อจะใช้รถแทกร์เตอร์ชน เกิด ลม ฝน มืดฟ้ามัวดิน คนทั้งหลายที่มาดูกลัวตายพากันวิ่งหนีกันจ้าละหวั่นจึงไม่สามารถลื้อได้ ด้วยความศักดิ์สิทธิ์นั้นชาวบ้านจึงพร้อมกันปฏิสังขรณ์สืบไว้
เมื่อ พ.ศ.2544
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น |
|
ถ่ายภาพเมื่อ : 26 เมษายน 2556
ถ่ายภาพเมื่อ : 1 กุมภาพันธุ์ 2558
สถานที่ตั้ง : บ้านดอนยานาง หมู่ที่ 5 ต.ดอนสมบูรณ์ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์
ถ่ายภาพเมื่อ : 26 เมษายน 2556 / 22 กุมภาพันธุ์ 2558
วันติดตั้งหน้าเว็บ : 28 พฤศจิกายน 2556
จำนวนผู้เข้าชม : 6413 ครั้ง
หมายเหตุ : เว็บมาสเตอร์เดินทางไปชมและถ่ายภาพเอง, ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต
|
28-11-2013 Views : 6414