ฮุปแต้มอีสาน, สิมอีสาน (Isan Mural Painting and Isan Temple Architectures)

 สิม หอไตร ฮูปแต้ม

 Sim ISAN สิม สิมอีสาน หอไตรอีสาน ฮูปแต้มอีสาน มนต์เสน่ห์แห่งพุทธศิลป์แดนดินอีสาน
 
  
  
บทความดีๆ จากอินเตอร์เน็ต : จิตรกรรมฝาผนังวัดหัวเวียงรังษี ความงามที่สะท้อนประชาคมลุ่มแม่น้ำโขง
ศุกร์ ที่ 29 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2556

รศ.เดชา ศิริภาษณ์

จิตรกรรมฝาผนังวัดหัวเวียงรังษี ความงามที่สะท้อนประชาคมลุ่มแม่น้ำโขง

           วัฒนธรรมล้านช้างมีการตั้งถิ่นฐานในเขตทางตอนบนบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง เป็นระยะเวลานานแล้ว โดยได้แพร่เข้าสู่ภาคอีสานตอนใน หลังจากอิทธิพลทางการเมืองและวัฒนธรรมของเขมรได้เสื่อมลงราวพุทธศตวรรษที่ 19 และการเผยแพร่ของพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ การขยายตัวของชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มประชาคมลุ่มแม่น้ำโขง มีความสัมพันธ์โดยตรงกับกลุ่มวัฒนธรรมล้านช้าง มีการพัฒนาและก่อตัวเป็นเมืองโบราณ เช่น เวียงจันทร์ จำปาสัก และโคตรบูร ประวัติศาสตร์ของอาณาจักรล้านช้างถึงแม้จะมีศึกสงครามแต่ยังคงรักษาความเป็นเอกลักษณ์ในวัฒนธรรมและศิลปกรรมของตัวเองโดยเฉพะศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา






พระอุโบสถวัดหัวเวียงรังษี อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

           ในช่วงการล่าอาณานิคมของฝรั่งเศส หลังฝรั่งเศสยึดครองเวียดนามได้แล้ว ในปี พ.ศ. 2436-2450 ฝรั่งเศสได้ยึดครองลาวและกัมพูชา เพื่อสถาปนาเป็นประเทศอินโดจีน (Indo Chine) ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ของไทย และได้เกิดเหตุการณ์ครั้งสำคัญระหว่างไทยกับฝรั่งเศสที่คนไทยเรียกว่า “วิกฤตการณ์ รศ. 112” ฝรั่งเศสได้นำเอาวัฒนธรรมตะวันตก และเผยแพร่คริสต์ศาสนาสู่อินโดจีน ถึงแม้ไทยไม่ได้ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส แต่ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงทั้งฝั่งซ้ายและขวาก็รับอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมของฝรั่งเศสอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราจะพบเห็นสิ่งก่อสร้างของสถาปัตยกรรมที่เป็นแบบตะวันตกหลงเหลืออยู่ นอกจากนี้ภาพเขียนหรือจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์ ซึ่งเป็นผลงานศิลปกรรมที่ได้สะท้อนเหตุการณ์ในยุคนั้นๆได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะจิตกรรมที่วัดหัวเวียงรังษี อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

           วัดหัวเวียงรังษีเป็นวัดที่เก่าแก่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงพระอุโบสถสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2460-2464 ภาพในอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนโดยหลวงชาญ ช่างจากกรุงเทพ ราวปี พ.ศ. 2463-2464 ภาพโค้งเหนือประตู หน้าต่าง พระอธิการอินทร์เป็นผู้ร่างภาพ และอาจารย์คูณเป็นผู้ระบายสี เป็นสกุลช่างหลวงใช้เทคนิคสีฝุ่น เรื่องราวเกี่ยวกับทศชาติชาดก พุทธประวัติรามเกียรติและลักษณวงศ์ที่สำคัญได้สอดแทรกความนิยมในท้องถิ่นเอาไว้ ผสมผสานกับความสามารถของช่างเขียนไว้อย่างงดงาม


พระยาจุลนี พระยาพหรมทัต ยกทัพมาล้อมเมืองพระมโหสถ

           ภาพจิตรกรรมตอน “พระยาจุลนี พระยาพหรมทัตยกทัพมาล้อมเมืองพระมโหสถ” ช่างเขียนมีความชำนาญเป็นพิเศษในการเขียน เส้นที่เขียนมุ่งแสดงอารมณ์ความรู้สึก และความประณีตละเอียดอ่อน เป็นเส้นที่มีขนาดเล็กมาก แต่สะท้อนออกมาให้เห็นว่ามีความเด็ดเดี่ยว เฉียบขาด บรรยากาศของภาพโดยรวมมองดูคล้ายกับเป็นงานวาดเส้น (Drawing) แทนที่จะเป็นงานจิตกรรมที่สะท้อนอารมณ์ความรู้สึกด้วยสี ช่างสีได้สอดแทรกการแต่งกายชุดทหารของทั้งสองฝ่าย แสดงให้เห็นว่าไทยได้เริ่มนำเอาวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เช่น ลักษณะของหมวก และอาวุธประจำกายไม่ว่าจะเป็นปืนหรือดาบ การประดับยศ ตลอดจนการไว้หนวด การแต่งกายของทหารแทบจะแยกไม่ออกเลยว่าเป็นทหารของฝ่ายใด การใช้สีของช่างเขียนที่มีอยู่อย่างจำกัด เช่น สีคราม สีแดง สีเขียว สีดำ แต่ก็สามารถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกได้เป็นอย่างดี

ภาพรามเกียรติตอนทศกัณฐ์ออกรบ
ภาพขยายการแต่งกายของทหารฝ่ายทศกัณฐ์  

           ภาพเรื่องรามเกียรติตอนทศกัณฐ์ออกรบ ทหารของฝ่ายทศกัณฐ์ ช่างเขียนได้เขียนรูปยักษ์ตามแบบจิตกรรมไทย นอกจากนี้ยังเขียนรูปยักษ์ที่มีลักษณะเหมือนคนและการแต่งกายตามแบบชาวตะวันตก ได้สวมหมวก ไว้หนวด ซึ่งตรงกันข้ามกับฝ่ายของพระราม ช่างเขียนได้เขียนตาม แบบอย่างของการเขียนจิตกรรมไทยโดยทหารยังคงเป็นรูปหนุมานและลิง แสดงให้เห็นว่าช่างเขียนได้สอดแทรกอารมณ์ของคนในชุมชนนั้นที่มีต่อชาวฝรั่งเศสผู้ล่าอาณานิคมเปรียบเสมือนพวกยักษ์หรือฝายอธรรม จาการศึกษาจิตกรรมฝาผนังอีสาน เรื่องราวที่เขียนจะเกี่ยวข้องกับความเชื่อ ความศรัทธาที่มีต่อศาสนา การดำเนินชีวิตของคนในชุมชน และเรื่องเล่าที่เป็นที่นิยมในชุมชน จิตกรรมฝาหนังวัดหัวเวียงรังษี ได้คงร่องรอยแห่งวิถีชีวิตและความรู้สึกของคนในกลุ่มประชาคมลุ่มแม่น้ำโขง ผ่านผลงานศิลปะของช่างเขียน ที่มีความสามารถในการนำเสนอเรื่องราวได้อย่างมีคุณค่าควรแก่การศึกษา และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม หลังจากท่านมานมัสการพระธาตุพนมแล้วต้องแวะชมให้ได้ เพราะวัฒนธรรมล้านช้างยังรอการมาเยี่ยมชมจากท่านเสมอ



เอกสารอ้างอิง
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, สำนักวัฒนธรรม. สังคมและวัฒนธรรมอีสาน
พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2549
พยนต์ ทิมเจริญ, พันเอก. ประวัติศาสตร์ชาติลาว. ม.ป.ท. ม.ป.ป.
ไพโรจน์ สโมสร. จิตกรรมฝาผนังอีสาน. ศูนย์วัฒนธรรมอีสาน
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊ฟ, 2532


เข้าชม : 2779


บทความดีๆ จากอินเตอร์เน็ต 5 อันดับล่าสุด







    หมายเหตุ : บางวัด ภาพจากอินเตอร์เน็ต เพราะยังไม่ได้เดินทางไปชม
ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
9809/1 Anankanak Rd., Tambol Kalasin, Amphoe Muang, Kalasin Province 46000 Thailand
www.artnana.com

18.218.184.214 =    Friday 26th April 2024
 IP : 18.218.184.214   คนที่กำลังอ่าน   Bookmark and Share   
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย