ฮุปแต้มอีสาน, สิมอีสาน (Isan Mural Painting and Isan Temple Architectures)
 สิม หอไตร ฮูปแต้ม

(วางเมาส์บนรูปภาพ เพื่อดูส่วนขยายภาพ)


สิมวัดทุ่งศรีเมือง จ.อุบลฯ
     วัดทุ่งศรีเมือง ตั้งอยู่บริเวณถนนหลวง ในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ทางทิศตะวันออกของทุ่งศรีเมือง เมื่อเนื้อที่ 19 ไร่ 2 งาน 23 ตารางวา สันนิษฐานสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2356 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ในยุคสมัยสมเด็จกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์ ได้ตกลงกับเจ้าของที่ดินหลายคน ยกที่ดิน (ที่ทำนา) ให้กับทางราชการ แรกๆ ชาวเมืองเรียกว่า "ทุ่งศรีเมือง" แต่เนื่องจากทุ่งแห่งนี้ เป็นที่รวมของการจัดงานมหกรรมใหญ่ๆ เช่น งานเฉลิมพระชนมพรรษา งานรัฐธรรมนูญ เป็นต้น และเป็นทุ่งประดับเมือง จึงเรียกว่า "ทุ่งศรีเมือง"

     เจ้าคุณพระอริยาวงศาจารย์ญาณวิมล อุบลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย หลักคำ) แห่งวัดป่าแก้วมณีวัน คือวัดมณีวนาราม ในปัจจุบัน ท่านมีอัธยาศัยน้อมไปทางวิปัสสนากรรมมัฎฐาน ซึ่งท่านก็ได้มา เจริญสมณะธรรม อยู่พื้นหญ้า ป่าหว้าชายดงอู่ผึ่ง ชายเมืองอุบลราชธานี เพราะเป็นที่สงบสงัด จึงได้มาเจริญสมณะธรรมอยู่บ่อยๆ ที่นั่นคือ บริเวณวัดทุ่งศรีเมืองในปัจจุบันนั้นเอง ภายหลังลูกศิษย์ของท่าน ก็ได้ตามออกมาเจริญกรรมัฏฐานเป็นจำนวนมาก

     ต่อมาภายหลังจึงได้สร้างหอพระพุทธบาทขึ้น ณ ท่ามกลางบริเวณที่เจริญสมณะธรรม โดยมีจุดประสงค์ที่จะจำลองพระพุทธบาท จำลองให้คนได้กราบไหว้ของพุทธบริษัทที่อุบลราชธานี ไม่ต้องเดินทางไปที่สระบุรี โดยให้ครูช่างชาวเวียงจันทน์ เป็นช่างดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งมีความกว้าง 6 เมตร ยาว 13 เมตร หลังคาทรงไทยศิลปะเวียงจันทร์ ต่อมาได้พูนดินบริเวณลานหอพระพุทธบาท เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำท่วมในฤดูฝน โดยได้สร้างเป็นเขื่อนกำแพงแก้วหอพระพุทธบาท มีสองชั้นรอบๆพระพุทธบาท ขนาดกว้าง 23 เมตร ยาว 32 เมตร พูนให้สูงเหมือนเป็นฐานรองรับหอพระพุทธบาท โดยได้ขุดเอาดินมาจาดสระด้านทิศเหนือ ซึ่งมีขนาดกว้าง 13 เมตร ยาว 24 เมตร ลึก 3 เมตร ซึ่งสระนี้ ต่อมาภายหลังได้สร้างหอไตรไว้กลางน้ำ จึงได้ ซื่อว่า "สระหอไตร"

     เมื่อขุดหอไตรแล้ว ปรากฎว่า ดินที่จะนำมาพูนหอพระบาทยังไม่พอ ก็ได้ขุดสระอีก 1 สระทางด้านทิศตะวันตกของวัด สระนี้เรียกว่า "สระหนองหมากแซว" เพราะมีต้นหมากแซวใหญ่ต้นหนึ่งอยู่ข้างสระ ซึ่งสระนี้ขุดลึกประมาณ 3 เมตร กว้างและยาวพอๆ กับสระหอไตร

     เมื่อนำดินจากทั้ง 2 สระมาพูน จนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ปลายสมัยหลวงปู่พระครูวิโรจน์รัตนโนบล เป็นจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีเมือง ได้ปูกระเบื้องซีเมนต์ที่ลานหอพระบาทและได้สร้างกำแพงแก้ว ล้อมรอบที่ซุ้มประตูด้านทิศเหนือ, ใต้และทิศตะวันตก ส่วนทางทิศตะวันออก ได้สร้างภายหลัง และทางด้านทิศตะวันออก พระครูราชโนบล ได้สร้างให้มีขนาดใหญ่ที่สุด เพราะเป็นทางเข้าและอยู่หน้าหอพระบาท ซึ่งหอพระบาทนี้มีขนาดกว้าง 20 เมตร ยาว 12 เมตร ซึ่งได้จำลองมาจากวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร

      เมื่อสร้างหอพระพุทธบาทสร้างแล้ว ก็ได้สั่งให้ญาคูช่าง สร้างหอไตรที่สระกลางน้ำ โดยมีจุดประสงค์ในการสร้าง เพื่อเป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก ไม่ให้แห้งและกรอบมากเกินไป เพราะอากาศสดชื่น มีไอน้ำประสม และเพื่อกันปลวก มิให้ทำลายพระไตยปิกฎให้เสียหาย แต่ปัจจุบัน ก่อนที่พระราชรัตนโนบลมาปกครองวัด พระไตรปิฎกได้สูญหายไปแล้ว

     เมื่อได้สร้างหอพระพุทธบาทและหอไตรกลางน้ำเสร็จแล้ว เพื่อให้มีคนเฝ้ารักษาวัด คือได้สร้างกุฎิเป็นที่อยู่ของพระภิกษุและสามเณรต่อไป เพราะวัดนี้ตั้งอยู่ปลายทุ่ง ท่ามกลางเมืองอุบลราชธานี จึงได้ชื่อว่า ทุ่งศรีเมือง เป็นเหตุให้ทุ่งนาท่ามกลางเมืองอุบลราชธานี ได้ชื่อว่าทุ่งศรีเมืองตามไปด้วย

     เมื่อ พ.ศ.2458 พระครูวจีสุนทร เจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ ท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล เป็นเจ้าอาวาส ได้พาพระเณร ไปทำพลับพลา ตัดเสาศาลาการเปรียญที่คำน้ำแซบ วัดวารินทรารามในปัจจุบัน สมัยนั้นมีแต่ป่า ยังไม่มีบ้านเรือนคน และค่ายทหาร แต่เมื่อตัดเสาได้แล้ว ก็สร้างล้อลากลงแม่น้ำมูลข้ามมาสร้างศาลาการเปรียญ โดยในวันไหนมีการล่องมูล จะให้ชาวบ้านที่หาปลา หรือคนที่อยู่แถวนั้นมาช่วย เพราะเสาต้นใหญ่มาก บางวันต้องใช้กลองยาวตีเร้าใจ เพื่อให้จังหวะครั้นลากเสามาถึงวัดแล้ว ก็จัดแจงตกแต่งศาลาการเปรียญ ครั้นเตรียมการเสร็จแล้ว ก็ได้ป่าวประกาศเชิญชวนทำบุญปลูกศาลาการเปรียญ ยกศาลาและสร้างต่อจนเสร็จ

     เมื่อสร้างศาลาการเปรียญเสร็จแล้ว วัดเหนือท่าร้าง ทางราชการจะสร้างเป็นสถานีอนามัย พระเจ้าใหญ่ในศาลาการเปรียญวัดเหนือท่า ไม่มีพระสงฆ์อยู่ดูแล พระครูวิโรจน์รัตโนบล จึงได้นำญาติโยมไปอาราธนา มาเป็นพระประธานที่ศาลาการเปรียญวัดทุ่งศรีเมือง


     พระอุโบสถหรือหอพระพุทธบาท มักจะถูกเรียกว่า หอพระพุทธบาท เนื่องจากสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐาน รอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งท่านเจ้าคุณพระอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลสังฆปาฏิโมกข์(สุ้ย หลักคำ) เจ้าคณะเมืองอุบลในขณะนั้น ได้จำลองการสร้างมาจากวัดสระเกศราชวรวิหาร กรุงเทพฯ โดยมีช่างจากเวียงจันทน์เป็นช่างสำคัญในการสร้าง

     ลักษณะของหอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรีเมือง เป็นสถาปัตยกรรมผสมผสาน ระหว่างศาสนาคารอีสานพื้นบ้านกับเมืองหลวง คือโครงสร้างช่วงล่าง เช่น ฐานเอวขัน บันไดจระเข้ เฉลียงด้านหน้าคงเอกลักษณ์ของสิมอีสานไว้แต่โครงสร้างช่วงบน หลังคาทรงจั่วมีชั้นลด 2 ชั้น รวยลำยองมีช่อฟ้า ใบระกา นาคสะดุ้ง หางหงส์ ทวยและซุ้มประตูหน้าต่างแบบเมืองหลวง ส่วนลวดลายหน้าบันสาหร่ายรวงผึ้ง มีลักษณะเป็นแบบอีสานผสมกับเมืองหลวงเหมือนสิมวัดแจ้ง

     ในสมัยพระครูวิโรจน์รัตนโนบล เป็นเจ้าอาวาส ได้มีการซ่อมหอพระบาทครั้งหนึ่ง โดยการเอาเสามายันขื่อ ซ่อมคร่าวและวาดลวดลายที่เสา ด้านหลังมีการก่ออิฐเป็นอาคารเสริมออกมายันไว้ เพราะกลัวอาคารจะโย้ออกมา

     ต่อมา ปี 2503 มีการบูรณะอีกครั้งหนึ่ง ภายในผนังมีจิตรกรรมผาผนังที่มีคุณค่า โดยเป็นจิตรกรรมฝาผนัง เขียนเป็นภาพเทพชุมนุม พุทธประวัติ ตอนผจญมาร และปรินิพพาน ภาพชาดก ได้แก่ ปาจิตต์กุมารชาดก และมหาเวชสันดรชาดกกัณฑ์ต่างๆ ภาพจิตกรรมเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นสภาพสังคม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความเจริญของบ้านเมือง การประกอบอาชีพ การละเล่น พิธีกรรม การแต่งกาย ทรงผม นอกจากภาพชาวบ้านพื้นถิ่นอีสานและคนลาวแล้ว ยังแสดงภาพชาวตางชาติ ทั้งจีน ฝรั่ง แขก ซึ่งเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยสมัยนี้อีกด้วย

สถานที่ตั้ง : วัดทุ่งศรีเมือง ตั้งอยู่บริเวณถนนหลวง ในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
      

28-11-2013 Views : 6121

ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphoe Muang, Kalasin Province 46000 Thailand
www.artnana.com

44.220.251.236 =    Friday 04th October 2024
 IP : 44.220.251.236   คนที่กำลังอ่าน   Bookmark and Share   
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย